ประเด็นการพัฒนาความรู้


การระวังป้องกันภัย

     ก่อนอื่นขอแนะนำประวัติการทำงานราชการสักเล็กน้อย ผมทำงานราชการมานาน เดิมเป็นลูกจ้างตำแหน่งช่างถ่ายรูป (ทำบัตรประจำตัวประชาชน) อยู่ที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ.2517 สอบบรรจุเข้าราชการได้ในตำแหน่งเสมียนปกครอง ทำงานอย่ที่เดิมคือที่ว่าการอำเภอหลังสวน  เปลี่ยนสายงานเป็น  ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง เมื่อปี  พ.ศ.  2538  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ  (เจ้าพนักงานปกครอง 6ว)  อำเภอเมืองชุมพร ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการต่อส้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดชุมพร (ศตส.จ. ชุมพร) ในการรับราชการแต่ละระดับ  ได้รับเงินเดือนเต็มขึ้นเกือบทุกระดับ

    จากประสบการณ์ทำงาน  ในตำแหน่งปลัดอำเภอ  ประจำที่ว่าการอำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร  รับผิดชอบงานป้องกันฯ  ซึ่งเป็นงานที่ผมถนัดเป็นพิเศษ  เนื่องจากมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายป้องกันฯซึ่งเป็นงานที่ผมถนัดเป็นพิเศษ เนื่องจากมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปรามมาแล้ว รวมทั้งหการเป็นวิทยากร ในการป้องกันฝ่ายพลเรือนติดต่อกันมาหลายปี ปฏิบัติงานเป็นผู้บังคับหมวดปืนเล็กกองร้อย อส.จ.ชุมพร เป็นเวลา 13 ปี เป็นหัวหน้าชุดกู้ภัยประจำรถกู้ภัย และการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆของกรมการปกครอง,กองอาสารักษาดินแดน และ กอ.รมน. จึงจึงได้เก็บรวบรวมเอาชิ้นงาน ความรู้จากการฝึกอบรม การเป็นวิทยากร และ ประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งเดิมปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยังไม่มีโอกาสเป็นผู้รับผิดชอบ และนำเสนอด้วยตนเอง แต่มีความคิดเสมองว่า ถ้าเป็นผู้รับผิดชอบก็จะนำเอาผลงานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำและประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการทำงาน  และนำปัญหาที่เคยพบมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ได้กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติงานในทุกเรื่องและทุกด้าน เป็นขั้นตอนโดยหยึดหลักธรรมชาติประมาลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีประกอบกับนยุทธวิธีทางการทหาร คือ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ดังนี้

 1. ศึกษาข้อมูลเดิมที่ทางอำเภอจัดทำไว้

 2. ศึกษาภูมิศาสตร์หรือ หาข่าวในพื้นที่ซ้ำใหม่อีกครั้ง เนื่องจากสภาพของข้อมูลเดิมอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดต้นไม้ การขุดคลอง คูระบายน้ำ การตัดถนนสายใหม่ การยกระดับของถนน นอกจากเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้ว สิ่งสำคัญต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ และวางแผนเพิ่มเติมเป็นการล่วงหน้า เช่น ต้นน้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง แม่น้ำ ฯลฯ

 3. สืบสภาพดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล ในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะช่วงของฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นสำคัญโดยประมวลจากรอบหลายปีที่ผ่านมา เพื่อคำนวณความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น

 4. วิเคราะห์พื้นที่เป้าหมาย โดยกำหนดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแต่ละประเภท ใช้แผนที่ทางทหารมาเป็นแนวทางในการตรวจสภาพ

 5. กำหนดแผนและสำรวจวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้และเตรียมสำรองเครื่องอุปโภคบริโภค ให้เป็นปัจจุบัน

 6. กำหนด "การเฝ้าระวัง" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแจ้งเตือนภัย ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยทีมงานของปลัดป้องกันเท่าที่มีอยู่จำนวนน้อย แต่ต้องทำงานด้วยจิตสำนึกและหัวใจที่อาสาจะทำงานสำหรับเรื่องนี้ผมอาศัยทุนของแผ่นดินที่มีอยู่แล้ว คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ สารวัตร ผู้ช่วย ฯ สมาชิก อส. สมาชิก อปพร. ซึ่งได้จัดตั้งไว้อย่างเป็นระบบอยู่แล้ว รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และได้ช่วยเหลือกันมาแต่ก่อน ช่วยกันดูแลพื้นที่ของตัวเอง และให้มีการติดต่อสื่อสารถึงกันและกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ตัวปลัดอำเภอเอง ต้องเป็นผู้ประสาน และแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวหรือกระจายข่าวอยู่อย่างต่อเนื่อง

 7. การซักซ้อม และการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า คือทำความเข้าใจให้กับผู้นำท้องที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ให้เข้าใจเหมือนกันทุกคน โดยการประชุมผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย

     บทวิเคราะห์ที่ได้เก็บข้อมูลมาจากข้อมูลเดิมและศึกษาเพิ่มเติมท่ดำเนินการ รายละเอียดดังนี้

การสังเกตการณ์ในพื้นที่อำเภอหลังสวน

     ในสถานการณ์ช่วงเดืนอกันยายน - เดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเดือนฤดูฝนของทุกปี ในพื้นที่อำเภอหลังสวนจะมีผลกระทบต่อการเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งเนื่องจากพื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ทะเล ด้านทิศตะวันตกเป็นที่สูง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน หรือพายุไต้ฝุ่น พัดเข้ามาและมีฝนตกหนักต่อเนื่องกันนาน ๆ ปริมาณฯ น้ำฝนจำนวนมากไหลลงมาสู่ที่ราบอย่างรวดเร็วไม่อาจไหลลงสู่แม่น้ำได้ทัน โดยเฉพาะแม่น้ำหลังสวน ซึ่งเป็นแม่น้ำหลัก ปัจจุบันมีทรายไหลมาทับถม ทำให้แม่น้ำตื้นเขิน ตั้งแต่ตำบลหาดยายจนถึงบริเวณตำบลปากน้ำ กรมเจ้าท่าจะต้องทำการขุดลอกบริเวณปากแม่น้ำอยู่ตลอดเวลา น้ำฝนที่ตกลงมาจึงไม่อาจรับน้ำได้ทั้งหมด อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ และพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งเรียกได้ว่าเกิดอุทกภัย

     การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัย  แบ่งพื้นที่ออกเป็นกลุ่มสภาพลุ้มนำดังนี้

    น้ำป่าไหลหลาก  22 หมู่บ้าน

    พื้นที่ดินถล่ม       4  หมู่บ้าน

    พื้นที่น้ำถ้วมขัง   32  หมู่บ้าน

    พื้นที่วาตภัย       17  หมู่บ้าน

          รวม            75  หมู่บ้าน

1.แม่น้ำหลังสวน สภาพแม่น้ำหลังสวน มีพื้นที่ติดต่อกับพื้นที่ของอำเภอพะโต๊ะ เมื่อเกิดฝนตกหลักติดต่อกันหลายวัน ทำให้นำจากที่สูงบริเวณพื้นที่อำเภอพะโต๊ะไหลลงสู่ลำคลองอยางรวดเร็วประกอบกับลักษณะลำคลองที่คดเคี่ยว และตื้นเขิน ทำให้กระแสน้ำไหลเชี่ยว ไหลหลากเดข้าสู่พื้นที่ลุ่มพื้นที่ริมคลองและพื้นที่ลุ่มแอ่งกะทะอย่างรวดเร็วในพื้นที่ดังนี้

ตำบลวังตะกอ หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,13

ตำบลขันเงิน   หมู่ที่ 1,2,5,7

ตำบลหาดยาย หมู่ที่ 2,5,6,7,8,9,13

ตำบลท่ามำพลา หมู่ที่ 2,7,8

ตำบลพ้อแดง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10

ซึ่งเมื่อน้ำไหลหลากเข้าพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จะทำให้เกิดการระบสบยน้ำออกได้ช้า เนื้องจากลักษณะพื้นที่ประกอบกับน้ำทะเลจะขึ้นหรือลงในช่วงเวลาประมาณอย่างน้อย 2-3 วัน หลังฝนหยุดตก

ข้อสังเกตการณ์เฝ้าระวัง

    หากว่ามีฝนตกในพื้นที่ อำเภอหลังสวน กำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกันหลายวันและวัดประมาณน้ำผลได้ประมาณ 100 - 120 มม.ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นในแม่น้ำหลังสวนต สูง 4.50 เมตร น้ำจะล้นตลิ่ง มอบหน้าที่ให้สมาชิก อส.2 คนตรวจการณ์และและเฝ้าระวัง เมื่อแม่น้ำหลังสวนล้นตลิ่ง พื้นที่ที่มีผลกระทบประกอบด้วย

ตำบลแหลมทราย   หมู่ที่ 12,1,3,4,11

ตำบลนาขา  หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6

ตำบลบางน้ำจืด  หมู่ 8,7,6

รายงานในพื้นที่ทราบทันที

2.คลองราง เป็นลำคลองที่อยู่ในพื้นที่ล่ม พื้นที่ลุ่มแอ่งกะทะ และริมคลอง เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกัน จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวได้รับน้ำถ้วมขังอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะพื้นที่

ตำบลพ้อแดง   หมู่ 12,1,3,4,11

ตำบลนาพญา   หมู่ 3,8,10,13-16

ตำบลบางมะพร้าว หมู่ 1,9

  ซึ่งกว่าจะระบายน้ำให้อยู่ในสภาพปกติได้ ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน หลังฝนหยุดแล้ว

ข้อสังเกตการณ์เฝ้าระวัง

    จากระดับน้ำคลองราง(ถ้ามีน้ำตามปกติเกือบเต็มตลิ่ง) หากมีฝนตกหนักติดต่อกันภายใน 1 วัน วัดระดับน้ำฝนได้ 80 - 90 ม.ม และหากมีฝนตกติดต่อเพิ่มขึ้นอีก ก็จะทะให้น้ำถ้วมขังขยายเป็นวงกว้างอีก ระดับน้ำสูงประมาณ 3 - 4 เมตร (บางส่วน) ให้ อ.ป.พ.ร ในพื้นที่ตรวจการณ์และเฝ้าระวัง

3.คลองน้ำขาว

      เป็นลำคลองที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่ลุ่มแอ่งกะทะ เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน จะทำให้น้ำถ้วมขังและเมื่อฝนหยุดตกแล้ว น้ำที่ถ้วมขังจะลดลงภายใน 2-3 วันพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้แก่

ตำบลพ้อแดง หมู่ที่ 1,2,3,4,,6,7,8,9,10

ตำบลนาพญา หมู่ที่ 3,10,13,14

เมื่อฝนหยุดตกแล้ว จะใช้เวลาในการกลับเข้าสู่สภาพปกติของลำคลองภายใน 1-2 วัน

ข้อสังเกตการณ์เฝ้าระวัง

  จากระดับน้ำคลองราง คลองน้ำขาว(ถ้ามีน้ำปกติเกือบเต็มตลิ่ง) หากมีฝนตกหนักติดต่อกันภายใน 1 วัน วัดระดับน้ำฝนได้ 80 - 90 มม. และหากมีฝนตกติดต่อกันภายในเวลา 1วัน วัดระดับน้ำฝนได้ 80 -90 มม. และหากตกติดต่อกันเพิ่มขึ้นอีก ระดับนำสูงประมาณ 3-4 เมตร (บางส่วน) กำนัน,ผู้ใหญ่บ้านฯ และ สมาชิก อ.ป.พ.ร. ตรวจการณ์เฝ้าระวัง

4.คลองขนาน

   เป็นลำคลองที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มที่ลุ่มแอ่งกะทะเมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจะทำให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังนี้

ตำบลบ้านควน  หมู่ที่ 16,7,8

ตำบลนาพญา    หมู่ที่ 8,10,3,14,15

  เมื่อฝนหยุดตกแล้ว จะทำให้น้ำในลำคลองดังกล่าวเข้าสู่สภาพปกติได้ภายใน 1-2 วัน

ข้อสังเกตเฝ้าระวัง

   จากระดับน้ำคลองธัมมัง(ถ้ามีน้ำปกติเกือบเต็มตลิ่ง)หากมีฝนตกหนักติดต่อกันภายใน 1วัน วัดระดับน้ำฝนได้ประมาณ 80-90 มม.และหากมีฝนตกติดต่อเพิ่มขึ้นอีก ก็จะทำให้น้ำถ้วมขังเพิ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นอีกระดับน้ำสูงประมาณ 3-4 เมตร (บางส่วน) ของตำบลนาพญา และตำบลพ้อแดง ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ฯ สารวัตรกำนันและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อ.ป.พ.ร. ในพื้นื้ตรวจการณ์เฝ้าระวัง

6.แหลงน้ำแม่ทะเล เป็นแหล่งกักเก็บน้ำแห่งหนึ่งที่มีพื้นที่กว้างอยู่ในพื้นที่ตำบลท่ามะพลา จะมีน้ำในลำห้วยเล้ก ๆไหลลงมารวมกัน โดยเฉพาะห้วยขี้ม้า บริเวรทุ่งนา ไหลลงมาถ้วมพื้นที่เสี่ยงภัยของตำบลท่ามะพลา ตำบลขันเงิน ตำบลพ้อแดง แลพถ้าหากน้ำล้นตลิงมาจากคลองหลังสวน ไหลผ่านตำบลหาดยาย ตำบลท่ามะพลา ก้จะทำให้น้ำถ้วมขังในพื้นที่

ตำบลวังตะกอ

ตำบลหาดยาย

ตำบลท่ามะพลา

ตำบลขันเงิน

ตำบลบ้านควน

ตำบลพ้อแดง

ตำบลบางมะพร้าว

   เกือบทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ระดับน้ำสูง 2-4 เมตร มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 กั้นน้ำ ระยะทางยาวประมาณ 5 กม.โดยเฉพาะ บริเวณสามแยกพะโต๊ะ บริเวณสี่แยกหลังสวน บ้านหนองเทา บ้านฝ่ายคลอง บ้านตกวัดสุวรรณคีรี บ้านเขาวอ บ้านขุนทุ่งพรหม และ บ้านวัดเหนือ

   มีทางหลวงท้องถิ่นสายหลังสวน -ละแม(สายล่าง) กั้นน้ำ ระยะทางยาวประมาณ 8 กม.โดยเฉพาะบริเวณบ้านหลังอำเภอ บ้านทุ่งใน บ้านนาพระ บ้านพ้อแดง บ้านนาจีนเก้า บ้านคลองขนาน บ้านสะพานยูง และบ้านทุ่งยอ

     นอกจากนั้นจะมีถนนสายตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งจะมีแนวถนนจากทิศเหนือ ไปทิศใต้ มีลักษณะเป็นการขวางทางไหลของน้ำ ที่มาจากทิสตะวันตก ไปทางทิสตะวันออก

      ที่สุดความสำเร้จในการแจ้งเตือนภัย และการเฝ้าระวังป้องกันภัยของอำเภอหลังสวน เกี่ยวกับอุทุกภัย แม้ยังมีเป็นประจำทุกปี แต่ก็สามารถลดความสูญเสียชีวิต และความเสียหายของทรัพย์สินของราษฎรลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านปศุสัตว์ ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นเลย ส่วนด้านการเกษตรมีผลไม้กระทบน้อยมาก สร้างขวัญและกำลังใจในการดำลงชีวิตและลดความหวาดวิตกกังวลต่ออุทุกภัยลงได้

        ความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจก็คือ ในการดำเนินการเรื่องนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินน้อยมากเนื่องจากผมใช้หลักการ ให้ประชาชนรับผิดชอบ ในการดูแลตนเอง ดูแลทรัพย์สิน โดยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่แล้ว

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2398เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2005 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท