การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 5


องค์ประกอบของการจัดการความรู้

ติดตามตอน 4 ได้ที่ "Click" 

ติดตามตอน 3 ได้ที่ "Click" 

ติดตามตอน 2 ได้ที่ "Click"

ติดตามตอน 1 ได้ที่ "Click"

การจัดการความรู้เหมือนพระนารายณ์ 10 กร  เพราะแต่ละกรของท่าน มีของวิเศษแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน  สามารถหยิบใช้เพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสม

ก่อนจะรู้จักเครื่องมือแต่ละชิ้นของการจัดการความรู้ว่าทำหน้าที่อย่างไร  อยากจะขอฉายภาพรวมของการจัดการความรู้ในอีกมุมมองหนึ่งก่อนนะค่ะ  นั่นก็คือ  โมเดลปลาทู : TUNA  Model

โมเดลนี้ออกแบบโดยท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) เป็นโมเดลหรือความคิดรวบยอดที่สรุปรวมเป็นภาพภาพเดียวที่วิเศษยิ่ง (ดิฉันอยากมีความสามารถแบบเดียวกันนี้บ้างจัง) นอกจากนี้  ชื่อโมเดลยังมีที่มา ที่มีความหมายให้ตามขุดไปพบซากประวัติศาสตร์ได้อีก  กล่าวคือ  ย้อนไป เมื่อวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2547 ดร.ประพนธ์ ได้เข้าร่วมประชุมในงาน “ตลาดนัดความรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการจัดการด้านเอดส์ ” ณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานใหญ่ระดับอินเตอร์เชียวค่ะ  ในงานนี้ ดร.ประพนธ์ ได้ร่วมรับฟังการบรรยายโดย Mr. Frannie Léautier Geoff Parcell (ที่ปรึกษาการจัดการความรู้ ของ UNAIDS ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “ Learning to Fly” ร่วมกับ Mr. Chris Collison ที่โด่งดังมาก) Mr. Parcell ได้นำเสนอ  เครื่องมือชุดหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก และช่วยทำให้บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเอดส์ มีสีสัน มีพลัง มีชีวิตชีวา  ดร.ประพนธ์ จึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาปรับใช้กับโครงการด้านจัดการความรู้ ที่ สคส. ดำเนินการอยู่ ดังนั้น  ชื่อ TUNA  Model  จึงมาจาก  Thai –UNAids Model นั่นเอง

TUNA  Model  แสดงองค์ประกอบของการจัดการความรู้ที่มีความจำเป็นและสำคัญมาก 3 ส่วน คือ

1) Knowledge Vision (KV) เป็นส่วนที่ต้องตอบให้ได้ว่าทำการจัดการความรู้ไปเพื่ออะไร

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดิฉันยอมรับว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการก่อเกิดส่วนอื่นถัดไป เหมือนตัวอ่อนในครรภ์มารดา ส่วนหัวเป็นส่วนแรกที่เกิดก่อน แล้วจึงพัฒนาส่วนตัวและแขน ขาได้ การกำหนด KV  ต้องการผู้มีสายตาที่เล็งการณ์ไกลได้อย่างแม่นยำ มีสมองอันชาญฉลาด

 

 

 

และเพื่อให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเป็นส่วนลำตัว สิ่งที่เป็น ความสนใจร่วมหรือปัญหาร่วมของชุมชนในองค์กร น่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีที่สุด

 

 

2) Knowledge Sharing (KS)  เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเวทีจริง และเวทีเสมือนเช่นผ่านเครือข่าย Internet

ส่วนนี้ เป็นหัวใจของการจัดการความรู้ เป็นส่วนที่จะดึงความรู้ซ่อนเร้นที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจได้

 

 

เพราะเกี่ยวกับหัวใจ  ส่วนนี้จึงต้องการความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นสำคัญ  ถ้าไม่สามารถทำให้รู้สึกรักและปรารถนาดีต่อกันด้วยความจริงใจได้  ใจใครก็บังคับใครไม่ได้ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า เลี้ยงได้แต่ตัว ใช่ไหมค่ะ

 

 

3) Knowledge Assets (KA) เป็นส่วนขุมความรู้ที่ทำให้มีการนำความรู้ไปใช้งานและมีการต่อยอดยกระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ

ถ้าเปรียบกับปลา ก็เหมือน หางปลา ไม่มีหางก็ว่ายน้ำไม่ได้  ถ้าเปรียบกับคน ก็เหมือนแขน ขา  ไม่มีก็อยู่ได้  แต่อยู่อย่างคนพิการ ซึ่งลำบากกว่าคนปกติหลายเท่า

ตอนที่ดิฉัน รู้จักโมเดลนี้ครั้งแรก ดิฉันยังไม่รู้จัก Blog ยอมรับว่า ตอนนั้นไม่เข้าใจ และคิดไม่ออกว่า จะเก็บความรู้จากส่วนตัวปลาไว้เป็นคลังได้อย่างไร และจะเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้างได้อย่างไร แต่ตอนนี้  ดิฉันสามารถประยุกต์โมเดลปลาทู ไปใช้งานได้จริง จนครบทั้งตัวแล้ว

หมายเลขบันทึก: 23986เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2006 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เขียนเรื่อง โมเดลปลาทู แบบเตือนสติ อีกครั้ง อ่านเพิ่มเติม แล้วจะยิ่งซึ้งค่ะ "Click"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท