บันทึกการเดินทาง "จากอีสานสู่ใต้"(2)


ใจอยากทำ นำเป้าหมาย นายเอื้อหนุน

    การประชุมเสวนาสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6 หรือ UKM 2/2549 เมื่อวันที่ 7-8 เมษายน 2549 มีกำหนดการดังนี้
     วันที่ 7 เมษายน 2549  
            ภาคเช้าเป็นการเปิดการเสวนา และการนำเสนอ CoP ของแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
            ภาคบ่ายเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เจ้าภาพ
     วันที่ 8 เมษายน 2549
            ภาคเช้าเป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเรื่อง
                1. ทำอย่างไรให้เกิด CoP
                2. ทำอย่างไรให้ CoP ยั่งยืน
            ซึ่งได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มคุณเอื้อ 3 กลุ่ม กลุ่มคุณกิจ 4 กลุ่ม
สำหรับตัวเองได้เข้าร่วมในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มของคุณกิจ และได้พูดคุยในประเด็น"ทำอย่างไรให้CoPยั่งยืน"โดยมีคุณติ๋ม แห่ง มอ.ให้เกียรติเป็นคุณอำนวยของกลุ่ม โดยคุณอำนวยจะเปิดประเด็นให้สมาชิกในกลุ่มเสนอความคิดเห็นและคอยดึงไม่ให้สมาชิกออกนอกประเด็น
            กระบวนการกลุ่ม : - ให้แต่ละคนแนะนำตัวเองก่อน
                                    - เลือกประธานของกลุ่ม
                                    - นำประเด็นที่แต่ละคนสนใจจากการนำเสนอเมื่อวานนี้มาเสนอในกลุ่มแล้วให้กลุ่มเลือกประเด็นที่สนใจร่วมกันซึงทำให้ได้ประเด็นของกลุ่มคือการที่จะทำให้ชุมชนยั่งยืนได้นั้นจะประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 อันดับแรกคือ

  1. ใจอยากทำ/สร้างศัทธาให้เกิดกับคนในกลุ่ม
         การที่ชุมชนจะเกิดหรือยั่งยืนได้นั้นสมาชิกที่อยู่ในชุมชนจะต้องมีความต้องการในการอยากทำและต้องการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและองค์กรเสียก่อน โดยสมาชิกควรมีความเอื้ออาทร มีความจริงใจที่จะพัฒนาตนพัฒนางานและมีความเสมอต้นเสมอปลาย โดยในระยะแรกควรมีชุมชนตัวอย่างที่เป็นแกนกลาง หรืออาจจะมีรางวัลเป็นสิ่งจูงใจ
  2. มีเป้าหมายของกลุ่มที่ชัดเจน
         การที่กลุ่มมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นการง่ายที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้ยั่งยืนและแข็งแรง โดยในการเกิดของกลุ่มแต่ละกลุ่มอาจจะมีเป้าหมายมาก่อนหรือยังไม่มีก็ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วทุกกลุ่มควรที่จะมีเป้าหมาย ซึ่งบางกลุ่มอาจจะรวมตัวกันเนื่องจากทำงานลักษณะเดียวกัน หรือบางกลุ่มอาจเกิดจากการที่เจอปัญหาอย่างเดียวกันและต้องการหาคำตอบของปัญหาร่วมกัน
  3. คุณเอื้อสนับสนุนให้เกิดกิจกรรม ให้เกิดความสัมพันธ์ในการกระตุ้นให้แสดงออกต่อเนื่อง
          คุณเอื้อควรที่จะมีมุมมองที่ดีและควรให้กำลังใจรวมถึงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ในบางครั้งก็ควรที่จะสร้างช่องทางให้เกิดการแสดงออกได้มากขึ้น ทั้งเวทีจริงและเวทีเสมือน ควรมีการพบปะกับสมาชิกในกลุ่มไม่ว่าจะทาง F2F,B2B

        ภาคบ่ายเป็นการนำสมาชิกที่เหลือที่ลงชื่อไว้ในการ"ตามรอยอารยธรรมสงขลาเมืองท่าสองทะเล" เที่ยวชมเมือง ซึ่งจะขอประมวลภาพให้ชมไว้ในโอกาสต่อไปนะค่ะ
              

 

หมายเลขบันทึก: 23770เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2006 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พอดีได้อยู่กลุ่มเดียวกัน ที่ตื่นตาตื่นใจสำหรับผม คือ คุณลิขิต ใช้โปรแกรม free mind map ในการบันทึก แบบ วินาที ต่อ วินาที แก้ไขกันเห็นแบบจะจะ

รู้สึกแปลกตาแปลกใจเหมือนกันค่ะ ทาง มมส.ของเราน่าจะ หามาใช้บ้างนะค่ะ เผื่อท่านอืนๆจะตื่นตาตื่นใจ บ้าง

มาเข้า รร. ด้วยคนครับ  แล้วจะรอชมภาพสวย ๆ ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท