ปลาทุกชนิดดีกับสุขภาพเหมือนกันไหม?


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปลาทะเลเป็นอาหารที่ดีกับสุขภาพ ทีนี้ปลาเลี้ยง โดยเฉพาะปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาดุก ฯลฯ ดีกับสุขภาพจริงหรือไม่ วันนี้มีคำตอบมาฝากพวกเราครับ

...

ภาพจาก Freeclipartpics.com > [ Click ]

...

ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอดเป็นอาหารที่ดีกับสุขภาพหัวใจ เนื่องจากมีไขมันชนิดดีพิเศษ หรือโอเมกา-3 สูงและโอเมกา-6 ต่ำ (การทอดจะทำให้น้ำมันปลาซึมออก น้ำมันที่ใช้ทอดซึมเข้าไปแทน)

คณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยเวค ฟอเรสท์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาพบว่า ปลานิล (tipalia) และปลาดุก (catfish) ที่เลี้ยงในฟาร์มมีไขมันชนิดดีพิเศษคือ โอเมกา-3 น้อยกว่าปลาแซลมอนหรือปลาเทราท์ที่เลี้ยงในฟาร์มมากกว่า 8 เท่า

...

นอกจากนั้นปลานิลและปลาดุกเลี้ยงยังมีไขมันชนิดโอเมกา-6 สูงกว่าปลาแซลมอนและปลาเทราท์ (ปลาทะเลที่เลี้ยงเป็นฟาร์ม) มาก

การศึกษานี้พบว่า สัดส่วนของน้ำมันชนิดโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ในปลาดังกล่าวมีสูงถึง 11:1 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเนื้อสัตว์บกคือ เนื้อไก่

...

Hiker

อาหารสุขภาพควรมีสัดส่วนของโอเมกา-3 สูงหน่อย และโอเมกา-6 ไม่มากเกิน เนื่องจากน้ำมันดีพิเศษชนิดโอเมกา-3 ช่วยลดการอักเสบ หรือป้องกันไม่ให้ธาตุไฟในร่างกายกำเริบ ตรงกันข้ามโอเมกา-6 เพิ่มการอักเสบ หรืออาจทำให้ธาตุไฟในร่างกายกำเริบได้

การกินไขมันชนิดโอเมกา-6 มากเกินอาจทำให้หัวใจ หลอดเลือดเสื่อมเร็ว เสี่ยงโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ฯลฯ เสี่ยงโรคข้ออักเสบบางชนิด อาหารที่มีโอเมกา-3 และโอเมกา-6 สูงปรากฏดังตาราง

...

ชนิด โอเมกา-3 ค่อนข้างสูง โอเมกา-6 ค่อนข้างสูง
อาหาร ปลาทะเล นัท(ถั่วเปลือกแข็ง) เมล็ดแฟลกซีด เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา  น้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ
ผลต่อการอักเสบ ลดการอักเสบ เพิ่มการอักเสบ

...

Hiker

ปลาจากฟาร์มหลายชนิดต้องเลี้ยงด้วยเนื้อปลา และน้ำมันปลา เช่น แซลมอน เทราท์ ฯลฯ ขณะที่ปลาน้ำจืดหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาดุก ฯลฯ เลี้ยงด้วยข้าวโพด (หรืออาหารอื่นที่มีโอเมกา-6 ค่อนข้างสูง)

การกินไขมันชนิดโอเมกา-3 ให้เพิ่มขึ้น และลดไขมันชนิดโอเมกา-6 ให้น้อยลงทำได้ดังต่อไปนี้

...

(1). กินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด (เช่น ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศหรือน้ำแร่ ปลาทะเลที่ปรุงด้วยการนึ่ง อบ ย่าง เผา แกง ฯลฯ) สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

(2). กินน้ำมันปลา

...

(3). กินพืชที่มีโอเมกา-3 สูงหน่อย เช่น เมล็ดแฟลกซีด เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสง ฯลฯ ที่ไม่ผ่านการทอด

(4). ใช้น้ำมันที่มีโอเมกา-6 ต่ำ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะกอก (น้ำมันมะกอกไม่ค่อยทนความร้อน ใช้ทำสลัดได้ดี ใช้ผัดทอดไม่ค่อยดีเท่าไหร่) ฯลฯ

...

(5). ลดการกินอาหารประเภทผัดๆ ทอดๆ โดยเฉพาะอาหารนอกบ้าน (อาหารผัดๆ ทอดๆ ในไทยส่วนใหญ่ใช้น้ำมันปาล์มกับน้ำมันหมู ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูง ส่วนน้อยใช้น้ำมันพืชชนิดมีโอเมกา-6 สูง)

(6). ลดการกินเนื้อสัตว์บกให้น้อยลง (สัตว์บกส่วนใหญ่มีสัดส่วนของโอเมกา-6 สูง)

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ และขอส่งความปรารถนาดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

ศัพท์ตอนนี้มาจากเนื้อเรื่องคือ 'Omega-6 fatty acids promote inflammation.' = ไขมันกลุ่มโอเมกา-6 ส่งเสริม (เพิ่ม) การอักเสบ

  • 'inflammation' > [ อิน - เฟลม - เม้ - เฉิ่น ] > ย้ำเสียง (accent) ตรง "เม้" เสียงที่เหลือให้พูดเบาลง
  • 'inflammation' = การอักเสบ ธาตุไฟกำเริบ
  • 'inflammation' > ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิก "ลำโพง" หรือ "ธงชาติ" > [ Click ] , [ Click ]
...

ศัพท์เครือญาติ (โปรดสังเกตว่า มีส่วนที่เหมือนกันคือ 'flame'

  • flame (นาม / noun) = ไฟ
  • flame (กริยา / verb) = จุดไฟ
  • flame (กริยา / verb)= ใส่ไฟ (วิพากษ์วิจารณ์ - ภาษาพูด)

...

ตำแหน่งย้ำเสียง (accent) ในภาษาอังกฤษนั้น... ส่วนใหญ่คำนามอยู่พยางค์แรก คำกริยาอยู่พยางค์สองหรือข้างหลัง ถ้าเป็นคำที่ทำให้เป็นคำนามโดยเติม '-tion' ให้ย้ำเสียงหน้า '-tion' 

อย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

ที่มา                                                     

  • Thank drmirkin > Dr. Gabe Mirkin's Fitness and Health e-Zine > Farmed tipalia and catfish are more like chicken than fish > [ Click ] > December 28, 2008. // Source > J Am Dietetic Asso. December 2008.
  • ข้อมูลในบล็อกเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้นำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 27 ธันวาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 232234เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2008 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท