การทำปุ๋ยน้ำหมัก..แบบชาวบ้าน(มีรูปแล้วครับ)


น้ำหมักชีวภาพ ลดต้นทุน

  นายกอเดร์  บากา  อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 5  ตำบลบาละ อำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา  เป็นสมาชิกกลุ่มไม้ผลบ้านแยะใน  มีอาชีพการทำสวนยางพาราและรองลงมาคือสวนไม้ผล  ปัจจุบันนี้การทำสวนของเราจะเสียค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อปุ๋ยมาใช้ในสวนเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นจึงคิดว่าทำอย่างไรดี ที่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยได้ สมาชิกในกลุ่ม ทุกคนก็มีปัญหาเหมือนกันจึงมานั่งคุยกันว่าเราน่าจะมีการรวมกันเพื่อทำปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อใช้ในสวนของเราเอง เพราะกลุ่มเราก็ได้รับการอบรมในเรื่องการทำปุ๋ยมาตั้งหลายครั้งแล้วเราน่าจะทำได้  เพราะถ้าหากเราทำอุปกรณ์ (ถังหมัก)ของกลุ่มก็มีอยู่แล้ว (ได้รับจากโครงการของเกษตร)  ซึ่งจะตั้งถังหมักไว้ที่อาคารเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน โดยในการทำจะใช้สูตรน้ำหมักสูตรฮอร์โมนผลไม้  เป็นส่วนใหญ่  วัสดุที่นำมาทำก็ใช้วิธีการเก็บจากตลาดนัด (ของที่เขาทิ้งแล้ว) โดยในหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมีตลาดนัดแทบทุกวัน  เก็บรวมๆกันไว้หลายๆวันก็มีเศษผักและผลไม้พอที่จะทำปุ๋ยน้ำหมักได้ สารเร่ง พ.ด. 2 ก็ได้มาจากพัฒนาที่ดิน (แจกฟรี)  หลังจากนั้นสมาชิกกลุ่มจะมาช่วยกันทำ พอเป็นปุ๋ยน้ำหมักที่สามารถนำไปใช้ได้แล้ว ใครมีความต้องการที่จะใช้ปุ๋ยก็สามารถมาเอาไปใช้ได้เลย  ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับสวนลองกอง (เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีสวนลองกองมาก)  ซึ่งใช้แล้วก็ได้ผลดีและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยได้ (ลืมบอกว่าในการหมักจะต้องมีการคนปุ๋ยน้ำหมักทุกวัน กลุ่มจะมีการแบ่งคนรับผิดชอบในแต่ละวันแต่ส่วนใหญ่แล้วผมจะเป็นไปคนแทบทุกวันเพราะอยู่ใกล้บ้าน)โดยจะขอแนะนำการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรฮอร์โมนผลไม้  ดังนี้

ส่วนประกอบ

- เศษผักหรือผลไม้ ได้แก่ มะละกอ  ฟักทอง  กล้วยน้ำว้า  ชมพู่  สับปะรด                               40  ก.ก

- กากน้ำตาล   10  ก.ก.

- พ.ด. 2     1  ซอง

- น้ำสะอาด  10  ลิตร

วิธีทำ

-          ละลาย พ.ด.2  1  ซอง  ในน้ำ 1 ถัง (10 ลิตร)  คนให้เข้ากันประมาณ 15 นาที (โดยต้องคนตลอดเวลา)

-          หั่นผลไม้ทั้งหมดเป็นชิ้นเล็กๆ (หั่นทั้งเปลือก)  ถ้าหั่นยิ่งเล็กมากยิ่งดี  เพราะจะมีการย่อยสลายได้เร็ว

           - นำผลไม้ที่หั่นแล้วมาคลุกกากน้ำตาลให้เข้ากัน

           - จากนั้นเท พ.ด.2 และผลไม้ที่คลุกกากน้ำตาลแล้ว ลงในถังหมักและคนให้เข้ากัน  (อาจมีการเติมน้ำเพิ่มลงไปอีกได้ถ้าหากดูแล้วว่าแน่นเกินไปไม่สามารถคนได้)

          - หมักไว้ประมาณ 15 -21 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

<h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;"> </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;">                                  เทคนิคการทำที่ทำให้ปุ๋ยน้ำหมักสามารถใช้ได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการการย่อยสลายของเศษพืชผัก โดยเฉพาะการสับเศษผักและผลไม้ จากที่เคยทำมา ได้ทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการสับเศษพืชผักละเอียด และไม่ละเอียด  การย่อยสลายจะต่างกัน คือการสับละเอียดจะสลายเร็วกว่าทำให้สามารถนำปุ๋ยน้ำหมักไปใช้ได้เร็วกว่า </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in;"> ปุ๋ยน้ำหมักนอกจากจะช่วยในการเติบโตของพืชแล้ว การทำปุ๋ยน้ำหมักยังเป็นการช่วยไล่แมลงศัตรูพืชในสวนเราด้วย ยกตัวอย่างการทำปุ๋ยน้ำหมักที่ทำจากสะเดา  และ ขี้เหล็ก ทั้ง 2 ชนิดนี้หมักแล้วสามารถนำไปใช้ฉีดพ่นในสวนผัก เป็นการลดการการใช้สารเคมีได้อีกด้วย </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in;"> มีคนเคยบอกว่าปุ๋ยน้ำหมักมีกลิ่นเหม็น การทำก็ยุ่งยาก แต่ถ้าเราลองทำดูเราจะรู้ว่าการทำปุ๋ยน้ำหมักที่จริงแล้วมีกลิ่นหอมมากกว่ากลิ่นเหม็น ( หอมเงินที่เก็บไว้ โดยไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยไง )อยากให้ทุกคน ได้ลองทำดู แล้วจะรู้ว่าลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลย </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in; text-align: right;">  นายกอเดร์  บากา เกษตรกร  เล่าเรื่อง </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in; text-align: right;"> อริยพร  เซ่งซิ่ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร บันทึก </h2> <h2 class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;"> </h2>

หมายเลขบันทึก: 243510เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอบคุณที่เอามาเล่าค่ะ

  • ขอบคุณมาก ๆ นะครับ
  • ได้ประโยชน์ถึงนักศึกษาด้วยครับ

ชยพร แอคะรัจน์

สวัสดีครับท่านเกษตร ปากพะยูนก็กำลังขยายการทำปุ๋ยหมักโดยมีเป้าที่ลดขยะของเทศบาล มีความคืบหน้ามารายต่อครับ

คุณ เกษตร ยะลา ดีใจที่เจ้าหน้าที่เกษตรพยายามลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะปุ๋ยน้ำชีวภาพ ,ปุ๋นหมักชีวภาพ ทั้งสองอย่างน่าจะส่งเสริมอย่างจริงจังให้กับเกษตร ทำสวนขาดทุนในปัจจุบัน ท่านลองดูว่าเขาจะกินอะไรครับ

สวัวดีครับ..พี่ยาว

ผมอ่านบันทึกของพี่ในแต่ละครั้ง  คิดถึงบ้านขึ้นมาก่ายกอง  ทั้งคิดถึงภาพชีวิตของตนเองในอดีต..

เช่นเดียวกับเรื่องนี้  สมัยเด็กๆ  พ่อพาก่ออิฐเป็นแหล่งทำปุ๋ยหมัก  กวาดเศษใบไม้เสร็จก็เทกองรวมไว้  เอามูลวัวมูลควายมาเทกลบทับและอื่นๆ อีกจิปาถะ  รดน้ำบ้าง...

จากนั้นก็ตักไปใช้เป็นปุ๋ย...

ตอนเด็กๆ ไม่รู้หรอกครับ  รู้แต่เพียงว่า พ่อเรียกว่า "ปุ๋ย"...

ข้อมูลดีดี..รู้ไว้แล้วเป็นประโยชน์มากมากค่ะ

สวัสดีครับท่านเกษตร เคยทำน้ำหมักใช้เองในพื้นที่ไม่มากนัก และก็มีความเชื่อว่าได้ผล แต่ในพื้นที่ใหญ่ๆ ไม่มีประสบการณ์ แต่ก็คงได้ผลเหมือนกัน จะต่างกันคือคงต้องเหนื่อยมากขึ้นหน่อยนะ ครับ

P สวัสดีครับ เบอร์เกอรฺ 0123

 

  • เป็ประสบการณ์ตรงของเกษตรกรและน้องๆเจ้าหน้าที่ในระดับตำบล /อำเภอ
  • นำมาเผยแพร่เผื่อเป็นประโยชน์บ้าง
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ อ.ชยพร

P

 

ความรู้+ประสบการณ์ ของเกษตรกรโคยตรง

นำมาเผยแพร่ผ่านบันทึก..นี้

เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง

ขอบคุณมากครับ

สวัสดี บัง

P

 

  • เรื่องทำ ที่ยังลาแทบทุกพื้นที่โครงการลงไปทั่ว ไปที่ไหนก็มี ไปที่ไหนก็แจก
  • ใจผมอยากรณรงค์ให้ใช้มากกว่า
  • ผมไม่ค่อยได้ยินคนที่ทำและคนที่รับของแจกไปแล้วมาบ่นว่า"ใช้ดีจัง"
  • อยากได้ยิน..นิ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ เหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์

P

 

  • ที่ทำนั้นทำกันทั่วไป หมอดินก็ทำ เกษตรกีทำ
  • แตที่ใช้จริงจัง  ยังไม่ค่อยปรากฏ
  • คนแถวใต้ สบายจยเคยตัวครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน

P

 

ขุดหลุ่มไว้ใบไม้ใบหญ้า เมื่อเต็มเอาดินกลบ

2-3-4 เดือนไปขุดเอ่มใช้ หรือดินดินแถวกองขยะ ที่มีการเผาไฟ  ทิ้งไว้นานๆ..พ่อบอกว่า เป็นมายา  (มายา คือดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก)

ขอบคุณมากครับ

ศน แอ็ด

P

 

  • เก็บไว้ในบันทึก
  • เมื่อต้องการใช้
  • มาค้นหาไปได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ หนุ่มกร

P

 

ที่ใช้ส่วนใหญ่ใข้กับผัก กัยสวนผลไม้หรืออื่นๆที่เนื้อที่มากน่าจะใช้ยาก

ที่ยะลาก็เป็นปัญหารเรื่องการใช้เข่นเดียวกัน

ขอบคุณมากครับ

P น้องเอก

 

  • สบายดีนะครับ
  • ไปอ่านมาแล้วแต่ไม่ทิ้งหลักฐาน
  • กลัวตัวเองมาก เดี๋ยวคอมเม้นส์แล้วเข้าใจยาก
  • ไม่รู้ยอหรือตำหนิเขา
  • ขอบคูณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ
  • ครูอิง(คนเดียวกับครูตาล)ไม่ค่อยมีประสบการณ์เรื่องการใช้ปุ๋ย
  • แต่ก็ศึกษา นำไปบอกกล่าวญาติพี่น้องที่ทำสวนที่สงขลาค่ะ
  • เคยเห็นพี่ชายคนโตเขาทำอยู่บ้างเหมือนกัน
  • แฮ่...แฮ่...ยังเคยบ่นดัง ๆ ให้ได้ยินว่า เหม็น
  • ด้วยตอนแรกก็ไม่ทราบว่าเหม็นอะไร
  • เพราะนาน ๆ จะได้กลับไปบ้านที่สงขลาสักที
  • ขอบคุณท่านเกษตรยะลามากค่ะ
  • แวะมาทักทายวันหยุดค่ะ
  • มีของฝากมาให้ด้วยค่ะ
  • สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาไทย
  • ทั้งสวย   หอม  และหวาน   อร่อยค่ะ
  • ทานมื้อเย็น...นี้เลยนะคะ
  • (¯`•._) ... แยมกุหลาบ ... (_.•`¯)

สวัสดีครับ ครูอิง

P

 

การหมักปุ๋ยน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 20-30 วัน หลังจากนั้นเปิดฝานำมาใช้ได้

ที่มีกลิ่นเหม็น คงไม่ถึงกากน้ำตาล  ถ้าได้ที่แล้วกลิ่นจะหอม

ผมยังใช้รถผักข้างบ้านเลยครับ หอมครับ

ขอบคุณมาก

P

สวัสดีครับ °o.O ปลายฟ้า O.o°
แย้มกุหลาบ..อร่อยจริงๆ ทั้งหอมทั้งหวาน
ทางกินกับขนมปังกรอบๆ...หร่อยจังหู
ขอบคุณมากครั

ขอบคุณข้อมูลดีๆนะค่ะ...เป็นประโยชน์มากๆค่ะ...

สวัสดีครับ คิดตี้จั๊ม

P

 

  • ข้อมูลดี  ต้องนำไปบอกต่อและนำไปลองทำและใช้ดูว่ามีประโยชน์จริงหรือเปล่า
  • ขอบคุณมากๆครับ

มาแอบเชิญบล็อกนี้ไปไว้ในแพลนเน็ตตัวเอง ข้อมูลดีมากเลยค่ะ จะมาค้นคว้าอีกเรื่อยๆเพื่อนำไปทดลองทำดูค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ พี่นุช

P

 

เป็นประสบการณ์จากการทำงานในพื้นที่ของน้องๆที่ปฏฺบัติงานในระดับอำเภอครับ

จากการที่ไปแนะนำเกษตรกรบ้าง  เรียนรู้จากเขาบ้าง รวบรวมบันทึกเป็นองค์ความรู้

เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ศึกษาเรียนรู้..โดยไม่ต้องค้นคว้าให้เหนื่อย

ขอบคุณมากครับ

สวัสดี ครับ

ผมเคยอ่านหนังสือ แล้วลองทำน้ำหมัก ชีวภาพ

แต่กว่าจะเป็นน้ำหมักชีวภาพ ก็ต้องทดลองทำหลายครั้ง

ขอบพระคุณ บันทึกฉบับนี้ มาก ครับ

 

สวัสดีครับ แสงแห่งความดี

P

 

  • น้ำหมักมีหลายสูตรหลายแบบ
  • ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และการผสมส่วนผสม
  • แบบหมัก สับหยาบ ละเอียด ใช้เวลาแตกต่างกันไป
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท