dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ความเครียดของเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยกับความเครียด

ความเครียดเด็กปฐมวัย  :               พ่อแม่ ครู  รู้หรือไม่

 

 

 

 

 


               

พ่อแม่เครียดกับลูกตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยที่พ่อแม่และลูกไม่รู้เลยว่าความเครียดเริ่ม สะสมมาเป็นลำดับ  ตั้งแต่บ้านและครอบครัวของเด็ก  พ่อแม่ผู้ปกครองอยากให้ลูกอ่านคัดเขียนได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาล  เป็นความคิดสำหรับสังคมและครอบครัวไทยส่วนใหญ่ที่   คิดว่าเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้วจะต้องอ่านคัดเขียนได้ โดยลืมนึกถึงพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ลูกที่เข้าเรียนชั้นอนุบาลเพิ่งอายุ 3-4  ขวบ  สายตากับมือก็ทำงานยังไม่สัมพันธ์กัน  จึงทำให้จับดินสอ  ไม่มั่นคง  แต่พ่อแม่ก็พยายามที่จะให้ลูกเขียนได้อ่านได้ซึ่งมันเป็นภาระหนักสำหรับเด็ก  พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนเพื่อจะอ่านได้เขียนได้  กลับบ้านต้องมีการบ้านมาก ๆ เพื่อจะได้ไม่มีเวลาไป   เล่นซน  แถมเท่านั้นยังไม่พอ  พ่อแม่ของเด็ก  ในเมืองยังจัดตารางการเรียนนอกเวลาอย่าง   มากมายสารพัดให้ลูกอีกโดยไม่คำนึงถึงว่าลูก   จะเป็นอย่างไร ทำคล้ายกับว่าลูกมีชีวิตแต่ไม่มี จิตใจ  เป็นสภาพที่น่าสงสารเป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกที่มีพ่อแม่ที่คาดหวังเช่นนี้

ต่อจากนี้ผู้เขียนขอทบทวนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับเด็กปฐมวัยเมื่อจบหลักสูตรแล้วว่ามีอะไรบ้าง  ซึ่งจะขอกล่าวเพื่อ ทบทวนให้พวกเราได้ตระหนัก  และทำให้เกิดผลสำเร็จจริง ๆ แก่เด็กปฐมวัย  ครูปฐมวัยลองถามตัวเองว่าเมื่อเด็กเรียนจบหลักสูตรแล้วเด็กมีพัฒนาต่าง ๆ ดังนี้ไหม

            มาตรฐานที่ 1  เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี  คือ  มีน้ำหนัก  ส่วนสูง  และเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์  และรู้จักรักษา    สุขภาพอนามัยและความปลอดภัย

            มาตรฐานที่ 2  เด็กมีกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง  ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

            มาตรฐานที่ 3 เด็กมีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข

            มาตรฐานที่ 4 เด็กมีคุณธรรม  จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม

            มาตรฐานที่ 5  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี  เคลื่อนไหวและรักการออกกำลังกาย

            มาตรฐานที่ 6 เด็กช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย คือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

                มาตรฐานที่ 7  เด็กรักธรรมชาติ   สิ่งแวดล้อม   วัฒนธรรมและความเป็นไทย

            มาตรฐานที่ 8 เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์   ทรงเป็นประมุข

            มาตรฐานที่ 9 เด็กสามารถใช้ภาษา   สื่อสารได้เหมาะสมกับวัย  คือสนทนาโต้ตอบ   เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ อ่าน เขียนภาพและสัญลักษณ์ได้

            มาตรฐานที่10 เด็กมีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย  คือ  มีความคิด    รวบยอดในการเรียนรู้สิ่งต่าง  ๆ อันได้แก่ การจำแนกสิ่งของได้ตามสี  รูปทรง ขนาด  น้ำหนัก  เป็นต้น และแก้ปัญหาในการเล่นหรือทำ กิจกรรมต่าง ๆ

                มาตรฐานที่ 11 เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  คือ  ทำงานศิลปะ / แสดงท่าทางตาม   ความคิดของตนเองและเล่าเรื่องหรือนิทานตามความคิดของตนเอง

                มาตรฐานที่  12  เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ คือ สนใจเรียนรู้     สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  และแสวงหาคำตอบด้วยวิธีการที่      หลากหลาย

                ดังนั้นเมื่อครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ครบตามหลักสูตร  เด็กต้องมีพัฒนาการดังกล่าวข้างต้นอย่างเป็นองค์รวม  ถ้าผู้ปกครอง  พ่อแม่และครูมัวแต่ เร่งเรียนเขียนอ่านเป็นหลัก  เด็กจะขาดสิ่งที่เป็นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ซึ่งจะ    ปลูกฝังหรืออบรมเลี้ยงดูในช่วงอื่นไม่ได้แล้ว  อย่างเช่น  มาตรฐานที่  10  เด็กจะต้องมีความคิดรวบยอดในการเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ  หรือที่เรามักใช้คำภาษาอังกฤษว่า  concept  ไม่ว่าจะเป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ  ตามสี  รูปร่าง  น้ำหนัก  กว่าเด็กจะมีความคิดรวบยอดที่ว่านี้  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครองจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยเวลาตั้งแต่ระดับปฐมวัย   ถ้าเด็กเข้าใจ  concept  ที่เป็นพื้นฐานแล้ว  เมื่อไปเรียนในระดับ           ขั้นพื้นฐานเด็กจะมีความสามารถในการคิด     มีกระบวนการคิดที่หลากหลายทั้งแก้ปัญหาได้และ   มีจินตนาการ   ถ้ามัวทำแบบฝึกโยงเส้น  เขียนตามแบบ  ท่องแบบตาม ๆ กัน เด็กจะเกิด  concept  ไหม คงยากเด็กจะต้องเรียนรู้จากการ       ได้ปฏิบัติ  ได้สัมผัส  จับต้อง  ได้ดูสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นของจริง  ปัจจุบันนี้เด็กปฐมวัย  ดูแล้วค่อนข้างเครียดด้วยเหตุที่จะต้องทำตามความต้องการของผู้ใหญ่  ซึ่งขาดความรู้ด้านพัฒนาการ    ตามวัย  จึงขอฝากครูปฐมวัยได้ช่วยอธิบายผู้ใหญ่  ที่ไม่รู้ทั้งหลายได้เข้าใจ  และร่วมมือกันพัฒนาในแนวทางที่ ถูกต้องเพื่อเด็กและผู้ใหญ่จะได้ไม่เครียดต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 234921เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

*ดีใจจังค่ะที่ได้อ่านบทความนี้ซึ่งมีสาระที่ตรงกับสภาพปัจจุบันเป็นอย่างมาก อยากให้ข้อเสนอเหล่านี้มีผลทางปฏิบัติจริงๆ..

* ดิฉันเคยเลี้ยงหลานชายมากับมือแบบเต็มเวลามาแล้ว..เดี๋ยวนี้เป็นหนุ่มน้อยนิสัยดีมีความสุข รู้จักรับผิดชอบ พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้...เพราะใช้ยุทธวิธีแบบที่คุณเสนอนั่นแหละค่ะ..ไม่เร่งรัด..ให้โตตามธรรมชาติ..ที่สำคัญฟังเขามากๆกว่าที่เราจะไปสั่งเขา..อย่าเอาเป้าหมายของเราเป็นใหญ่..ชีวิตเป็นของเขาต้องให้เขาเลือกอย่างที่เขาถนัดและมีความสุข..

                      nongnarts

ถ้าเมืองไทยได้คนที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างคุณนงนาทแล้วเมืองไทยจะมีคนที่มีคุณภาพมากกว่าปัจจุบันนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปค่ะ

dararat97

นางสาวเสมอใจ บุตรอ่ำ

ถ้าดิฉันสอนเด็กอนุบาลจะใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และนำอุปกรณ์สร้างสรรค์ต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นชัก และอุปกรณ์ดนตรีหลากหลายมาใช้เป็นตัวช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีมากขึ้นดิฉันคิดว่าเด็กก็จะไม่เครียดและอยากที่จะเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท