การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๑)_๒


การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๒๑)_๒


5. พื้นที่ดำเนินการ และชาวนาเป้าหมาย
             5.1  พื้นที่เป้าหมายหลัก  อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี  5  อำเภอ  5  ตำบล  12  หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้

จังหวัด
อำเภอ
ตำบล
หมู่บ้าน
สุพรรณบุรี
เมือง
บ้านโพธิ์
โพธิ์ตะวันออก
โพธิ์ตะวันตก
ลุ่มบัว
ศรีประจันต์
วังหว้า
วัดเกาะ
บางปลาม้า
วัดดาว
สังโฆ                  
อู่ทอง
บ้านดอน
ยางลาว
บ้านดอน
ตากแดด
ยางไทย
ยางดอนไฮ
บ้านบ่อ
ดอนเจดีย์
ไร่รถ
หนองแจง
รวม
5
5
12
             5.2  กลุ่มเป้าหมายหลัก  เป็นชาวนาในพื้นที่เป้าหมายหลัก  โดยชาวนาดังกล่าวจะเข้าร่วมโครงการตามความสมัครใจ  และร่วมกิจกรรมกับโครงการตามกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม  (Participatory  Technology  Development – PTD)  ไปสู่การเป็นวิทยากรชาวบ้าน  และเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากและเรียนรู้จริงอย่างต่อเนื่องโดยใช้โรงเรียนชาวนา  (Farmer  Field  School – FFS)  ดังนี้
                   5.2.1  กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม  (PTD)  การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเดิม และพันธุ์ข้าวใหม่ที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่พร้อมจะนำไปใช้ในโรงเรียนชาวนาและขยายผลสู่สาธารณะ
PTD / เรื่อง
ชาวนาร่วมศึกษา
แบ่งรายพื้นที่ 4 พื้นที่
ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเดิมให้หมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
20
5 (ราย)
พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
20
5 (ราย)
รวม
40
 
                   5.2.2 โรงเรียนชาวนา  Farmer  Field  School  (FFS)
FFS / หลักสูตร
ชาวนาเป้าหมาย
แบ่งรายพื้นที่ 4 พื้นที่
1.  การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี
200
             50
2.  ปรับปรุงบำรุงดินโดยไม่ใช้
     สารเคมี
200
             50
3.  การปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวให้
     เหมาะสมกับระบบเกษตร 
     กรรมยั่งยืน
150
            
           50  (3  พื้นที่)
  หมายเหตุ    ชาวนาทั้งหมด  200  ราย  จะต้องอบรมตามขั้นตอนทั้ง  3  หลักสูตร  
                   ยกเว้น บ้านหนองแจง  เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี  และมีพันธุ์ข้าว
                   พื้นเมืองไว้แล้ว  จึงไม่ได้รับการอบรมหลักสูตรการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าว
                                        ที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
                   5.2.3  กลุ่มเป้าหมายรอง  ได้แก่  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก  และเครือข่ายพัฒนาพันธุ์ข้าวทั่วประเทศไทย  ดังนี้
พื้นที่เป้าหมาย
ชื่อกลุ่ม
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
จำนวน
เครือข่ายพัฒนาพันธุ์ข้าวอื่นๆ
จำนวน
ภาคเหนือ
·       เชียงใหม่
·       เชียงราย
·       พะเยาว์
·       น่าน 
·       ลำพูน
50
·       ฮักเมืองน่าน
·       แมคเคน
20
ภาคอีสาน
·       เพชรบูรณ์
·       ร้อยเอ็ด
·       กาฬสินธุ์
·       มหาสารคาม
·       สุรินทร์
·       ยโสธร
·       ภูพาน
·       ขอนแก่นใต้ – โคราชเหนือ
·        ทุ่งกุลา
90
·       มูลนิธิสายใยสุขภาพ
        (นครพนม  มุกดาหาร)
·       กลุ่มอโศก  (ศรีษะเกษ
       ขอนแก่น  อุบลราชธานี
       นครราชสีมา)
·       เครือข่ายครูบาสุทธินันท์
·       เครือข่ายค้ำคูณ
40
ภาคกลาง
·       สุพรรณบุรี
·       อยุธยา
·       กาญจนบุรี
·        ฉะเชิงเทรา
40
·       พนาผล  (ชัยนาท)
·       อโศก (นครสวรรค์
       สิงห์บุรี  นครปฐม)
·       ปทุมธานี
·       หนองจอก
·       พิจิตร
·       อุทัยธานี
·       กาญจนบุรี
·       เพชรบุรี
·       สุพรรณบุรี
90
พื้นที่เป้าหมาย
ชื่อกลุ่ม
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
จำนวน
เครือข่ายพัฒนาพันธุ์ข้าวอื่นๆ
จำนวน
ภาคใต้
·       พัทลุง
·       สงขลา
·       นครศรีธรรมราช
·       สุราษฎร์ธานี
40
   
รวม
22
220
15
150
6.  การติดตามประเมินผลโครงการ
             6.1  การติดตามโครงการ  โดยการมีเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่  และดูแลกิจกรรมเฉพาะในแต่ละประเด็นเนื้อหา  ทั้งนี้  เพื่อให้การติดตามการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด โดยเฉพาะการทำการทดลองในไร่นา  ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการศึกษาเรียนรู้แบบ PTD  และ FFS  จะต้องมีการตรวจสอบ  บันทึกข้อมูล  และสรุปบทเรียนในพื้นที่อย่างน้อยเดือนละ  1  ครั้งต่อพื้นที่  และสรุปบทเรียนร่วมกับเครือข่ายภาค  6  เดือนต่อครั้ง  และสรุปบทเรียนใหญ่ร่วมกันเมื่อสิ้นปีงบประมาณของแต่ละปี
             6.2  การประเมินผลโครงการ การประเมินผลโครงการจะมีการประเมินผลทุกปี  โดยแต่ละปีจะมีการประเมินผลระหว่างปี  ดังนี้
                   6.2.1  ประเมินผลระหว่างโครงการเป็นช่วงทุก  6  เดือน  ของการดำเนินโครงการเพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่ และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการทำงานตามแผนใน  6  เดือนหลัง
                   6.2.2  ประเมินผลเมื่อสิ้นปีงบประมาณ  โดยประเมินความสำเร็จของโครงการตามแผนงาน  และตัวชี้วัดของโครงการที่วางไว้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการดำเนินงาน
                   6.2.3  คณะผู้ประเมินโครงการ  จะประกอบด้วยนักวิชาการ  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  ชาวนา  องค์กรเครือข่ายภาคกลาง  และมูลนิธิข้าวขวัญ  ร่วมประเมินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการทำงาน
                   6.2.4  การส่งรายงาน คณะผู้ประเมินจะจัดทำรายงานความก้าวหน้าให้เมื่อครบ  6  เดือนของการทำงาน  และทุกๆสิ้นปีงบประมาณ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอนรวมเป็น  2  ฉบับต่อไป
7.  รายงานการเงิน
             โครงการจะรายงานการเงินเมื่อครบ  6  เดือน  และจะจัดส่งรายงานการเงินฉบับผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อสิ้นปีงบประมาณ  เพื่อให้เกิดความโปร่งใสชัดเจนในการใช้งบประมาณ
8. องค์ภาคี
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
บทบาทและการมีส่วนร่วม
1.  มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
2.  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
3.  เกษตรกร
4.  องค์การบริหารส่วนตำบลไร่รถ
     บ้านดอน  บ้านโพธิ์  และวัดดาว
5.  สื่อมวลชน
6.  เครือข่ายอื่นๆ
1.  เป็นวิทยากร  แนวทางและองค์ความรู้ทางการเกษตร
     ยั่งยืน  นโยบายเกษตรยั่งยืน
2.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้  เทคนิคเกษตรยั่งยืน
     สนับสนุนปราชญ์ชาวบ้าน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และ
     ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเกษตร  ในระดับภาคต่างๆ
     ระดับประเทศ  นำข้อมูลสู่ระดับนโยบาย
3.  มีส่วนร่วมทั้งกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ
     มีส่วนร่วม  และกระบวนการเรียนรู้แบบโรงเรียน
     ชาวนา  วิทยากรชาวบ้าน  นำเสนอผลการปฏิบัติสู่ระดับ
     นโยบาย
4.  ศึกษากระบวนการทำงานร่วมกัน,เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     งบประมาณพัฒนาระบบเกษตรของตำบล บุคลากร
5.  เข้าร่วมในกระบวนการสำคัญๆ  ตลอดโครงการ 
     เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการจัดการความรู้  และการพึ่งพา
     ตนเองของชาวบ้าน
6.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กระบวนการจัดการความรู้  แนวงาน
     และการขับเคลื่อนงาน

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
             9.1  ชาวนามีศักยภาพในการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าวได้ด้วยตนเองทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายได้อย่างน้อยในจังหวัดสุพรรณบุรี  5  อำเภอ  12  หมู่บ้าน  และเครือข่ายทั่วประเทศ
             9.2  ชาวนาได้รับองค์ความรู้และเทคโนโลยีและสามารถจัดการความรู้ได้เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างน้อยในด้านพันธุ์ข้าว  การปรับปรุงบำรุงดิน  และการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  (KKF  observe  &  find  evidence)
             9.3  ชาวนาอย่างน้อย  20  คน  ใน  2  ปี  เป็นนักจัดการความรู้ที่เหมาะสม  และเป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้และเป็นแหล่งดูงานด้านเกษตรยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาพได้ให้กับสาธารณะ
             9.4  สามารถขยายผลในการเรียนรู้เชิงลึกให้ชาวนาเป้าหมายผ่านกระบวนการ  FFS.  อย่างน้อย  200  ราย  ในเวลา  2  ปี  และขยายผ่านเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกทั้ง  4  ภาคอย่างน้อย  400  ราย
             9.5  เกิดชุมชนชาวนาสามารถถอดบทเรียนร่วมกันในระดับเครือข่ายร่วมกันแก้ไขวางแผนการพัฒนาพันธุ์ข้าวได้อย่างต่อเนื่องให้เห็นเป็นรูปธรรม  และนำเสนอผลักดันผลการดำเนินงานที่พิสูจน์ผลแล้วในระดับนโยบายด้านเกษตรกรรมยั่งยืนที่เอื้อต่อสุขภาพให้เกิดผลจริงในระดับชาติ
10.  ความยั่งยืนของโครงการ
             10.1  ชาวนาสามารถเป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นแหล่งศึกษาดูงานได้ให้กับสาธารณะและชาวนาที่สนใจทั่วไป
             10.2  มีองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรที่ยั่งยืน  มีกระบวนการเรียนรู้แบบ  FFS.  ซึ่งหน่วยงานของรัฐ สถานศึกษา เอกชน  ชุมชนที่ใกล้เคียงสามารถนำองค์ความรู้  และกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้ได้ หรืออาจมีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆได้
             10.3  มีการรณรงค์ เผยแพร่ ผ่านสื่อต่างๆ  ได้แก่  สื่อมวลชน  หนังสือ  วีดีทัศน์  นิทรรศการ งานมหกรรม เกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตร  ผลกระทบ  พิษภัย  และการทำการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค  และระดับชาติ อย่างต่อเนื่อง
             10.4  ชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้ สามารถพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช ปรับปรุงบำรุงดิน  และการพัฒนาพันธุ์ข้าว ด้วยตนเอง  ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทำให้เกิดสุขภาวะทั้งในระดับครอบครัว ขยายสู่ระดับชุมชน  ระดับเครือข่าย  และระดับชาติ
11.  ระยะเวลาโครงการ
             ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ  2  ปี  ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2547 – วันที่  31  มีนาคม  2549
12.  ผลงานนำส่ง
             12.1  รายงานผลสัมฤทธิ์ของงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยได้ตัวต้นแบบ  (Model)  การจัดการความรู้ในบริบทของภาคเกษตร  มีการรวบรวมแหล่งเรียนรู้ตัวองค์ความรู้ เพื่อให้เข้าถึง หรือเชื่อมโยงแหล่งความรู้ได้ด้วยตนเอง
             12.2  คู่มือหลักสูตรการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  การปรับปรุงบำรุงดิน  การพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างละ  1,000  เล่ม
             12.3  คู่มือการจัดการความรู้  เรื่องพัฒนาพันธุ์ข้าวของชาวนา  จำนวน  1,000  เล่ม
             12.4  คู่มือการจัดการความรู้  เรื่องพัฒนาพันธุ์ข้าวของผู้อำนวยการเกิดกระบวนการ  จำนวน  1,000  เล่ม
             12.5  วีดีทัศน์  เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  การปรับปรุงบำรุงดิน  การพัฒนาพันธุ์ข้าว รวม  3  เรื่อง
             12.6  นิทรรศการเคลื่อนที่  การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  การปรับปรุงบำรุงดิน  การพัฒนาพันธุ์ข้าว  รวม  3  เรื่อง
             12.7  ทำเนียบแหล่งเรียนรู้
             12.8  ทำเนียบเครือข่ายชาวนา


           โปรดสังเกตนะครับ ว่าเราตั้งต้นจากชาวนา ๒๐๐ คน     เมื่อครบ ๒ ปี เราหวังได้เพียง ๒๐ คน ที่จะกลายเป็น “คุณอำนวย” สร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มของตนเองอย่างต่อเนื่องยั่งยืน    และขยายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกไปยังพื้นที่อื่นด้วย     สคส. และพันธมิตร คือสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ชุมชน (คุณทรงพล เจตนาวณิชย์) กำลังหาทางร่วมมือกับ อบต. ในการสร้าง “คุณอำนวย” ขึ้นในท้องถิ่น     ให้เป็นคนที่มี อบต. เป็นผู้ว่าจ้าง ให้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการรวมกลุ่มกันเรียนรู้ของชาวบ้าน


วิจารณ์ พานิช
๕ มิ.ย. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2377เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2005 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท