ต่อจากที่แล้วครับ


“กลุ่มเพศวิถี “ชาย” กับสิทธิ์ทางศาสนา”(2)

ในเมื่อสังคมไทยมีพื้นที่กับเพศที่สามมากขึ้น ดังกรณีการแสวงหาสิทธิผ่านกฏหมายของกลุ่มเพศที่สามได้พยายามให้กฎหมายที่เคยรองรับเพศมีเพียงแค่ ให้บรรจุคำที่มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นการยอมรับความหลายหลากทางเพศด้วย ผู้เขียนเชื่อว่า ในโอกาสข้างหน้ากระบวนการสิทธิต่อชายเพศวิถีจะออกมาเรียกสิทธิ์ความเป็น เพศที่สามต่อสาธารณะมากขึ้น อันเนื่องด้วยเหตุผลของโลกย่อส่วน (Glocal)กรณีของศาลฎีกาแคนาดา ตัดสินให้เกย์แต่งงานกันได้ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นคำพิพากษาก้าวสำคัญ ที่อนุญาตให้รัฐสภาแห่งสหพันธ์ ออกกฎหมายให้ชาวเกย์ทั่วประเทศ แต่งงานกันได้ ด้วยผลของคำตัดสินนี้จึงเป็นโลกทัศน์ใหม่ของกลุ่ม เพศวิถีให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบและนำไปใช้เพื่อเป็นประเด็นในการแสวงหาพื้นที่พร้อมทั้งกล่าวอ้างว่าทั่วโลกยอมรับแล้ว แม้กระทั่งเบลเยียม & เนเธอร์แลนด์ (WR) ก็มีกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน รวมไปถึงกรณีของไทยที่มีการเสนอกฎหมายเพื่อให้สิทธิ์ของกลุ่มเพศที่สามใช้คำนำหน้าชื่อเป็นนางหรือนางสาวได้ ถึงแม้จะยังไม่มีผลเป็นกฎหมายก็ตาม ดูประหนึ่งเหมือนเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะ ขออยู่ด้วยคนกับแนวคิดของสังคมแบบเสรีนิยมเพื่อหาพื้นที่ ตัวตนในฐานะชนกลุ่มหนึ่งในสังคม โดยใช้บริบทของโครงสร้างทางสังคม ตามกระบวนการสิทธิ์ และหน้าที่ที่จะพึงได้ และกระทำได้

ประเด็นของ กลุ่มเพศวิถีชายกับสิทธิ์ทางศาสนาแต่เดิมจะดูอึมครึมและอยู่ในฐานะยอมรับชะตากรรมต่อธรรมชาติของตนเอง พร้อมทั้งสยบยอมอยู่กลาย แต่ได้มีเหตุการณ์ที่รัฐสภาอเมริกันออกกฎหมายให้ บาทหลวงสามารถเป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศได้ นั่นหมายความว่าพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และมุมมองทางศาสนาได้เปิดกว้างมากขึ้น เพราะแม้แต่ศาสนาคริสต์ซึ่งถือว่า เพศที่สามหรือกะเทย เป็นบุคคลที่พระเจ้าสาปจึงเกิดเป็นปรากฏการณ์เอาอย่างเหตุการณ์หนึ่งและการเรียกร้องเกิดขึ้น ซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดของ อุลริช เบ็ค (Ulrich Beck,1944) 11 เชื่อว่าการทำความเข้าใจมนุษย์จะต้องเข้าใจจากท้องถิ่นและสากล ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีการสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ต่างมีอิทธิพลต่อกันทั้งในเชิงข้ามพรมแดนและภายในพรมแดน หรือที่รู้จักในนาม glocal หรือท้องถิ่นในโลกาภิวัตน์ พื้นที่ประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลไม่อาจแบ่งเป็นท้องถิ่นหรือรัฐชาติได้หากเอาแนวคิดของนิตเช่ (Friedrich Nietzsche ๑๘๔๔ - ๑๙๐๐) มาอธิบายเสริมต่อความเป็นปัจเจก(ของกลุ่มเพศที่สามต่อการแสวงหาพื้นที่ทางศาสนา) นิตเซ่มองว่า ปัจเจกคือผู้ที่สร้าง ตรวจสอบ เปรียบเทียบ วิจารณ์และเชื่อมประสานสิ่งที่แตกต่างระหว่างเหตุผลและศีลธรรม

นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตเชิงเรียกร้องใน สิทธิมนุษยชนสิทธิ์ทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องเสรีภาพกับการนับถือศาสนา รวมไปถึงการแสดงออกทางศาสนา ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันและต่อไปก็จะกลายเป็น สตรี-บวช” “บวช-กะเทยกลุ่มชายไม่แท้ที่พึงพอใจเพศสภาพต่างจากความเป็นเพศชาย กับคตินิยมของวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ ลูกผู้ชายต้องบวชทดแทนคุณบิดามารดามีทัศนะต่อไปว่าพื้นที่ของ กลุ่มเพศที่สามปรากฏเป็นข้อเท็จจริงตามหลักการและข้อบัญญัติทางวินัย อันเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานต่อการบวช จะถูกอธิบายหรือตีความอย่างไรเกี่ยวกับบุคคลกลุ่มนี้ และควรมีฐานข้อมูลเพื่อเป็นคำตอบกับกลุ่มชายเพศวิถีในช่วงเวลาต่อไปอย่างไร ? ในฐานะที่เป็นชาวพุทธด้วยกันจะต้องมีคำตอบกับทัศนะของอนาคตเช่นใด ? ต่อประเด็นวาทะกรรมของสังฆะที่มีเพศที่นอกเหนือจากเพศชายในสังคมไทย ? เพื่อมิให้เกิดกะเทยพิพาทเหมือนกรณีภิกษุณีพิพาทที่ปรากฏเป็น วิวาทะอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันและยังไม่มีคำตอบจากคณะสงฆ์กระแสหลักในเชิงท่าทีที่จะเป็นทางออกร่วมกันในฐานะผู้นับถือศาสนาพุทธร่วมกันอย่างที่หลายฝ่ายมุ่งมอง และคาดหวังให้เป็น

 

หมายเลขบันทึก: 238744เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท