ประเด็นการพัฒนาความรู้ของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองชุมพร


การมีส่วนร่วมของประชาชน

การมีส่วนร่วมของประชาชน

    เมื่อปี พ.ศ. 2536 ขณะที่ดำรงตำแหน่ง ปลัดอำเภอ (จพง.ปค.5) อำเภอสวีในปีนั้นทางจังหวัดชุมพร โดยนายประยูร พรหมพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีนโยบายในการพัฒนาหมู่บ้าน ตามโครงการ "หมู่บ้านชุมพรแจ่มใส" ขึ้นโดยมีตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆทั้งแนวอุดมการณ์ "หมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง"ประกอบ โดยให้ทุกตำบลในจังหวัดชุมพรจจจจจัดส่งหมู่บ้านเข้ารับการประกวด ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ในฐานะเป้นปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบตำบลทุ่งระยะ และตำบลนาสัก ได้เสนอหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการจำนวน 2หมู่บ้าน คือ บ้านคลองน้อย ม.5 ต.ทุ่งระยะ และ บ้านแก่งกระทั่ง ม.6 ต.นาสัก ในส่วนของตำบลอื่น ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล เป็นหัวหน้ารับผิดชอบการพัฒนาหมู่บ้านในความรับผิดชอบของตน ในการดำเนินการของแต่ละตำบล จะร่วมกันทำงานในชุด คณะปฏิบัติงานระดับตำบล (คปต)ซึ่งมีปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบลเป็นหัวหน้า และ มีทีมงานประกอบด้วย เกษตรตำบล/พัฒนากรตำบล/หัวหน้าสถานีอนามัยตำบล/กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และทีมผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่

    ในการเริ่มปฏิบัติงานครั้งแรก จะมีการประชุม คปต.เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และมอบหมายภาระกิจในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามตัวชี้วัดที่ทางจังหวัดกำหนดมา จากนั้นก็ประชุมราษฎรในหมู่บ้ารเป้าหมาย(ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ บ้านคลองน้อย ม.5 ต.ทุ่งระยะ) เพื่อทราบวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ วิธีดำเนินการ รวมทั้งขอความร่วมมือ ทั้งแรงกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ เพื่อพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู่อื่นและได้กำหนดคำขวัญประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นศูนย์รวมในการพัฒนาครั้งนี้ว่า "อยู่ไกลใช่ท้อถอย ชาวคลองน้องแร่งพัมนา อนุรักษ์นำดินป่า อย่ารอช้าพึ่งพาตนเอง" ซึ่งคำขวัญดังกล่าวได้รับการอนุเคราะห์จาก อาจารย์โกวิท บุญสิทธิ์ อาจารย์โรงเรียนบ้านห้วยชัน เขียนติดไว้เหนือประตูทางเข้าหมู่บ้าน

      จากนั้นก็มีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นคุ้มบ้าน เพื่อความสะดวกในการพัฒนา ได้จำนงวน 8 คุ้มบ้าน ประกอบด้วย

    1.คุ้มในแหลม          5.คุ้มภูเขาทอง

2.คุ้มรานทาน           6.คุ้มท่าแพ

   3.คุ้มห้วยชัน            7.คุ้มหลังโง้ง

          4.คุ้มทะเลลม           8. คุ้มน้ำลอดน้อย

   ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบถึงลักษณะทั่วไปของบ้านคลองน้อย ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ประชากรประมาณ 400 หลังคาเรือน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 1,000 กว่าคน พื้นที่ จำนวนครัวเรือน และประชากร มากกว่า ต.ปากแพรก อ.สวี ทั้งตำบล ปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้านออกอีก 2 หมู้บ้าน เป็น ม.9 และ ม.10 ต.ทุ่งระยะ

         เมื่อมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นคุ้มบ้านแล้ว ให้แต่ละคุ้มบ้านเลือกคณะกรรมการคุ้มบ้าน เพื่อวางแนวทางการบริหารคุ้มบ้านตามตัวชีวัด รวมทั้งวางกฎเกณฑ์ใช้บังคับสำหรับแตละคุ้มบ้าน โดยไม่ให้ขัดต่อระเบียบ กฎหมาย ให้มรการประชุมราชฎรในคุ้มบ้านเป็นประจำทุกเดือน โดยนำข้อราชการที่กรรมการคุ้มบ้าน ไดรับทราบจากการประชุมของหมู่บ้านประจำดือนมาชีแจง และที่สำคัญจะต้องมีที่ทำการของคุ้มบ้านทุกคุ้ม

         ในการก่อสร้างที่ทำการคุ้มบ้าน ราษฎณในหมู่บ้านทุกคนมีส่วนร่วมทั้งสละเงินในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการสละแรงกายในการก่อสร้าง ในส่วนของ คปต ก็ร่วมกันสละเงินเพื่อนำมาเป็นรางวัลในการประกวดคุ้มบ้าน และ ที่สคัญคือ คปต.ทุกคนได้รับมอบหมายในการดูแลพัฒนาแต่ละคุ้มบ้านให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องในทิศทางเดียวกัน โดยอยู่ร่วมกันเป็ฯกำลังใจตลอดเวลาที่ราษฎรมีการพัฒนาและในแต่ละเดือนมีการพัฒนาร่วมกันของหมู่บ้าน เช่นการซ่อมแซมถนนในหมู่บ้าน(ขณะนั้นเป็นถนนดินแดงและถนนลูกรังบางล่วน) โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่มี คือ จอบ เสียม และพร้า ในส่วนของบ้านเรือนแตละหลังก็ต้องปรับปรุง ให้ดูแลเรียบร้อยสวยงาม มีป้ายเลขที่บ้าน ชื่อเจ้าของบ้านทุกหลัง โดยทางครู อาจารย์ในสถานศึกษาในพื้นที่(ร.ร.บ้านคลองน้อย และ ร.รบ้านน้ำลอดน้อย) และ ใกล้เคียงคือ ร.ร.บ้านห้วยชัน ม.8 ตำบลทุ่งระยะ จนเมื่อการพัฒนาผ่านไปหนึ่ง ทางอำเภอได้แต่งตั้งคณะกรรมการมาคัดเลือก เพื่อเป็นตัวแทนของอำเภอ เข้ารับการประกวดระดับจังหวัด ปรากฎว่าบ้านคลองน้อยได้รับเลือกเป็นอันดับ 3 ซึ่งทาง คปต และชาวบ้านต่างก็มิได้ท้อถอย เร่งพัฒนาต่อไป โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนเมื่อคณะกรรมการระดับจังหวัดเข้าตรวจ กรากฎว่าในปีนั้น บ้านคลองน้อย ได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นหมู่บ้านชุมพรแจ่มใสของจังหวัด ได้รับรางวัล 200,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้านเห็นชอบ ให้นำมาสร้างศาลาหมู่บ้านหลังปัจจุบัน แลได้รับรางวัลเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ บริเวณคุ้มภูเขาทอง ระยะทางประมาณ 1กิโลเมตร งบประมาณ 1,000,000 บาท

           การพัฒนาไม่หยุดแค่นี้ หลังจากนั้นได้มีการส่งหมู่บ้านเข้าประกวดหมู่บ้านพัฒนาระดับเขต ได้รับรางวัลชนะเลิศ

           ประกวดหมู่บ้าน อ.พ.ป. ระดับภาค ได้รับรางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 600,000 บาท ซึ่ง พล.ท ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้นำมอบให้ที่ศาลาหมู่บ้าน ซึ่งได้นำมาซื้อปุ๋ยให้ราษฎรได้ยืมหมุนเวียน

            สถานีอนามัยบ้านคลองน้อย ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ หัวหน้าสถานีอนามัย (นางเดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น) ได้ไปศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อาสาสมัดสาธารณสุขดีเด่น (นายสนิท งามจัตุรัส)ได้ไปศึกษษดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย

            นายมณี ทองแท้ ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.ทุ่งระยะ ได้รับรางวัลแหนบทองคำ

           ขอเรียนเพิ่มเติมว่า บ้านคลองน้อย ในปี 2536 ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อนึ่งความสำเร็จในยการพัฒนาครั้งนั้นไม่อาจพูดได้ว่าเป็นความสำเร็จของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็นความสำเร็จของการประสานงาน การมีความจริงใจที่จะปฏิบัติงานร่วมกัน โดยยึดผลประโยชน์ของราชฎร และ หมู่บ้านเป็นหลัก ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานหลายคนไม่ได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน เพราะการทำงานครั้งนี้ แต่เป็นที่น่าภูมิใจ คือชื่อของทุกคนยังอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านมาจนถึงปัจจุบัน

รายชื่อผู้ที่ร่วมปฏบัติงานในครั้งนั้น

    1. ร.ตโสภณ ภู่ขันเงิน ตำแหน่ง ปลัดอำเภอปัจจุบัน อำเภอเมือง

    2. นายสฤษดิ์พร ขาวชู  ตำแหน่ง เกษตรตำบล

    3. นายไพโรจน์ (จำนามสกุลไม่ได้) ตำแหน่ง พัฒนากรจังหวัด

    4. นางเดือนเพ็ญ เคียนบุ้น หัวหน้าสถานีอนามัยคลองน้อย

    5. นางสาวนุเนตตา เชื้อจีน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยคลองน้อย

    6. นายสมศักดิ์ (จำนามสกุลไม่ได้) ตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยคลองน้อย

    7. นายโกวิทย์ บุญสิทธิ์ อาจารโรงเรียนบ้านห้วยชัน

    8. นายทวี ผลพฤกษา กำนัน ตำบลทุ่งระยะ

    9. นายมณี ทองแท้  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5

   10. นายภิรมย์ เกษสถิตย์ กำนัน ตำบลทุ่งระยะ 

   11. คณะครู/อาจารย์ ร.ร.บ้านคลองน้อย/บ้านนำลอด/บ้านห้วยชัน

   12. ราษฎร ม.5 ต.ทุ่งระยะ ทุกคน

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2384เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2005 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท