หมอกับเซียนพระ


หมอกับเซียนพระจะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร

            ก่อนจะคุยกันเรื่องพระเครื่องเมืองสองแคว เรามารู้จักกับอาชีพหนึ่งก่อนดีกว่า นั่นคือหมอ หรือแพทย์นั่นเองบางคนอาจคิดว่าแล้วอาชีพหมอมาเกี่ยวข้องกับพระอย่างไร เรื่องจริงๆคือไม่เกี่ยวข้อง แต่อยากนำมาเชื่อมโยงกับอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั่นคือ “เซียนพระ”  อ้าว แล้วหมอกับเซียนพระจะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร อาชีพหมอสามารถแบ่งออกเป็นหมอรักษาโรคทั่วไป กับหมอรักษาโรคเฉพาะทาง หมอที่รักษาโรคทั่วไปจะรักษาได้เกือบทุกโรค (เฉพาะบางคนที่มีความสามารถค่อนข้างสูง)  แต่ถ้าเป็นโรคเฉพาะทาง เช่น โรคหัวใจ (เปลี่ยนหัวใจ) ผ่ากระโหลก เปลี่ยนดวงตา  ก็ต้องพึ่งพาหมอเฉพาะทางเขาไป เพราะเขาศึกษาเรื่องเฉพาะทางมาค่อนข้างละเอียด ส่วนหมอรักษาโรคทั่วไปก็ทำหน้าที่วิเคราะห์ แล้วส่งไปให้หมอเฉพาะทางรักษา 

            อาชีพเซียนพระก็เป็นอาชีพที่คล้ายๆกับหมอ (ในขั้นตอนนี้) คือมีเซียนที่ดูพระได้ทั่วไปว่าเป็นพระอะไร (บางครั้งก็ไม่รู้ว่าเป็นพระอะไร ใครสร้าง เพราะพระมีมากมายหลายชนิด มากกว่าโรคภัยไข้เจ็บเสียอีก) ซึ่งบางครั้ง (บางคน) ก็ทำตัวเป็นเสี้ยน คือดูพระแท้เป็นพระเก๊ ดูพระเก๊เป็นของเก๊ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้ หรือแกล้งไม่รู้ หรืออยากพูด เซียนกลุ่มดูพระได้ทั่วไปนี้จะมีลักษณะคล้ายหมอ คือทำหน้าที่วิเคราะห์ (บางครั้งก็ใช้การสันนิษฐาน ซึ่งอาจมีทั้งถูกและผิด) เมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้แล้วก็จะส่งไปให้เซียนพระเฉพาะทางลงความเห็นอีกรอบหนึ่ง (บางครั้งเป็นการส่งไปขาย ถ้าขายได้ก็คือพระแท้ ถ้าเขาไม่รับซื้อก็คือพระเก๊ หรืออาจจะตกลงราคากันไม่ได้) เซียนพระเฉพาะทาง คือผู้ที่ศึกษา เจาะลึก เฉพาะพระชนิดเดียว (ซึ่งถ้าเป็นพระชนิดอื่นๆจะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง) เช่นศึกษาเฉพาะพระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระลีลา พระผงสุพรรณ หลวงปู่ทวด  ฯลฯ  หรือศึกษาเฉพาะพระเกจิย์เป็นรูปๆไป (พระเกจิย์คือพระสงฆ์ที่ได้รับความนิยม ศรัทธา จากประชาชน และได้สร้างพระ หรือวัตถุมงคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนที่มีจิตศรัทธา)  เซียนพระเฉพาะทางจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าพระองค์นี้ องค์นั้นแท้ เก๊  ซึ่งคนทั่วไปมักจะคิดว่าคนที่เป็นเซียนพระจะต้องรู้จักพระทุกอย่าง และดูพระเป็นหมด ซึ่งความเป็นจริงแล้วในประเทศไทย 76 จังหวัด มีพระเกือบทุกจังหวัด และในแต่ละจังหวัดก็มีพระหลายชนิด หลายเนื้อ หลายพิมพ์ หลายแบบ แยกกันออกไป ซึ่งถ้าจะให้ใครจำได้หมดก็คงลำบากหน่อย (ในวงการของเซียนพระ ใครจดจำชนิดของพระ รายละเอียดของพระ ได้มากกว่าถือว่าได้เปรียบ) แต่เท่าที่จำกันได้เป็นส่วนใหญ่ก็คือพระหลัก พระหลักคือพระที่มีผู้นิยมเช่าหาบูชากัน (ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน) พระหลักอาจมีอายุมากเป็นพันปี หรือไม่กี่ปีก็ได้ อยู่ที่ว่าได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน  คนที่จะเป็นเซียนพระได้ต้องมีประสบการณ์ในการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน มาพอสมควร ต้องเคยเห็นพระแท้ว่ามีลักษณะอย่างไร พระเก๊มีลักษณะอย่างไร สามารถแยกรายละเอียดได้พอสมควร ซึ่งบางครั้งเซียนก็พลาดได้ (เหมือนหมอที่บางครั้งก็วิเคราะห์โรคผิด)  คือซื้อพระเก๊ในราคาพระแท้  และบางครั้งก็มีการ “ตกควาย” คือซื้อพระแท้ในราคาชาวบ้าน (เช่นซื้อพระราคาหลักล้าน ในราคาหลักสิบหรือหลักร้อย หลักพัน)


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24592เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แต่เซียนพระบางคนก็ไม่มีจรรยาบรรณ

พระแท้ ราคาเป็นล้าน  แต่บอกว่าเป้นพระเก๊ เพื่อนที่จะซื้อมาในราคาไม่กี่ร้อย

ดังนั้น จึงมีคนพูดว่า ถ้าจะดูพระก็ต้องให้เซียนพระดู สัก 6-7 คน

ไม่ใช้ดูแค่คนเดียวแล้วเชื่อหมดทุกอย่าง 

จรรยาบรรณกับเงิน บางครั้ง บางคน ก็สวนทางกันตลอด คนทำงานในส่วนราชการน้อยคนนักที่จะมีเงินซื้อพระราคาเป็นล้าน หรือถ้ามีเงินซื้อจริงๆ ก็ต้องมีการรับรอง มีการประกัน จึงจะซื้อขายกันได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท