BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

อิสิ ฤาษี


อิสิ ฤาษี

ในวรรณกรรมบาลี มีศัพท์ที่ใช้เรียกนักบวชมากมาย โดยบางศัพท์นั้นใช้เรียกนักบวชทั่วไป ส่วนบางศัพท์ก็ใช้เรียกเฉพาะนักบวชบางประเภทเท่านั้น และศัพท์เหล่านี้ก็มีมีกระจายอยู่ทั่วไปในวรรณกรรมภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เฉพาะบันทึกนี้ จะนำเสนอคำว่าอิสิและฤาษี

อิสิ เป็นคำบาลี ส่วน ฤาษี (ฤษี) เป็นคำสันสกฤต มีคำแปลและความหมายเหมือนกัน... ก่อนอื่นนั้น ขอนอกประเด็นนิดหน่อยสำหรับผู้สนใจเฉพาะ กล่าวคือ อักษรว่า อิ ในคำบาลีนั้น บางครั้งจะเป็น ในคำสันสกฤต ซึ่งคำเหล่านี้ที่ปรากฎดาษดื่นในภาษาไทยคือ อิทธิ - ฤทธิ์ (เคยเล่าไว้ คลิกที่นี้)

อิสิ (หรือในสันสกฤตว่า ฤษี) มาจากรากศัพท์ว่า อิสฺ ใช้ในความหมายว่า แสวงหา เมื่อมาใช้เป็นชื่อคนก็คือ ผู้แสวงหา ดังมีวจนัตถะ ว่า...

  • สีลาทิคุเณ เอสติ คเวสตีติ อิสิ
  • ผู้ใดย่อมแสวงหา คือย่อมค้นหา ซึ่งคุณมีศีลเป็นต้น ดังนั้น ผู้นั้นชื่อว่า อิสิ (ผู้แสวงหาคุณมีศีลเป็นต้น)

ถ้าใครจำได้คงจะรู้ว่า อิตถี หรือ สตรี ก็มาจาก อิสฺ รากศัพท์เหมือนกัน นั่นคือ อิตถีและสตรีก็แปลว่าผู้แสวงหา แต่สิ่งที่แสวงหานั้นแตกต่างไปจากอิสิและฤาษี (ศัพท์ว่าอิตถีและสตรีเคยเล่าไว้แล้ว ผู้สนใจ คลิกที่นี้)

 

อนึ่ง อิสฺ รากศัพท์นี้ นอกจากใช้ในความหมายว่า แสวงหา แล้ว... ยังใช้ในความหมายว่า ปรารถนา และ ไป ได้อีกด้วย ซึ่งมีวจนัตถะ แตกต่างไปจากมติข้างต้นดังนี้

  • สุคตึ อิสติ คจฺฉตีติ อิสิ
  • ผู้ใดย่อมไป คือย่อมถึง ซึ่งสุคติ ดังนั้น ผู้นั้นชื่อว่า อิสิ (ผู้ไปถึงสุคติ)

ตามนัยนี้ หมายความว่าอิสิหรือฤาษีนั้นย่อมไปสู่สุคติคือภพชาติที่ดีแน่นอน... ยกเว้นฤาษีลวงโลก ฤาษีลวงเหี้ย อาจมิได้ไปสู่สุคติตามที่ว่า...

 

  • นิพฺพานํ อิจฺฉตีติ อิสิ
  • ผู้ใดย่อมปรารถนา ซึ่งพระนิพพาน ดังนั้น ผู้นั้นชื่อว่า อิสิ (ผู้ปรารถนาพระนิพพาน)

ตามนัยนี้ หมายความว่าอิสิหรือฤาษีนั้นคือผู้ที่ดำเนินชีวิตเพื่อพระนิพพานซึ่งเป็นอุดมคติทางพระพระพุทธศาสนา (แต่ถ้าเป็นฤาษีในลัทธิศาสนาอื่น ก็อาจแปลงจากพระนิพพานเป็นอุดมคติของศาสนานั้นๆ เช่น ปรารถนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมัน)

 

สรุปว่า อิสิ หรือ ฤาษี มีคำแปลสามนัย กล่าวคือ

  • ผู้แสวงหาคุณมีศีลเป็นต้น
  • ผู้ไปถึงสุคติ
  • ผู้ปรารถนาพระนิพพาน

 

อนึ่ง ในสำนวนไทยว่า อิอิ ซึ่งใช้เพื่อแสดงความรู้สึกบางอย่างมีการเย้าแหย่ หยอกล้อ หรือหงุดหงิด เป็นต้นนั้น ไม่ตรงกับความหมายว่า อิสิ ในภาษาบาลี... แต่ในวรรณกรรมบาลีมีสำนวนว่า หุ หุ ซึ่งเป็นการแสดงอารมณ์เหมือนกัน ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าน่าจะเป็นไปทำนองเดียวกับสำนวนว่า อิอิ ในภาษาไทย...

หมายเลขบันทึก: 239202เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

นมัสการพระคุณเจ้า เข้ามาเรียนรู้วรรณกรรมด้วยที่มาของคำว่าแสงหา แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมนักแสวงหามีชื่อเรียกกันหลากหลาย เคยอ่านกลอนวรรคหนึ่งกล่าวถึงนักแสวงหาไว้หลายชื่อ

"ปางองค์ พระ ฤาษี ดาบส องค์นักพรต พระสิทธา"

Pวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

 


ชื่อเหล่านี้... แม้จะบ่งชี้ว่าเป็นนักบวชเหมือนกัน แต่รายละเอียดบางอย่างอาจแตกต่างกันนิดหน่อย ทำนองเดียวกับคำว่า ผู้แทน ในภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ อาจเป็น สว. สส. สท. หรือ สจ. ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้ แม้จะบ่งชี้ว่าเป็นผู้แทนทางการเมือง แต่รายละเอียดแตกต่างกันไป....

อีกนัยหนึ่งคำว่า บังหีม และคำว่า วอญ่า อาจบ่งชี้ถึงคนเดียวกัน แต่ทำไมใช้ชื่อต่างออกไป ซึ่งประเด็นนี้ตรงข้างกับนัยข้างต้น...

สรุปว่า...

  • นัยแรก ชื่อเดียว หลายความหมาย
  • นัยหลัง หลายชื่อ ความหมายเดียว

ไม่แน่ใจว่าท่าน ผู้เฒ่า จะรู้สึกว่า ทำท่าหว่าง หรือ ทำท่ามุ้งมิ้ง ยิ่งขึ้นไปอีก...

เฉพาะการใช้คำศัพท์อย่างเดียว มีนัยอธิบายได้มาก ถ้าบังหีมสนใจก็ (คลิกที่นี้) เคยเล่าประเด็นที่ต่างออกไป...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า พอดีมี คนเมลมาถามผมเรื่อง การตั้งชื่อ

ขอความกรุณา ช่วยตั้งชื่อที่ไม่มีสระและ แปลว่าน้ำ ถ้ามีอักษร ด ต ถ ท ธ น ด้วยก็จะดีคะ คือเกิดวันจันทร์คะ     ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

ก็จึงนึกถึงพระคุณเจ้าครับ ขอขอบพระคุณในความเมตตานุเคราะห์มา ณ ที่นี้ครับ


http://gotoknow.org/blog/penpal/239852

 

Pกวิน

 

  • ชื่อนั้นสำคัญไฉน ?

เจริญพร

ขอขอบพระคุณพระคุณเจ้าครับ

นามสกุลก็สำคัญ นะครับ

สวัสดีครับ พระอาจารย์ ชัยวุฒิ(ไม่แน่ใจเขียนถูกหรือไม่)

ผมศิษย์วัดคอหงส์(ลูกศิษย์ อ.สุพจน์) ครับ

ไม่มีรูปมหาบ้านนอก

 

  • เขียนไม่ถูก...
  • ต้อง ธ.ธง สะกด...

อามนฺตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท