รพ.มวล. : เรียนรู้จากโรงพยาบาลใหญ่ (๕)


ไม่ต้องรับคนที่จบการศึกษาสูงๆ จะอยู่ได้นานกว่า สอนให้เขาทำงานได้ดี เขาจะภูมิใจ

ตอนที่

ระบบจัดการขยะ
งานครอบคลุมขยะมูลฝอยทั่วไป มูลฝอยติดเชื้อ (ถุงแดง) มูลฝอยเคมีบำบัด (ถุงสีส้ม) เข็ม (ใส่ถัง) พวกของเสียเคมีและวัตถุอันตราย อนาคตจะมีโรงขยะแยกเป็นส่วนๆ

มีข้อกำหนดการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ในการขนย้ายขยะ รถที่ขนขยะจะเบา เอียงลาดได้ ทำความสะอาดได้ง่าย จ้างบริษัทเอกชนขนย้ายขยะธรรมดาไปไว้ที่จุดพักแล้วเทศบาลมาขนไป ขยะติดเชื้อจ้างเทศบาลมาขนไป มีการแยกขยะตั้งแต่ใน ward ให้เอาไว้ตามที่ที่ระบุ กำหนดเวลาขนย้ายชัดเจน ขยะพื้นที่ส่วนรวมใช้ถัง/ถุงใส

ขยะทั่วไปฝังกลบ เทศบาลยังไม่คิดเงิน ต่อไปอาจคิด ขยะติดเชื้อ/เคมีบำบัด เผาด้วยอุณหภูมิสูง ๙๐๐-๑,๐๐๐ เสียเงิน กก.ละ ๒๑ บาท เดือนละหลายแสน ถ้าทำกระบวนการคัดแยกดีๆ จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก แยกติดเชื้อ-ไม่ติดเชื้อให้ชัด ขยะติดเชื้อ เช่น เปื้อนเลือด เปื้อนสิ่งคัดหลั่ง เปื้อนอุจจาระ

ขยะในระบบต้องทำ recycle ให้ได้ต่อไปจะมีรถขยะเอง มีที่พักขยะนอก รพ. จัดระบบขนส่งขยะ เอาบริษัทมาสอนวิธีแยกขยะ อะไรขายได้-ขายไม่ได้

ระบบทำความสะอาด
ต้องอบรมพนักงานเยอะๆ ต้องให้ความรู้อย่างดี จ้าง outsource บริษัทมักจะขี้โกง ต้องปรับแพงๆ และนับจำนวนคน ใช้วิธีตอกบัตรและนับคน ฝึกคนดูแลและมีการตรวจสอบ มี check sheet น้ำยาต่างๆ ดูว่าในสัญญาใช้ของใคร

พนักงานที่เก็บของได้และส่งคืนผู้ป่วย มีการให้เกียรติบัตร ใช้วิธียกย่องชมเชย

ต้องสอนวิธีการทำความสะอาด กิริยามารยาท ความซื่อสัตย์ และมีวิธีการติดตาม ไม่ต้องรับคนที่จบการศึกษาสูงๆ จะอยู่ได้นานกว่า สอนให้เขาทำงานได้ดี เขาจะภูมิใจ

ของที่ใช้ เช่น wax ต้องไม่ลื่น integrate ระบบ safety

เวลาจัดคนทำงาน ดูตาม area (มีโอกาสสกปรก มีกลิ่น ใช้คนเยอะ) ต้องใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น เครื่องถู สำหรับพื้นที่ใหญ่ๆ พื้นที่ส่วนกลาง ไม่จำเป็นต้องใช้คนเยอะ

งานโภชนาการ
เสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง แบ่งเป็น ๓ หน่วยย่อย อัตรากำลัง

หลักการจัดบริการอาหาร มาตรฐานการจัดบริการอาหาร เช่น พลังงาน สัดส่วนสารอาหาร ราคา ทั่วไป ๑๒๐ บาท พิเศษ ๒๐๐ บาท เฉพาะโรค ๑๒๐-๒๐๐ บาท จัดบริการอาหารผู้ป่วยนอกสำหรับรายที่มาฉายแสง อาหารห้องพิเศษเลือกเมนูได้ ตึกที่ค่าห้องแพง อาหารเหมือนกัน แต่ปรับภาชนะที่ใส่ มีการเพิ่มศักยภาพการจัดอาหารสู่แนวทางฮาลาล สร้างความเชื่อมั่นแก่เขา คิดกระบวนการและใช้ outsource

การแก้ไขปัญหา เช่น การปนเปื้อน การส่งมอบอาหารผิดคน/ผิดชนิด จะมาไล่ที่กระบวนการ เวลาเกิดความผิดพลาด มีการจัดกระเช้าขอโทษผู้ป่วย มีการจดบันทึกสถิติ มีการสำรวจความพึงพอใจทุก ๓ เดือน (โดยศูนย์คุณภาพ) มีระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารปลอดภัย ได้รับการรับรองจากเทศบาลหาดใหญ่

โภชนากรจะไปซื้อวัตถุดิบเองด้วยในช่วงที่ห้างมี promotion ผัก- ซื้อจากแม่ค้าและเกษตรกร ล้างด้วยผงฟู สุ่มตรวจทุก ๓ เดือน ต่อไปจะตรวจทุก ๒ เดือน การจัดซื้อวัตถุดิบมีโภชนากรตรวจคุณภาพ

การทำอาหารใช้ stream แทนก๊าซเพื่อความปลอดภัย หาวิธีการลดอุบัติเหตุจากน้ำร้อนลวก

ต้องคำนึงถึงสถานที่ตั้งและระบบต่างๆ เช่น ดักไขมัน การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุมวัตถุดิบ การกำจัดขยะ ต้อง clear ออกภายใน ๒ ชม. ระบบเสียง แสงสว่าง ทางระบายน้ำ

การล้างทำความสะอาด ใช้ระบบ outsource (ปัญหาที่พบบางครั้งไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด) ใช้เครื่องล้างจาน (เครื่องของบริษัท) บริษัทมักติดปัญหาเรื่องคนขาด

ใช้ระบบ IT รับ order จาก ward ทำงานเป็นทีมกับหน่วยอื่น

มีการทำน้ำจุลินทรีย์ดับกลิ่นใช้เอง

งานโภชนศึกษา ให้ความรู้กับผู้ป่วยร่วมกับทีมพยาบาล จัดอบรมให้กับบุคลากร มีงานวิจัยด้านโภชนาการ จำหน่ายอาหารสุขภาพแก่บุคลากร เผยแพร่ความรู้ สื่อการสอน ทำกระดาษปูถาดอาหารไว้ ๑๐ โรค เอาเนื้อหามาจากตำรา ถ้าไม่มั่นใจจะปรึกษา ดร.ชนิดา ปโชติการ (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)

ความท้าทาย – ทำอาหารแล้วผู้ป่วยกินได้น้อย/ไม่ได้ ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกในการบริการ

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 232238เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2008 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท