KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๕๖. ฝึก KM แก่ผู้บริหารระดับสูง


          สคส. กำลังเผชิญความท้าทาย   เพราะจะต้องจัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์กรแห่งหนึ่ง    ที่เป็นคนเก่งระดับครีมของครีมของประเทศ    มีคนมาบอกว่าใน ๒๑ คนที่จะมาเป็นคนสอบได้ที่ ๑ ของประเทศ ๕ คน  

          มีคนมาขู่ว่า ท่านผู้ใหญ่เหล่านี้สมองไวยิ่งกว่าปรอท   ลูกน้องพูดยังไม่ทันจบท่านก็พูดต่อให้กลับไปดำเนินการ   หรือพูดในภาษา KM ท่านเหล่านี้ฟังไม่เป็น   ไม่รู้จัก deep listening   หัวสมองแล่นอยู่ตลอดเวลา   เป็นคนที่สมองซีกซ้ายพองโตแต่สมองซีกขวาลีบ  

          ทางองค์กรเขาขอให้ สคส. จัดให้ท่านเหล่านี้รู้จัก KM แนว สคส.   และเรียนรู้วิธี empower การ ลปรร. ของลูกน้อง    เราจัดแบบใหม่ คือพาไปดูงาน ๒ หน่วยงานที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว    ให้เห็นว่า คนที่ไม่มีพื้นฐานการศึกษาสูงๆ ก็เรียนรู้และสร้างสรรค์ได้ ถ้าจัดบรรยากาศให้เอื้อ

          ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งรู้เข้าก็ท้าทายว่า เราจะจับคนเก่งสุดๆ ๒๑ คนนี้ให้เข้ากระบวนการของเราได้อย่างไร   ผมเสนอว่าให้บอกในตอน BAR หลังรถบัสเคลื่อนที่ ว่า สคส. ไม่มีเจตนามาบอกอะไรแก่ท่านเลย   แต่ได้ออกแบบการเรียนรู้แนวใหม่   โดยจะพาท่านไปดูของจริง ๒ แบบ ๒ สถานการณ์   แล้วอยากให้ท่านบอกเราว่าท่านเห็นอะไร และประเทศไทยสังคมไทย (รวมทั้งหน่วยงานของท่าน) ควรเอาสิ่งที่ท่านเห็นไปใช้ในการพัฒนาประเทศ/องค์กร อย่างไร  

          เท่ากับให้คนเก่งเรียนรู้จากผัสสะของตนเอง    จากการตีความสิ่งที่ไปพบเห็นซักถาม   โดยที่ที่สำคัญคือแต่ละคนตีความอย่างอิสระ   ใช้วิธีเสวนากัน ไม่ใช้อภิปรายโต้แย้งกัน

          เป็นการ “สอนแบบไม่สอน”   หรือเป็นการให้คนเก่งเรียนรู้จากการสอนคนอื่น หรือโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั่นเอง

          ผู้ใหญ่ท่านนั้น ร้องว่า “ใช่เลย” นี่คือวิธีที่จะทำให้คนเก่งสนุกกับกิจกรรม KM ได้

วิจารณ์ พานิช
๑๗ ก.พ. ๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 243470เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อย่างที่ท่าอาจารย์พูดเลยครับ การจัดการกับคนที่เก่ง ต้องให้เห็นเองคิดเอง ทำเอง เรียนรู้จากของจริงครับ

ขอบคุณสำหรับวิธีการด้วยครับ ถ้ามีโอกาสจะได้นำมาใช้กับองค์กร

ความยากและท้าทายเห็นจะเป็น "ถ้าหากมีใครอยากสรุป" ขึ้นมานะครับ

อาจารย์มีเทคนิคการสร้างความรู้แก่บุคคลต่างๆได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของแต่ละคนได้อย่างยอดเยี่ยม มีโอกาสจะพาคณะครูไปเยียมคารวะท่านเผื่อจะได้อะไรดีๆจากท่านบ้าง อย่างน้อยคงจะได้คำแนะนำในการพัฒนาการจัดการความรู้ในสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายในการทำKM

ผมเคยไปสัมมนาที่สิงคโปร์ เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรม เป็นการรวมเอาอาจารย์มหาวิทยาลัยจากหลายๆแห่งไปร่วมกันทำworkshop เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม วิธีการที่น่าสนใจก็คือ ทุกคนจะมีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านทางการเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดในแต่ละหัวข้อในกระดาษโพสอิท แล้วนำไปติดไว้ที่บอร์ดกลางห้องโดยไม่มีการคุยกันเลย จนกว่าหัวข้อในการแสดงความคิดเห็นจะเสร็จสิ้น ทุกคนถึงจะมาร่วมกันอภิปรายแนวคิดบนบอร์ดทีละแนวคิด แล้วก็ร่วมกันหาข้อสรุป ดูเหมือนทุกคนจะสนุกกันมากเลย เพราะเราสามารถแสดงความคิดได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องแย่งกัน ที่สำคัญตอนหลังยังมานั่งลุ้นอีกว่า เพื่อนๆที่ไปสัมมนามีความคิดเห็นเกี่ยวกับไอเดียของเรายังไง

บางที ความเงียบก็มีประโยชน์ และได้งานมากกว่าเสียงดัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท