เมืองลำพูนสู่เมืองมรดกโลก


เมืองลำพูนสู่เมืองมรดกโลก

เมืองลำพูนสู่เมืองมรดกโลก


          เมืองลำพูนหรือ เมืองเจ้าแม่ เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในภาคเหนือ มีอายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี   เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์   ถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแฝดของจังหวัดเชียงใหม่    ที่ยังคงรอคอยให้นักท่องเที่ยวและผู้คนมาชื่นชมความงามของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และวิถีชีวิต ที่ทรงคุณค่ายิ่ง และถูกผลักดันขึ้นสู่การเป็นเมืองมรดกโลกโดยองค์การสหประชาชาติ
                    กล่าวกันว่าเป็นนครที่สร้างขึ้นบนทำเลที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นชุมทางแม่น้ำหลายสาย มาบรรจบกัน ทั้ง ปิง กวง ทา สาน( สาร ) ลี้ ผังเมืองเป็นรูปหอยสังข์  อันเป็นลักษณะผังเมืองโบราณที่นิยมสร้างในพุทธศตวรรษ ที่ 11 – 15 ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบันยังมีร่องรอยของผังเมืองรูปหอยสังข์เหลืออยู่
 
                    หริภุญไชยเป็นราชธานีแห่งแรกของภาคเหนือ   มีความเจริญสูงสุดดังหลักฐานจากศิลาจารึก พบจารึกอักษรมอญโบราณที่จารขึ้นในพุทธศตวรรษ ที่ 15-17 จำนวนมากถึง 8 หลักซึ่งเก่าแก่กว่าศิลาจารึกลายสือไทสมัยสุโขทัย ถึง 400 – 500 ปี  ซึ่งแต่ละหลักล้วนแสดงถึงอัจฉริยภาพของชาวหริภุญไชย   ทั้งด้านการปกครอง   และความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนา  จารึกอักษรมอญเป็นต้นกำเนิดของการเขียนอักษรล้านนา หรือตั๋วเมือง เมืองหริภุญไชยยังได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเมืองเจ้าแม่   ตำนานของแม่เมือง  หรือปฐมกษัตริย์ที่สตรีเป็นผู้ปกครอง คือ “พระนางจามเทวี”   อันเป็นตำนานที่สะท้อนถึงบทบาทของผู้หญิงยุคโบราณในฐานะผู้นำ 
                    นักโบราณคดีพบว่าหริภุญไชยมีแหล่งโบราณคดีจำนวนมากที่ทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังมีสภาพไม่ถูกรบกวน โดยถูกขุดค้นศึกษาและรอการสำรวจต่อไป ที่โดดเด่นได้แก่ บ้านวังไฮ ต .เวียงยอง  อ. เมือง พบโครงกระดูกมากกว่า32 ชิ้น พบเครื่องประดับและภาชนะในหลุมศพมีอายุราว 2,500 – 4,000 ปีมาแล้ว ตลอดจนสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง-กวง-ทา- สานจากอำเภอบ้านธิ อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง และอำเภอลี้ พบแหล่งโบราณคดีเป็นระยะ ๆ 
                  นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณสถาน ประเภทเนินดิน ซากเจดีย์ กู่ต่าง ๆ วิหารร้าง ที่รอการศึกษาและขุดแต่งไม่ต่ำกว่า 400 แห่ง  ที่สำคัญมีสถาปัตยกรรมสมัยทวาราวดีที่ยังเหลืออยู่อีก 5 แห่ง     นครหริภุญไชยศูนย์กลางที่อยู่อาศัยของทุกชาติพันธุ์    จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ อินเดีย   กวางสี-คองซอน โรมัน ลัวะ เม็ง ขมุ ม่าน เงี้ยว ไต ละโว้ กัม ลื้อ โยน เขิน ยอง สยาม จีน ฯลฯ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงดำรงวิถีชีวิต วัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของตนไว้อย่างเหนียวแน่น

บทสัมภาษณ์ดร.เพ็ญสุภา  สุขคตะ ใจอินทร์  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จ.ลำพูน
     
“  มรดกโลกของลำพูนใช้เวลามาแล้ว กว่า 3 ปี  ณ    วันนี้ได้ทำโครงการเป็นเรื่องของลำพูนโดยเฉพาะขนานกัน 6 ด้านตามมาตรฐานของ UNESCO เป็นตัวชี้วัด คือแผนแม่บท การชำระประวัติศาสตร์ แผนจัดการผังเมืองหรือผังเฉพาะของเมือง วิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรม ฟื้นฟูประเพณี การประชาสัมพันธ์ในมุมกว้าง และโบราณสถาน ดังวิสัยทัศน์ใหม่ ลำพูนสู่มรดกโลก  เกษตรปลอดภัย  อุตสาหกรรมสะอาดโดยทุกภาคส่วนร่วมกัน และมีงบ CEO  ลำพูนสู่มรดกโลกในปี 2551และปี 2552เพื่อให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น”

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=316

หมายเลขบันทึก: 243071เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"....พบเครื่องประดับและภาชนะในหลุมศพมีอายุราว 2,500 – 4,000 ปีมาแล้ว........"

ลำพูนเมืองเก่าจริงๆด้วย

1. พันคำ

เมื่อ พ. 18 ก.พ. 2552 @ 22:41

ขอบคุณค่ะที่แวะมานะค่ะ...

ตามาดู แล้วค่ะ จะเป็นนักเรียนที่ดีค่ะ มาเรียนรู้ค่ะ 55555555

UNESCO ?联合国教科文组织认可的 ?值得去玩哦~~

สวัสดีค่ะ

  • เรื่องราวเมืองลำพูนน่าสนใจมากค่ะ
  • เมืองที่มีคนรวมกันเยอะจังค่ะ วัฒธรรมคงน่าสนใจเนื่องจากมีหลากหลาย น่าศึกษาจังค่ะ.
  • ชอบทุกเรื่องราวที่นำเสนอค่ะ
  • เยี่ยมจริงๆ...ขอบคุณค่ะ.

 

3. Lin Hui

เมื่อ พฤ. 19 ก.พ. 2552 @ 07:47

คิดถึงนะค่ะ..แต่ปุ้ยไม่ค่อยมีเวลาเลยช่วงเปิดเทอมนี้...อิอิ

4. davidhoo

เมื่อ ศ. 20 ก.พ. 2552 @ 21:30

ใช่ๆๆๆ ... เด่ววันหลังว่างๆๆๆ ไปเที่ยว..อิอิ

5. ผึ้งงาน_SDU

เมื่อ พ. 25 ก.พ. 2552 @ 15:50

ค่ะ...อย่าลืมตามมาหาความรู้บ่อยๆๆๆ นะค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท