ประวัติการเต้นรำจังหวะ ชา ชา ช่า


การเต้นรำจังหวะ ชา ชา ช่า

           เนื่องจากมีคนเคยถามถึงประวัติของการเต้นรำจังหวะ ชา ชา ช่า ซึ่ง พอมีคนถาม เราก็นึกขึ้นได้ว่า เราเป็นผู้นึงที่เคยได้ฝึกเต้นจังหวะนี้ แต่ไม่เคยที่จะสนใจ ให้ลึกซึ้ง ครั้งนี้ ก็เป็นโอกาสที่ดี ที่ได้มาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อีกเรื่องนึง งั้นก็เข้าเรื่องเลยละกัน

           ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบลาตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น  ชา ชา ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด  กล่าวคือเป็นจังหวะที่ได้รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็ม  ๆ ว่า แมมโบ้ ชา ชา ช่า  ต้นกำเนิดมาจากคิวบัน  การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย

            ต้นกำเนิดของ ชา ชา ช่า  เริ่มในปี ค.ศ.1950  ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง (SWING) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน  ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น  เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป  เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ (OFF BEAT) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่าแมมโบ้.  และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้  ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำ   แบบบอลรูมที่แบลคพูล  ประเทศอังกฤษ (International  Dance Congress in Blackpool)

         รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ  ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าวแล้วถอยกลับ 2 ก้าว  จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าวแล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่)  แมมโบ้ได้รับความนิยมทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป  ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลง  สำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าวและชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าวซึ่งเป็นรูปแบบของ ชา ชา ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก

            การเต้นรำจังหวะ ชา ชา ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2498  โดยชาวฟิลิปปินส์ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่  นักดนตรีของวง ซีซ่า  วาเลสโก  ได้นำลีลาการเต้น ชา ชา ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก)  มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย  ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย  จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้  การเต้น ชา ชา ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน  แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

สำหรับเมืองไทย จะทบทวนมาเขียนครั้งหน้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 237555เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • นี่แสดงว่า หมอเปิ้ล ต้องเต้น ชา ชา ช่า ได้เก่งแน่เลย
  • ต้องหาเวทีแสดงฝีมือหน่อยนะคะ

สวัสดีเช้าวันอาทิตย์จากเม็กซิโกค่ะ.....วันนี้ไม่ได้ไปยิม ปรกติตอนเช้าส่งลูกสาวที่โรงเรียนแล้วจะไปเต้นละตินค่ะ ที่นี่ไม่มีเต้นแอโรบิก เป็นเต้นละตินแทน ก็เลยชอบไปค่ะ แต่ก็ไปเต้นออกกำลังกายไปอย่างนั้นไม่เคยได้ศึกษาประวัติ....ขอบคุณค่ะที่เอามาฝาก

ขอบคุณหมอนนท์ที่เข้ามาอ่านนะค่ะ ช่วงนี้เครียดๆไม่ค่อยอยากเขียนเรื่องหนักๆ

ขอบคุณ พี่อักษร ที่เม้นท์มาแต่ไกลถึงเม็กซิโกค่ะ ถ้าไง อยากเห็นรูปค่ะ ส่งรูปมาให้ดูบ้างนะค่ะ

แวะมาทักครับ... เรียนหนักไหมครับ....

 แต่เพื่ออนาคต..สู้ๆๆ

ช่วงนี้เซ็งมากๆ งานเยอะ วุ่นวาย

นางฟ้าของผมก็หายไปเลย...มีคนคิดถึงนะ

ช่วงนี้งานบรรยายของผมก็โอนะครับ มีคนติดต่อเรื่อยๆ..

แต่เหงา...

ทางนั้นหากมีสาวสวยๆ นิสัยดีๆ ก็แนะนำผมบ้างนะ

( กลัวความโสดครับ )

อยากโทรไปหานะครับ แต่คิดว่านางฟ้าคงยุ่งมากๆ

ไว้เรียนจบ.. ผมจะโทรไปปรึกษา...( ผมทนรอได้ )

                                                     วินนี่

จะทำไงดีครูจะให้แสดงสอบอะทำไงดีเราไม่เก่งอยู่ด้วยแงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท