การทำ KM ในองค์กร ต้องมีการจัดการ
ต้องมีทีมบริการจัดการ KM ทั้งส่วนที่เป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ
ให้เหมาะต่อสถานการณ์ขององค์กร
และมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
8. รายงานต่อ ซีอีโอ ให้ทราบความคืบหน้า/ความท้าทายของ KM และเสนอแนะแนว
ทางทำให้ KM รับใช้งานประจำได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งรับคำแนะนำจาก ซีอีโอ มาดำเนิน
การ
9. จัดให้มีการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ ของการทำ KM ทุกปี
วิจารณ์ พานิช
๑๓ เมย. ๔๙
ทำอย่างไรให้ CKO และคุณ อำนวย เอาจริงเอาจังแล้วพาคุณกิจทำ สถานการณ์ในบางที่คือ ผู้ใหญ่ไม่เอาจริงเท่าที่ควรมันก็เกิดยากค่ะ ในขณะที่คุณกิจมีไฟ แต่ขาดเป้าหมาย ชี้แนวทาง ขาดครู ขาดพี่เลี้ยง ที่กัดไม่ปล่อย คอยให้กำลังใจ คุณกิจก่อชุมชนของตนเองขึ้นมากก็ยากที่จะ IMPACT และยากต่อการขยายผล
การจัดการความรู้ เป็นอีกหนึ่งในความคิดสร้างสรรค์ทางด้านการศึกษา เพราะเพิ่งจะมีคนพูดถึงเรื่องนี้มาไม่นานนัก ขอบคุณมหาวิทยาลัยสุทัยธรรมาธิราชที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักคำคำนี้ และได้รู้เกี่ยวกับ KM มากยิ่งขึ้น ได้มีโอกาสศึกษาความหมายของ KM จากหลายแหล่ง พอจะสรุปได้ว่า การจัดการความรู้ หมายถึง เป็นกระบวนการ หรือการบริหารจัดการความรู้โดยผู้ที่ต้องการใช้ความรู้ เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ต้องการและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
ในการจัดการเรียนการสอนหากผู้เรียนรู้วิธีที่จะได้มาซึ่งความรู้ และเมื่อได้ความรู้มาแล้วสามารถจัดการความรู้นั้นๆ ให้เป็นระบบ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนาต่อยอดจากความรู้เดิมก็ย่อมทำให้การแสวงหาความรู้ได้รับความรู้ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง ครูทุกคนต้องฝึกให้นักเรียนจัดการความรู้ของตนเองเป็นเพื่อที่เขาจะได้รับความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำความรู้ไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วย
การจัดการความรู้ ถ้อยคำในมิติใหม่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานทางการศึกษา โรงเรียน เนื่องจากเป็นหน่วยงานซึ่งมีลักษณะการทำงานภายใต้บุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นการจัดการเพื่อให้ทันต่อกระแสการพัฒนาทางเทคโนโลยีและความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานต่างๆ โดยการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนางาน พัฒนาความรู้ และพัฒนาคนในหน่วยงานให้มีความร่วมมือกัน โดยนำชุมชน เทคโนโลยี มาใช้ในระบบการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราที่ 4 ที่ว่า "การศึกษาหมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลในสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสรางองค์กร การสร้างความรู้อันเกิดจากการจัดสภาวะแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต" โดยวิธีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. ส่งเสริมการพัฒนาในยุคเศรฐกิจฐานความรู้ องค์กรทางการศึกษาจึงต้องพัฒนาความรู้
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล การจัดการความรู้เกิดขึ้นจากคน และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน โดยมีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบการมีปฎิสัมพันธ์จึงเป็นจุดเน้นของการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน
3. การพัฒนาทุนทางปัญญา คือความรู้ความสามารถของผู้สอนและผู้เรียนสามารถนำมาใช้พัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าได้
4. พัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้องค์กรทุกองค์กรเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา ท้งสถานศึกษาและชุมชน
5. การเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจทั้งการวางแผน ปฏิบัติการ การตัดสินใจของบุคลากรทุกคนตั้งแต่ผู้บริหาร ครู บุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครอง จะช่วยให้การตัดสินใจเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นไปในทิศทางดียวกันมากยิ่งขึ้น
ประโยคเด็ด "วันนี้ท่านทั้งหลายได้นำการจัดการความรู้มาสู่การพัฒนาองค์กรของท่านแล้วหรือยัง"
การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลและสังคมสาระสนเทศ เพราะปัจจุบันโลกอยู่ในยุคที่เรียกว่าสังคมสารสนเทศ การเรียนการสอนยุคใหม่ต้องใช้แหล่งเรียนรู้มากมายซึ่งมีสองแหล่งใหญ่ๆ คือ
1. อยู่ในตัวตนของบุคลากรที่อยู่ในวงการต่างๆ
2. ความรู้จากภายนอก เช่น ตำรา เอกสาร และแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ค้นคว้าได้ โดยนำเอาทฤษฎีมาสรุปเป็นความรู้ที่เลือกใช้เพื่อแก้ปัญหา เมื่อมีกระบวนการจัดหาความรู้ก็ต้องมีกระบวนการจัดการความรู้เหล่านั้นด้วยโดยใช้กรับวนการที่เรียนว่า SECI
S - Socialization คือ การที่ผู้คนมาพบปะกันแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน
E- External คือ การค้นคว้าความรู้จากภายนอก
C- Combination คือ การผสมผสานความรู้จากกรณีที่หนึ่ง คือความรู้ภายนอกกับความรู้ภายใน
I-Internal คือ เกิดเป็นความรู้ใหม่
จะเห็นได้ว่าความสำคัญอยู่ที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซ่งกันและกัน ผู้ให้ความรู้ต้องให้ด้วยความจริงใจในขณะที่ผู้รับความรู้ต้องเปิดใจกว้างด้วย สิ่งนี้กระทำได้โดยจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ มีศูนย์ของข้อมูลและการจัดระบบหรือมีศูนย์การเรียนรู้สารสนเทศ
การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่องค์กรควรจัดให้มีขึ้นโดยเฉพาะในสถานศึกษาเพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง