วิจัยที่เกี่ยวข้องสื่ออิเล็กทรอนิกส์


วิจัยในประเทศ และต่างประเทศ

วิจัยที่เกี่ยวข้อง

                 งานวิจัยในประเทศ

                บุปผา  มหาสรานนท์  (2542) ได้ศึกษา  การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  เรื่องยาเสพติด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 25 คน  จากกลุ่มโรงเรียนสุพรรณรัตน์  อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นพร้อมกับแบบประเมิน  ดำเนินการทดลองโดยแจกหนังสือให้นักเรียนแต่ละคนนำกลับไปอ่านที่บ้านเป็นเวลา 2 วัน จากนั้นจึงให้ทำการประเมิน  นำข้อมูลมาหาความถี่  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาสรุปได้ว่า  หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง  ทางแห่งแสงตะวัน มีคุณภาพ  สามารถนำไปใช้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย  เรื่องยาเสพติด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้

                ซึ่งสอดคล้องกับ  วชิราพร  สุวรรณศรวล  (2543)  ที่ได้ศึกษาการสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์เรื่อง  สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของสัตว์มีกระดูกสันหลัง  แหล่งที่อยู่อาศัย  การเคลื่อนที่  อาหาร  การหายใจ  การสืบพันธุ์  มีรูปเล่มขนาด 21 x 29 เซนติเมตร   จำนวน 25 หน้า  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฎเชียงใหม่  จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  หนังสือเสริมประสบการณ์  แบบประเมินคุณภาพ  และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์  โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพหนังสือ  และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์  นำมาวิเคราะห์ข้อมูล  หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหนังสือเสริมประสบการณ์เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับดี

ในขณะที่ บุษกร  มหาวงศ์  (2540)  ได้ศึกษาเกี่ยวกับ  การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 6 เรื่อง  ศิลปะการขับซอของจังหวัดน่าน  ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 56 โรงเรียนบ้านศรีนาม่าน  สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสันติสุข  จังหวัดน่าน  จำนวน 23 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  เรื่องศิลปะการขับซอของจังหวัดน่าน  โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย  ประวัติและความเป็นมา  เครื่องดนตรี  การพัฒนา  การปรับปรุงงานศิลปะและผลงานของศิลปินซอในจังหวัดน่าน  มีภาพถ่ายประกอบ  ซึ่งใช้ภาพถ่ายจากแหล่งข้อมูลโดยตรงประกอบและมีจำนวน 52 หน้า  ขนาดรูปเล่ม 15 x 21 เซนติเมตร  และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน  ผลการศึกษาพบว่า  ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม  และความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติมอยู่ในระดับดีและดีมาก

                สอดคล้องกับ  เสาวคนธ์  สีพญา  (2540)  ได้ศึกษา  การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม  เรื่อง  สำนวนไทย  นำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ในจังหวัดชลบุรี  ผลการศึกษาปรากฏว่า  ประสิทธิภาพของหนังสือ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ครูผู้สอน  และนักเรียนประเมินอยู่ในระดับดีและดีมาก  เหมาะสมที่จะใช้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มทักษะภาษาไทย

และยังมี  จันทกานต์  สิทธิราช  (2547)  ได้ศึกษาการสร้างนิทานภาพจากวรรณกรรมคร่าวซอ   เรื่อง นกกระจาบ  เพื่อใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบ  ในกิจกรรมการสอนเรื่อง  วรรณกรรมล้านนา  สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ( ป. 46 )  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนวรรณกรรมล้านนา  และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสือนิทาน  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ  ครูผู้สอนวรรณกรรมล้านนา  จำนวน 20 คน  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 50 คน  ผลการศึกษาสรุปได้ว่า  ครูผู้สอนวรรณกรรมล้านนามีความเห็นว่าหนังสือนิทานที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมดีมากและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อหนังสือนิทานที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดีมาก

งานวิจัยในต่างประเทศ

                                Vollam (1972)  ได้ศึกษาผลของภาพต่างสีที่มีต่อการเรียนรู้เนื้อหาจากภาพของนักเรียนระดับ 6 จำนวน 90 คน  โดยใช้ภาพขาวดำ ภาพสีธรรมชาติ  และภาพประดิษฐ์ ปรากฏว่า ผลการเรียนรู้เนื้อหาจากภาพสีให้ผลสูงสุด  รองลงมาเป็นภาพขาวดำ  ซึ่งให้ผลสูงกว่าภาพประดิษฐ์

                                Sloan (1972)  ได้ศึกษาความชอบแบบภาพของนักเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษาระดับ 2 และระดับ 5  แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในเมืองและนอกเมือง  โดยใช้ภาพ 4 แบบคือ ภาพถ่าย ภาพวาดเหมือนจริง  ภาพประดิษฐ์  และภาพการ์ตูน  โดยให้กลุ่มตัวอย่างเลือกภาพที่ชอบมากที่สุด  ผลการทดลองพบว่า  นักเรียนทั้งในเมืองและนอกเมืองชอบภาพถ่ายมากที่สุด  รองลงมาคือ  ภาพวาดเหมือนจริง  ภาพประดิษฐ์  และภาพการ์ตูน

                                Kieiyer (1975)  ได้ศึกษาผลของระดับสติปัญญาที่มีประสิทธิผลของอุปกรณ์การสอนประเภทภาพประกอบ  (illustration)  โดยใช้ภาพขาวดำและภาพสีประกอบการสอนเรื่องหัวใจดังนี้คือ  ภาพลายเส้นสีดำบนพื้นขาว  ภาพลายเส้นสีน้ำเงินบนพื้นชมพู  ภาพวาดแสดงรายละเอียดแรเงาขาวดำ  ภาพวาดแสดงรายละเอียดสีตามความเป็นจริง  หุ่นรูปหัวใจขาวดำ  หุ่นรูปหัวใจสี  ภาพถ่ายตามความเป็นจริงขาวดำ  ภาพถ่ายตามความเป็นจริงสีเหมือนจริง  ผลการทำวิจัยปรากฎว่า  ภาพสีทุกประเภทให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงสุด

 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                    งานวิจัยที่ได้ศึกษากับงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์

 สุจิตรา  กุลพันธ์  (2544)  ได้ค้นคว้าแบบอิสระเรื่องการสร้างบทเรียนไฮเปอร์บุ๊คสำหรับกระบวนวิชาคอมพิวเตอร์กับการศึกษาผลการศึกษาปรากฏว่าเรียนไฮเปอร์บุ๊คมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้และสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนสำหรับกระบวนวิชาคอมพิวเตอร์กับการศึกษาได้ผู้เรียนสามารถเรียนจากบทเรียนไฮเปอร์บุ๊คด้วยตนเองที่ไหนเมื่อไรก็ได้  อีกทั้งยังสามารถพิมพ์เนื้อหาได้เป็นอย่างดี

                นพดล  กำทอน  (2545)  ได้ค้นคว้าแบบอิสระเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิตสถาบันราชภัฎเชียงราย  ผลการศึกษาและวิจัยพบว่าการพัฒนาระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์สารสนเทศเพื่อชีวิตสถาบันราชภัฎเชียงราย  สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิตทำให้นักศึกษาสะดวกในการศึกษาทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ตลอดเวลาและผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบ

กฤษฎา    มณีเชษฐา (2550) ได้ศึกษาการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หนูอยากให้คนอื่นได้รับรู้เพื่อพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ผลการวิจัยพบว่า     หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด( 80/80)   โดย 80  ตัวแรกมีค่าร้อยละเฉลี่ยเท่ากับ  84.80 และ  80  หลังมีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ  88.80  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.1

                Bond  and  Nigel  (1994)  ได้ร่วมมือกับ ดร.ชาลส์ วิจัยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ได้  สาเหตุที่พวกเขาสนใจทำเรื่องที่เกิดจากเหตุผล 2  ประการ  คือ  มีความเชื่อว่าวิธีการที่ใช้ในการศึกษาอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด  และเชื่อว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีเสน่ห์  สมควรที่จะนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้  ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาโดยเริ่มจากวิชาว่าด้วยพฤติกรรมสัตว์  10  บท  ขั้นตอนแรกในการทำคือการเปลี่ยนสคริปต์และอัดเสียง  สิ่งสำคัญสำหรับการเขียนสคริปต์  คือ  ต้องมีการช่วยผู้เรียนในการสรุปบทเรียนและเตรียมตัวชี้ (Cue) ให้กับผู้เรียนสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ  ผู้เรียนต้องสามารถทำเครื่องหมายลงในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นได้ด้วย  ทรัพยากรที่ใช้ประกอบด้วยภาพถ่าย  รูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  วีดีโอและฟิล์ม  ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปวีดีโอคลิป (Video  clips) นอกจากวิชาว่าด้วยพฤติกรรมสัตว์แล้ว  ยังได้จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมควิกไทม์ (Quick Time) ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายๆเช่น  จากสมการสร้างเป็นกราฟ  เพื่อให้กราฟที่ได้มีความเป็นพลวัตไม่หยุดนิ่ง  ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านจำได้มากขึ้นจากรูปภาพและวีดีโอ

                Kelly(1996) ศึกษาเรื่องกรณีตัวอย่าง  การพิมพ์วารสารอิเล็กทรอนิกส์บนเวิลด์ไวด์เว็บ  ซึ่งได้กล่าวว่าเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารทั่วโลก  ไฮเปอร์มีเดียมีสมรรถภาพและความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลได้ไม่จำกัด  ดังนั้นจึงมีการใช้เวิลด์ไวด์เว็บในการผลิตวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ขึ้นมามากขึ้น  ผลการวิจัยพบว่านโยบายของวารสารไม่สามารถที่จะนำมาประเมินได้จนกว่าวารสารจะมีการออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการแล้ว  และมีความเป็นไปได้ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด  เพื่อที่จะผลิตวารสารอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ต่อไป

 

                                                                                                                                                   ดร.ธารทิพย์    แก้วเหลี่ยม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 232999เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อยากทราบบรรณานุกรมค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

ขอใช้ข้อมูลหน่อยนะคะ

จะทำรายงานส่ง

ขอบคุณค่ะ

อยากทราบบรรณานุกรม (งานวิจัยในต่างประเทศ)

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

อีเมลล์ [email protected]

ขอบรรณนานุกรมด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เมลล์ [email protected]

เรื่องน่าสนใจมากเลย

ขอบรรณนานุกรมด้วยค่ะ

ขอบคุณคะ่

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับสำหรับข้อมูล

เป็นประโยชน์อย่างมาก ขออนุญาตินำไปอ้างอิงผลงานทางวิชาการด้วยนะครับ

ขอความอนุเคราะห์บรรณานุกรมครับผม

อดิเรก

เรื่องน่าสนใจมากเลยครับ

ขอบรรณนานุกรม หน่อยครับ

ขอบคุณมากเลยครับ

[email protected]

ข้อมูลยอดเยี่ยมมากๆ ขอบคุรมากขออนุญาตนำไปอ้าอิงผลงานนะคะและอยากทราบบรรณานุกรม

เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลอย่างชัดเจน

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ

ดิฉันอายุใกล้เกษียณแล้วค่ะ ปรับปรุงผลงานอยู่ไม่ทราบจะหาที่ไหน พอเห็นก็ดีใจค่ะ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มากเหลือเกิน ขอให้ได้บุญเยอะๆ สาธุ :D

ขอบรรณานุกรมด้วยครับ ขอบคุณครับ

ข้อมูลดีมากครับ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ  / ปิยนาถ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท