ผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง


ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ ทักษะและวิธีการที่ผู้บริหารใช้ในการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์

ผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง

           ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ บุคคลที่มีคุณลักษณะพิเศษด้านบุคลิกภาพ และความสามารถในการนำ เพื่อให้เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงบรรลุผล  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลง  ในด้านการทำงานกับคน การตระหนักและไวต่อปัญหา  ต่อความรู้สึกของคน  มีทักษะในด้านการวิเคราะห์  วินิจฉัยปัญหา  สามารถให้คำปรึกษาแนะนำการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี   

ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารการเปลี่ยนแปลง  การเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้าน ดังนั้นความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ ทักษะและวิธีการที่ผู้บริหารใช้ในการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์   ฮอลล์และคณะ(Hall and others,1984) ได้แบ่งพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารออกเป็น 3  แบบ คือ ผู้ตอบสนอง(responder)   ผู้จัดการ(manage) และผู้ริเริ่ม(initiator)  จากการวิจัยพบว่า  สถานศึกษาที่ผู้บริหารมีพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบผู้ริเริ่มมีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษามากกว่าผู้บริหารที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงอีก 2 แบบ  โดยผู้บริหารแบบริเริ่มมีพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนี้     

1.พยายามปรับสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชน พยายามประสานประโยชน์ให้เกิดแก่โรงเรียน

2. รวมรวมข้อมูลต่าง ๆ จากครูและชุมชนเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง

3. ส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหา

4. มีขั้นตอนและกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

5. ติดตามผลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด

6. ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเปรียบเทียบแผนงานที่วางไว้และพฤติกรรมที่คาดหวัง  กับสิ่งที่เกิดหลังจากการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการทำงานจึงมุ่งหมายที่จะพัฒนาความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการจัดการแต่ละขั้นตอน โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่บุคลากร รู้กันอยู่แล้วตามกระบวนทัศน์นี้ บุคลากร จะได้สะท้อนตัวตน ความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจของตนออกมาผ่านกิจรรมที่ตนได้เป็นทั้ง ผู้รับสารและ ผู้สร้างสื่อตลอดจนรับรู้และเข้าใจถึงปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลพฤติกรรม โดยมีกลยุทธ์หลัก 2 ประการในการทำงานคือ

1)             การมุ่งเน้นให้บุคลากรรู้เท่าทันกระบวนการ/ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงลักษณะสำคัญของวัตถุประสงค์ การตั้งเป้าหมายและการดำเนินงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

2)             การรู้เท่าทันตัวเองโดยใช้หลักคิดในทางพุทธศาสนาในเรื่องการมีสติ หรือ โยนิโสมนัสสิการเพื่อการเรียนรู้การ รับข้อมูลต่างๆอย่างเท่าทันและมีสติคัดกรอง ผ่านสัมผัสของร่างกายทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นการสื่อสารระดับภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)

นอกจากนั้นได้ประมวลหลักคิดและกลยุทธ์เพื่อความรู้ในการเท่าทันข้อมูลต่างๆ ให้มาอยู่ในรูปแบบแผนเชิงกลยุทธ์ สำหรับการรู้เท่าทันเพื่อที่จะจัดการข้อมูลต่างที่ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากร 

แนวคิดในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

๑.  ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพโดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้  พัฒนาการสร้างเครือข่ายครู ผู้ปกครอง และชุมชน ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์วิชาชีพครู  ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้  ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน

      ๒.  แผนงานคุณภาพการศึกษา  โดยมีการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Ø    จัดการเรียนโดยใช้ระบบ e-learning

Ø    การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต

Ø    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)

Ø    จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ

๒.   แผนงานด้านประสิทธิภาพและการบริหารจัดการ  พัฒนาการบริหารจัดการโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรภายนอก โรงเรียนมีระบบการบริหารงานที่ทันสมัยและการบริการข้อมูลสารสนเทศถูกต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Ø    ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษา

o      การระดมทรัพยากรจากชุมชน

o      จัดหาคอมพิวเตอร์

o      ประสานความร่วมมือกับชุมชน

o      นำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

o      จัดหาวิทยากรท้องถิ่น

Ø    ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดระบบสารสนเทศและการบริหารจัดการ

o      จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ

o      จัดระบบงานสำนักงานให้บริหารงานอย่างคล่องตัว

 

กลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้บริหารจำเป็นจะต้องใช้ศักยภาพ และภาวะผู้นำ กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีศักยภาพ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

ขั้นตอนการดำเนินงาน   ตามแผนกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติการ

4. เตรียมความพร้อมบุคลากร

    -  สร้างความตระหนัก

    -  ความรู้ความเข้าใจ

5. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ

2. ดำเนินการพัฒนา ICT (D)  โดยมีความต้องการ

    - ห้องเรียน e-Learning

    - ห้องเรียนอื่นๆ ทุกห้องใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน (e-Classroom)

    - Server   พร้อม  Software

    - เชื่อมต่อ Internet  ADSL/Leased Line  ความเร็ว 4 Mbps ทุกห้องเรียน

    - ตู้สืบค้น Internet  Hi-Speed Box 

    - ระบบห้องสมุดอีเลคทรอนิกส์ (SMS -e-Library)

    - Sound Lab Multimedia  100  user

2. เผยแพร่ผลงาน

2. วิเคราะห์ข้อมูลของครู นักเรียน รายกลุ่มสาระ
การเรียนรู้

1. จัดทำสรุปและรายงานผลการดำเนินการ

1. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง (P)

    - องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

    - กรรมการสถานศึกษา/ผู้ปกครอง

    - ชุมชน

    - หน่วยราชการ/เอกชน

    - การเงิน/พัสดุ

1. สำรวจความต้องการ ICT ของครู  นักเรียน ชุมชน

ขั้นรายงานผล

ขั้นเตรียมการ

ขั้นดำเนินการ

6. จัดเตรียมระบบ (ICT)

    -Hardware

    - Software

    - การวางระบบเชื่อมต่อ

      ภายใน-ภายนอก

    - ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ

3. ตรวจสอบและประเมินผล (C)

    - เก็บข้อมูลความพึงพอใจ

    - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    - วิเคราะห์ข้อมูล

    - แปลความหมาย

    - ตรวจสอบคุณภาพการประเมิน

4. นำผลการประเมิน ปรับปรุง พัฒนา (A)

    - หลักสูตร

    - บุคลากร

    - Hardware  และ  Software

    - ปฏิทินปฏิบัติงาน/กิจกรรม

    - จัดทำข้อมูลสารสนเทศ

                Best Practices                ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานจนสำเร็จเป็น Best Practices คือ กลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร( ICT ) เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ดังนี้              

                การเตรียมการ                ประชุมคณะกรรมการประกอบด้วยฝ่ายบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานวิชาการ ซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และหัวหน้างานในกลุ่มบริหารวิชาการอีก 15 งาน สำรวจความต้องการ ICT ของครู นักเรียน และชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ จัดทำปฏิทินการปฏิบัติการ ให้ความรู้และความตระหนักแก่บุคคลากรของโรงเรียน แต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบในการดำเนินการฝ่ายต่างๆรวมทั้งการวางแผนออกแบบระบบ ICT ทั้งระบบ ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ และห้องสำนักงานทุกห้อง รวมทั้งการเชื่อมต่อกับภายนอกโรงเรียน

               การดำเนินการ                ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยราชการ ภาคเอกชน ในการของบประมาณ และระดมทรัพยากรสนับสนุนตามความต้องการของโรงเรียน และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่การเงินและพัสดุ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และ ดำเนินการพัฒนา ICT ดังนี้

                - เพิ่มจำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต วิชาคอมพิวเตอร์ในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

                - กำหนดเป็นนโยบายของโรงเรียน ครูต้องใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดใน 1 รายวิชา

                - จัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอสำหรับนักเรียนใช้ในการเรียนรู้ และสำหรับโรงเรียนในการบริหาร                จัดการและการทำกิจกรรมของครู

                - มี Website  E-mail  Homepage  และ Server จำนวน 10 เครื่อง เพื่อรองรับกิจกรรม e-Learning  ละกิจกรรมอื่นๆที่โรงเรียนสามารถเข้าร่วมได้

                - จัดแหล่งเรียนรู้ ICT เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ คอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน

                - จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพ ฯลฯ ให้มีสภาพร้อมที่จะใช้งานได้เสมอ

                - แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบงานทางด้าน ICT โดยเฉพาะ

                - สำรวจระบบไฟฟ้ากำลังของโรงเรียน จัดให้เพียงพอต่อการใช้งาน มีระบบการป้องกันอุปกรณ์ด้าน ICT และความปลอดภัย

                - สำรวจความต้องการความรู้ด้าน ICT ของบุคลากรในโรงเรียนเพื่อพัฒนาบุคลากรทุกภาคเรียนไว้สำหรับ E-School

                - จัดทำแผนพัฒนากลยุทธ์ด้าน ICT ของโรงเรียนเพื่อให้บุคลากรทุกคนของโรงเรียนเดินสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน

                การประเมินผล สรุปผลการปฏิบัติงาน โดยคณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องประเมินทบทวนการดำเนินงาน นำผลที่ได้จากการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งหมดมาวิเคราะห์แปลความหมาย และตรวจสอบ จัดทำเป็นโครงการ แผนปฏิบัติการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาหลักสูตร พัฒนาHardware และ Software  เป็นต้น

 การรายงานผลที่เกิดจากการดำเนินการ   ด้วยกิจกรรมและกลยุทธ์การพัฒนาที่หลากหลาย ส่งผลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

หมายเลขบันทึก: 244632เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ร่วมกันนำความเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้  สร้างคลื่นลูกที่ 4  ให้มากๆๆๆๆๆ  เพื่อความอยู่รอดของชาติไทยค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันเชื่ออย่างคุณค่ะ ผู้นำที่ดี คือ การมีภาวะผู้นำ ไม่ใช่ แค่อยากเป็นผู้นำ

ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอะไร  ต้องได้ใจก่อนครับ

การเป็นผู้นำไม่ใช่เรื่องยาก

แต่การเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำ

และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นยากยิ่งกว่าจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท