บัณเฑาะก์ กะเทย เกย์ : ประเด็นปัญหาว่าด้วยการบวชในสังคมไทย


“กลุ่มเพศวิถี “ชาย” กับสิทธิ์ทางศาสนา”(1)

-เป็นบทความของ ท่านพุทฺธิสาโร (ปฏิบัติการทางสังคมของวิธีคิดเรื่องเพศในสังคมไทย) บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความของมหิดล

-เนื่องจากว่า มีประเด็นปัญหาดังที่บทความนี้ได้เคยกล่าวไว้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาตท่านเจ้าของบทความนี้ นำมาเผยแผ่ให้ได้อ่านกันอีกครั้ง

-ที่มา  http://www.sexualityconferencethailand.net/paper_3_10.pdf

 

บัณเฑาะก์  กะเทย เกย์  : ประเด็นปัญหาว่าด้วยการบวชในสังคมไทย

 

 

บทนำ

สังคมไทยปัจจุบัน มี พื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่มิใช่ชายและหญิงที่มีศัพท์เรียกว่าบัณเฑาะก์ กะเทย เกย์ ตุ๊ด แต๋วหรืออื่นใดที่มีลักษณะบ่งไปถึงชายเพศที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในทางสื่อ ทีวี นิตยสาร รวมไปถึงการแสดงออกในด้านต่าง เช่น การประกวดสาวประเภทสอง พฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นเป้าหมายแฝง หรือจะเป็นเพียงการล้อเลียนก็ตาม แต่ได้กลายเป็นว่าถูกยอมรับในสังคมวงกว้างขึ้นอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ถึงจะไม่สนิทสมยอมเสียทีเดียวก็ตาม ในส่วนมิติทางศาสนาซึ่งแต่เดิมเป็นที่เฉพาะเสมือนต้องห้ามของกลุ่มชายเพศวิถีมาอย่างยาวนาน แต่ได้เกิดประเด็นวิพากษ์ที่ว่าพระพุทธศาสนารับกลุ่มเพศที่สามบัณเฑาะก์ กะเทย ตุ๊ด แต๋ว เข้ามาบวชได้อย่างไร ? ทางสื่อชนิดต่างๆ จนกลายเป็นวิวาทะของสังคม เหตุการณ์ดังกล่าวในส่วนของกลุ่มเพศวิถีโต้แย้งด้วยสิทธิในฐานะเป็นสมาชิกในสังคม รวมไปถึงมีหน้าที่ในฐานะเป็นลูกที่จะพึงกระทำต่อบิดามารดา รวมไปถึงสิทธิ์ในการเข้าถึงธรรมะในแบบชาวพุทธ ถึงเหตุผลฟังดูอาจมีน้ำหนักแต่ก็บางเบาต่อการตอบรับหรือสนับสนุนจากองค์รวมได้

ประเด็นวิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มองไปที่ว่าพระพุทธศาสนารับคนกลุ่มนี้มาบวชได้อย่างไรรวมไปถึงความเหมาะสมตามบัญญัติ ผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา จนกระทั่งเลยไปถึงการมีเซ็กส์ ที่อิงแอบและไม่สามารถตรวจสอบได้ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นประเด็นถกเถียงกันในเชิงสังคมว่า สมควรหรือไม่อันเนื่องด้วยเหตุผลที่พระพุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะในการ รับบุคคลเข้ามาบวช ที่เรียกว่าบุคคลห้ามบวช  ตามบัญญัติเดิมที่ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วว่า ผู้ที่จะบวชต้องไม่ใช่บัณเฑาะก์หรืออุภโตพยัญชนะซึ่งอาจหมายรวมไปถึง เกย์ กะเทย ตุ๊ด แต๋ว ? ดังนั้นกรณีที่ชายไม่จริงเข้ามาบวชจนอยู่ในปัจจุบันจนเป็นชุมชนของพระนะย่ะที่มีให้เห็นอยู่อย่างดาษดื่นและปรากฏเป็นประเด็นวิพากษ์ จึงถูกตั้งคำถามและจะแสวงหากรอบและเกณฑ์ใดมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อหาคำตอบให้กับสังคมไทย จะได้มีข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานคิดในการเปรียบเทียบและ วางท่าทีอย่างมีหลัก ในแบบ ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง หรือเตรียมฐานข้อมูลเพื่อรองรับอนาคตว่า ถ้าเกิดประเด็นเหล่านี้อีก และเพิ่มมากขึ้น กรณีเปรียบเทียบกับกลุ่มสิทธิสตรีต่อการบวชเป็นภิกษุณีในไทย ต่อไปถ้าเกิดมีกลุ่มสิทธิชายเพศวิถี ต่อการบวชกันมากขึ้นบัณเฑาะก์-กะเทย-เกย์จะถูกตีความประการใด แนวทางของพระธรรมวินัยจะถูกตีความเพื่อรองรับอนาคตอย่างไร ? และหรือจะสนับสนุนสมยอมกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสการไหล่บ่าทางวัฒนธรรม เมื่อเทียบกับรูปแบบทางสังคมในสังคมตะวันตก จนเปลี่ยนไปเป็น อนุวัติตามบ้านเมือง หรือจะรักษารูปแบบเดิมไว้ โดยหาคำอธิบายเพิ่มว่าทำไมจึงมีการห้ามคนที่เป็นบัณเฑาะก์ กะเทย เกย์บวช เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่เป็นบัญญัติเดิมเหมาะควรดีแล้ว และหรือบัญญัติใดๆ สามารถปรับแก้ได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสมัยกาล

 

หมายเลขบันทึก: 238742เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มารับความรู้ค่ะ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ดูเหมือนจะหาทางออกยาก เพราะมาตรการการควบคุมหรือการจัดการยังไม่เข้มงวดเพียงพอ ขอบพระคุณค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

ได้ดูข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตอนแรกก็สงสัยค่ะ ... แต่เข้าใจแล้วค่ะ แล้วในกรณีที่บางกลุ่ม ซึ่งแสดงออกไม่ชัดเจนล่ะคะ ถือเป็น กลุ่ม บุคคลต้องห้าม บวช ด้วยหรือไม่คะ ... เพราะในทางปฏิบัติ ก็คงสามารถบวชได้ใช่ไหมคะ ตราบเท่าที่เขาเหล่านั้นไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น

เรียนถามด้วยความเคารพค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

หากท่านเหล่านั้นไม่มีพฤติกรรมประเจิดประเจ้อ ก็คงไม่มีข่าวออกมาให้เสื่อมเสียแบบนี้หรอกครับ ขอบคุณครับ

ได้ครับ ถ้าเป้าหมายคือการบรรลุธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท