เส้นทางเมี่ยง-ชา "ศรีนาป่าน-ตาแวน" ตอนที่ ๗


  • การตัดแต่งกิ่งเมี่ยง

                หลังจากที่ชาวบ้านศรีนาป่าน-ตาแวนได้ทดลองการแปรรูปชามาระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ทดลดงวิธีการตัดแต่งกิ่งเมี่ยง เพื่อให้สะดวกในการเก็บ เนื่องจากต้นเมี่ยงบางต้นจะสูงมาก นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มยอดชาให้มากขึ้น และทำให้ยอดชาอ้วนมีน้ำหนักมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการตัดแต่งกิ่งเมี่ยงนี้ ทำให้สามารถเก็บได้ทั้งยอดมาทำชา และใบมาทำเมี่ยงอมก็ได้

การตัดแต่งกิ่งเมี่ยงมี ๒ วิธีการ คือ

วิธีที่ ๑ การตัดหนัก (ตัดในช่วงปลาย พ.ย. – ธ.ค. เท่านั้น หลังจากนั้นประมาณ ๒ เดือนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้)

อุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งเมี่ยง

 

       เลื่อย

       กรรไกรขนาดใหญ่-ขนาดเล็ก

       มีดพร้า

       จอบ

  

วิธีการตัดหนัก

๑.     สังเกตลำต้นเมี่ยงก่อน หากลำต้นใดที่ติดเชื้อราหรือเน่า ให้ตัดใต้แผลเน่าลงมา ประมาณ ๑๐  เซนติเมตร หากต้นใดที่สมบูรณ์ ให้วัดความยาวตั้งแต่โคนต้นขึ้นไป ประมาณ ๗๐-๑๒๐ เซนติเมตร แล้วถึงตัด

๒.    ให้ใช้เลื่อยที่คมตัดเฉียง ๔๕ องศาเซลเซียล อย่าให้ลำต้นแตก หรือฉีก หากแผลฉีกขาดจะทำให้เน่า เมี่ยงจะแตกกิ่งใหม่ช้า อาจใช้เวลา ประมาณ ๒ เดือน แต่หากแผลที่ตัดดี ไม่มีฉีกขาด กิ่งเมี่ยงจะแตกกิ่งใหม่ได้รวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน โดยจะแตกกิ่งรอบใต้แผลที่ตัดลงมาประมาณ ๕ เซนติเมตร

๓.    หลังจากตัดเสร็จแล้วให้ตัดแต่งกิ่งรอบลำต้น เพื่อให้ดูสวยงาม เป็นทรงพุ่ม

  

 

<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt;">การตัดกิ่งที่ถูกวิธี</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt;">การตัดกิ่งไม่ถูกวิธี </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p>

วิธีที่ ๒ การตัดเบา (เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแบ่งพื้นที่ทั้งตัดหนัก และตัดเบา โดยตัดไปทีละขั้น เพื่อให้เก็บผลผลิตได้ต่อเนื่อง ซึ่งการตัดเบานี้สามารถเก็บผลผลิตได้ภายใน ๑ เดือน)

วิธีการตัดเบา

        เป็นการตัดแต่งกิ่งเมี่ยงเล็กๆ ที่อยู่โดยรอบเพื่อให้ต้นเมี่ยงออกยอดได้เร็วขึ้น

 

การดูแลรักษาต้นเมี่ยง

๑.     ดายหญ้ารอบลำต้น

                        เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัชพืช หรือเถาวัลย์ขึ้นพันตามต้นเมี่ยง ซึ่งจะทำให้ต้นเมี่ยงเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และอาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่จะเกิดกับต้นเมี่ยงอีกด้วย

 

 ๒. ขุดหลุมรอบลำต้นลึกประมาณ ๑๐-๑๕ ซ.ม.

                        เป็นการดักจับปุ๋ยธรรมชาติ ซึ่งมาจากใบไหม้ของต้นไม้ใหญ่ที่หล่นลงมาทับถมกันเป็นเวลานาน เวลาที่ฝนตกลงมาปุ๋ยเหล่านี้จะถูกพัดไหลลงมาตามพื้นที่ลาดเอียงลงมาหาหลุมที่ขุดรอบลำต้นเมี่ยงไว้ วิธีนี้ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องไปหาปุ๋ยมาใส่เอง

 ๒.    การตัดแต่งกิ่ง

                เป็นการตัดแต่งกิ่งเมี่ยงที่หัก กิ่งเน่า กิ่งที่เกิดการติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเมี่ยงติดเชื้อรา นอกจากนั้นยังทำให้ยอดเมี่ยงออกเยอะ มียอดที่อ้วน และน้ำหนักดี

  ๓.    การใส่ปุ๋ย ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ หรือปุ๋ยจากธรรมชาติเท่านั้น จะใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ แต่สำหรับชาวบ้านบางคนไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเลย หากมีสวนเมี่ยงอยู่ในป่าใหญ่ เนื่องจากอาศัยปุ๋ยธรรมชาติจากใบไม้แห้งที่หล่นมาทับถมกันนั่นเอง

ขอขอบพระคุณ : แกนนำศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลเรือง ทุกท่าน และทีมมูลนิธิฮักเมืองน่านทุกคน

หมายเลขบันทึก: 234126เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท