การเดินทางของวรรณกรรมอีสาน


จากอินเดียสู่ล้านนา จากล้านนามาล้านช้าง จากล้านช้างถึงอีสาน

 

    วรรณกรรมอีสาน  เป็นวรรณกรรมที่มีแนวคิดเนื้อหาเรื่องราวที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ 

1. เพื่อมุ่งสอนผู้คนในทางโลก  เรียกว่า "คดีโลก"  เป็นวรรณกรรมที่ประโลมให้โลกอยู่ได้อย่างร่มเย็น เช่น นิทานก้อม  ตำราต่าง ๆ  เป็นต้น

2. เพื่อมุ่งสอนทางธรรม  เรียกว่า "คดีธรรม"  เป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อความศรัทธาในลัทธินิยมของตนเอง  เช่น  วรรณกรรมชาดก  คาถาอาคม  เป็นต้น

 

   วรรณกรรมอีสานบางส่วนเป็นวรรณกรรมที่ตกทอดมาจากเผ่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิง  แต่ได้พัฒนาเรื่องราวให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นเท่านั้น   แต่โดยมากแล้ววรรณกรรมอีสานมักได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมล้านนา  ทั้งนี้เพราะมีอยู่ยุคสมัยหนึ่งที่กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านนาได้สละราชสมบัติแล้วนำพานักปราชญ์ราชบัณฑิตมาอยู่ที่ล้านช้าง  ดังนั้นวรรณกรรมอีสานจึงได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมล้านนาอย่างเห็นได้ชัด

คำสำคัญ (Tags): #วรรณกรรม
หมายเลขบันทึก: 237554เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท