ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ความเสี่ยงของจัดการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์


ไม่อ้างอุปสรรคใด ๆ ต่อการจัดหลักสูตรวิทยาสตร์ที่เป็นธรรมชาติของวิทยาศาตร์ แทนที่ประเทศชาติเราจะได้นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ กับได้นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนิตินัยเท่านั้น ส่วนนักวิทยาศาสตร์เชิงพฤตินัยได้หดหายตั้งแต่ในชั้นเรียนแล้วนั้นหรือ

      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) ในระดับชั้นเรียน  สิ่งที่ครูพึงปฏิบัติการเตรียม และการควบคุมจึงมีมากกว่ากว่าการเรียนการสอนแบบปกติ ครูมักใช้เหตุผลหลายประการเพื่อเลี่ยงการดำเนินปฏิบติบัตการ ความเป็นธรรมชาติของผู้เรียนกับความอยากรู้อยากเห็นจึงลดน้อยด้อยลงอย่างที่เลี่ยงไม่ได้  ดังเหตุการณ์ที่มักจะเกิดขึ้น

  1.ความตื่นเต้นแรกเกือบทุกครั้งที่ก้าวเข้าห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักเรียนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "พวกเรารู้สึกดี คุ้มค่ากับการรอคอยชั่วโมงเรียนนี้" แต่ภาพของครูหรือผู้พบเห็นที่ไม่เข้าใจธรรมชาติวิชา ก็มักจะกล่าวว่า "เป็นชั่วโมงเรียนที่วุ่นวายมากที่สุด" ทั้งเสียงดัง ไม่เป็นระเบียบ เดิน จ้อง เฝ้า จด บันทึก เขียน อ่าน พูดคุย ตะโกน อื่น ๆ ที่พฤติกรรม หรือกิริยาดังกล่าว ในแผนการสอนไม่ได้กำหนดในรายละเอียด มีพฤติกรรมของผู้เรียนแสดงให้เห็นได้  ตลอดจน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ บ้างก็เจ็บ ร้อง  แม้เวลาเพียง 60 นาที เหตุการณ์เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงแรก ๆ ของการให้นักเรียนควบคุมปฏิบติการอย่างที่ไม่มีประสบการณ์ของผู้เรียนมาก่อน  แต่เมื่อนักเรียนได้ปฏิบัติเป็นประจำ เขาเหล่านั้นจะเกิดความชำนาญ สิ่งที่เกิดขึ้นในชั่วโมงแรก จะแกตกต่างจากชั่วโมงท้าย ๆ อย่างสิ้นเชิง เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น

       - การเรียนรู้แบบ ลองถูกลองผิด จะใช้วิธีนี้ลดลง

       - เริ่มมีการศึกษาคู่มือย่างจริงจัง

       - รับรู้ว่าไม่สนุก หรือรู้สึกไม่ดีเลยหากมีการกระทำที่เสียงต่ออุบัติเหตุ

       - ความกลัวและวิตกจริตลดน้อยลง ความผิดพลาดก็ลดน้อยลง

       - อื่น ๆ เช่น ครูใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อการควบคุม

   2.การเกลียดวิชา  ถึงแม้ปฏิบัติบัติการเป็นกิจกรรมที่นักเรียนชอบ หากเกิดอะไรขึ้นกับตนเองในด้านลบ ประสบการณ์เช่นนั้นจะติด ตัวลอดไป พร้อมกับการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ครูวิทยาศาสตร์ไม่อยากให้เจคติในแง่ลบเกิดขึ้น เพราะเป็นสื่งที่เลวร้ายที่สุด ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ถ้าเหตุการณ์ที่ยานขนส่งอวกาศระเบิด  นักบินเสียชีวิต คงไม่อยากมีใครเป็นนักบินอวกาศเลย ความเป็นอวชา ก็จะยังคงอยู่ เพราะขาดผู้ที่มีจิตวิญญาณของผู้อยากรู้อยากเห็นเยี่ยงนักวิทยาสาสตร์

       เราจะลดความรุนแรงและความน่าสะพึงกลัวให้น้อยกว่าความต้องการเรียนรู้ปฏิบัติการได้อย่างไร

        การกำหนดมาตรการบางประการ พอลดได้บ้างโดยที่ไม่ควรมองข้ามเช่น กำหนดระดับความปลอดภัย

  ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

เมื่อเข้าห้องปฏิบัติการ

สวมแว่นตานิรภัย ผ้าปิดจมูก และถุงมือยางให้เป็นนิสัย

ถ้าผมยาวให้รวบผมไปด้านหลังและมัดให้เรียบร้อย

สวมผ้าที่ไม่รุ่มร่าม รุงรัง  เพื่อป้องกันชายผ้าปัด เกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือติดไฟ  ขณะปฏิบัติการ

สวมรองเท้าหุ้มส้น  เพื่อป้องกันสารเคมีหกรดเท้า

ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการทดลองก่อนปฏิบัติการ

ตรวจสอบสถานที่ตั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น อ่างล้างตา ถังดับเพลิง ทางหนีไฟ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน

หากทำเครื่องแก้วแตก หรือทำสารเคมีหกลงพื้น ต้องทำเครื่องหมายกั้นบริเวรให้ผู้อื่นทราบ ให้รีบแจ้งครูหรือพี่เลี้ยงทราบทันที

แยกทิ้งขยะทั่วไป สารเคมีที่เป็นอันตราย และเครื่องแก้วที่แตก โดยแยกทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้งขยะแต่ละชนิด เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการกำจัด

หากสารเคมีหกรดผิวหนัง ให้รีบล้างด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ โดยให้น้ำไหลผ่านตลอด จนแน่ใจว่าสารเคมีถูกชะล้างจนหมด ในกรณีสารเคมีหรือกรดกระเด็นเข้าตา ให้รีบล้างออก  ให้รีบแจ้งครูหรือพี่เลี้ยงทราบทันที

เมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ ต้องทำความสะอาดเครื่องแก้ว อุปกรณ์ใช้ และเก็บให้เรียบร้อย และล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง

เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ทำการทดลองในกรณีพิเศษอื่น ๆ เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ มีโรคประจำตัว ผู้ทำการทดลองควรปรึกษาครูเป็นกรณีพิเศษก่อนทำการทดลอง

 

ห้าม

            ห้ามรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มใด ๆ ในห้องปฏิบัติการ

            ห้ามดม ชิม สารเคมีหรือตัวอย่างใด ๆ ในห้องปฏิบัติการ โดยปราศจากคำแนะนำของครูหรือพี่เลี้ยง

            ห้ามใช้ปากดูดสารละลายในเทคนิคการปิเปตโดยเด็ดขาด ต้องใช้อุปกรณ์ที่จัดให้เท่านั้น

            ห้ามเทน้ำลงในสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด โดยเฉพาะในกรดเข้มข้น ควรค่อย ๆ เทสารละลายกรดลงในน้ำทีละน้อยอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ คนอย่างต่อเนื่อง

            ห้ามทิ้งวัสดุหรือสารเคมีที่เหลือใช้จาการทดลองลงในอ่างล้างอุปกรณ์

            ห้ามวางตัวทำละลายไว้ใกล้กับเปลวไฟ การทดลองที่ต้องใช้แอลกอฮอล์หรือตัวทำละลายอื่น ๆ ที่ติดไฟได้ (Flammable Solvent) จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะตัวทำละลายเหล่านี้ สามารถติดไฟได้ง่าย ตัวทำละลายบางตัวอาจติดไฟได้ เพียงแค่วางใกล้เปลวไฟ  

            หากไม่เคยใช้เครื่องมือใด ๆ ในห้องปฏิบัติการ ห้ามใช้เครื่องมือนั้นด้วยตนเองตามพลการ ต้องสอบถามและศึกษาวิธีใช้งานจากครูหรือพี่เลี้ยงก่อนทุกครั้ง

            ในการทดลองที่มีเปลวไฟ ห้ามวางสารละลายที่ติดไฟง่ายใกล้เปลวไฟ  

          ตัวอย่างการให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นสากล ส่งเสริมความปลอดภัย

บางส่วนที่สามารถดำเนินการ   

           ไม่อ้างอุปสรรคใด ๆ ต่อการจัดหลักสูตรวิทยาสตร์ที่เป็นธรรมชาติของวิทยาศาตร์ แทนที่ประเทศชาติเราจะได้นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ กับได้นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนิตินัยเท่านั้น ส่วนนักวิทยาศาสตร์เชิงพฤตินัยได้หดหายตั้งแต่ในชั้นเรียนแล้วนั้นหรือ

หมายเลขบันทึก: 244629เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท