เรื่องของ “คน” : พื้นฐานของพฤติกรรม


....เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่สามารถสลัดหลุดจากวงสังคมของ “คน” หรือ “องค์การ” คงไม่มีโอกาสที่จะปฏิเสธความจริงในเรื่อง ของ “พฤติกรรมของคน”....

 

 

ช่วงนี้พอมีเวลากลับมาหายใจได้อย่างคนปกติ  ไม่ต้องกระหืดกระหอบอย่างคนที่กระหายออกซิเจนสักเท่าไหร่  ก็เลยพอได้มีโอกาสอ่านหนังสือเก่าๆที่ชอบซื้อ(สะสมไว้)... แต่ยังไม่มีโอกาสได้อ่านจริงๆจังๆสักที

 ....เป็นเรื่องเกี่ยวกับ... มนุษย์ และ พฤติกรรมของมนุษย์ ที่เราๆเรียกว่า คน นั่นแหละ

อ่านบางช่วง บางตอนแล้วก็ทำให้เข้าใจ คน และบางส่วนของ ความเป็นคน มากขึ้น ...เลยอยากทยอยนำมาเล่าสรุปแบ่งปันกันให้ผู้ที่ไม่ค่อยได้รับรู้เรื่อง คน เยี่ยงฉัน...  หู ตา และใจ กว้างขึ้นบ้าง

.... พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำของคน  ส่วน พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) หมายถึง การกระทำของคนในการทำงาน

 ดังนั้น หากต้องการศึกษาพฤติกรรมองค์การ ก็ควรจะเข้าใจเรื่องของพฤติกรรมที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

 1.     พฤติกรรมของบุคคล (Individual Behavior) เป็นการศึกษาพฤติกรรมในเชิงจิตวิทยาเช่น ทัศนคติ(Attitude) บุคลิกภาพ(Personality)  การรับรู้(Perception) การเรียนรู้(Learning) และการจูงใจ(Motivation)

2.     พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับบรรทัดฐาน(Norm) บทบาท(Roles)  การสร้างทีม(Team Building)  ความเป็นผู้นำ(Leadership) และความขัดแย้ง(Conflict)

 พฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มจะแตกต่างไปจากตัวตนเดิม  ดังนั้นการประเมินลักษณะของพฤติกรรมองค์การจึงมีความยากเสมือนส่วนจมในทะเลของภูเขาน้ำแข็งที่ลอยในทะเล(Iceberg) ซึ่งมองไม่เห็นกันได้ง่ายนัก

 ทัศนคติ(Attitude) คือความรู้สึกในการประเมินว่าชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ทัศนคติจึงมีส่วนประกอบ 3 ด้านได้แก่ ด้านความเข้าใจ  ด้านอารมณ์หรือความรู้สึก และด้านพฤติกรรม

 สำหรับผู้บริหารมักสนใจทัศนคติของคนในองค์การเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน ซึ่งมี 4 อย่าง

1.     ความพึงพอใจในการทำงาน(Job Satisfaction) : หากบุคลากรมีความพึงพอใจสูง แสดงว่ามีทัศนคติทางบวก

2.     ความเกี่ยวข้องกับงานมากหรือน้อย(Job Involvement) : หากบุคลากรมีส่วนร่วมกับงานมาก เห็นความสำคัญของงานมาก แสดงว่ามีทัศนคติทางบวก

3.     ความมุ่งมั่นจงรักภักดีต่อองค์การ(Organizational Commitment) : บุคลากรที่มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การจะมีความมุ่งมั่นจงรักภักดีต่อองค์การสูง

4.     บุคลากรที่มิได้ทำเพียงหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยเหลือเพื่อนในทีม(Organizational Citizenship Behavior : OCB) : อาสาทำงานต่างๆให้องค์การ  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งในองค์การหรืออื่นๆ  ผู้บริหารมักอยากให้บุคลากรมีทัศนคติต่อองค์กรแบบ OCB

 ที่สำคัญคือ  โดยปกติบุคคลจะพยายามที่จะมีทัศนคติเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย แต่พฤติกรรมที่แสดงออกจะสอดคล้องกับทัศนคติหรือไม่นั้นยากที่จะอธิบาย ดังนั้นองค์การส่วนมากจึงมักสอบถามทัศนคติของบุคลากรต่องาน  ต่อเพื่อนร่วมงาน  ต่อหัวหน้างาน และต่อองค์การเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุง.......

ที่หยิบมาเล่า(แม้เพิ่งจะเล่าเพียงเรื่องเดียว)นี้ ก็เพื่อให้เพื่อนๆที่ไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆเล่มนั้นมีความเข้าใจบางเรื่อง บางส่วน ของ คน และง่ายในการใช้ชีวิตการทำงานในองค์การได้อย่างมีความสุข(ขึ้นบ้าง)ต่อไป...ไหนๆก็มีการเปลี่ยนแปลงในวงการข้าราชการที่ทราบจากสำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)แล้ว...จะทำนิ่งเฉยไปได้อย่างไรกัน

 (ที่มา : การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. Stephen P. Robbins. Mary Coulter เขียน. วิรัช สงวนวงศ์วาน แปลและเรียบเรียง...ขอขอบคุณค่ะ...)

 

หมายเลขบันทึก: 229153เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2008 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะคุณติ๋ว เพื่อนรัก

  • แวะมาบอกว่า คิดถึง รักษาสุขภาพนะคะ
  • ครูอ้อย กำลัง ทำงานหนักมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ มาเติมความรู้เพิ่มค่ะ ขอบคุณค่ะ

แวะมาเติมความรู้นะคะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ..ด้วยความห่วงใย.. ฝากดอกไม้มาให้เพิ่มความสดชื่นนะคะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อยเพื่อนรัก

  • ทำงานอะไรคะที่ว่าหนักมากๆ...ต้องแบกหามรึเปล่า...อิ อิ
  • ดูแลสุขภาพด้วยเช่นกันนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายกัน....
  • ...ฝากความคิดถึงมายังเพื่อนๆที่น่ารักชาวเชียงใหม่ทุกท่านด้วยค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณ add

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ...สารคามใกล้แค่เอื้อมนี่เอง....
  • กล้วยไม้สวยมากจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

ช่วงนี้เร่งทำงานค่ะ..ต้อง..แว้บมา..แว้บไป...

อิอิ ^^

การเก็บข้อมูลตรงนี้ เราควรใช้เครื่องมือ หรือวิธีการอะไรครับ แล้วการที่จะเก็บสำเร็จนั้น Key Succes Facter คืออะไรเหรอครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณGutjang

  • สบายดีมั้ยคะ...
  • ขอบคุณนะคะ...ยุ่งกับงานยังมีแรง..แว้บบบ....อิ อิ^_^

สวัสดีค่ะ คุณ บีเวอร์

  • ขอบคุณนะคะสำหรับคำถามที่น่าสนใจมากๆค่ะ....
  • เนื่องจากเป็นเพียงผู้ปฏิบัติเลยไม่ได้มองไกลถึงเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังเช่นคำถามที่คุณถาม...และที่สำคัญคือ  ไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้เลย  หากจะทำจริงคงต้องอ่านงานเยอะๆแล้วดูว่าเขาใช้เครื่องมืออะไร  วิเคราะห์อย่างไร...
  • ...ใครมีประสบการณ์ช่วยหน่อยค่ะ...(ส่วนตัวเองก็จะไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม  เผื่อจะได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ)
  • ขอบคุณมากๆนะคะ

สำหรับคำถามที่ 8ของคุณ บีเวอร์ ทำให้พบว่ามีสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ

ยินดีค่ะ...หากมีข้อมูลเพิ่มเติมกรุณานำมาบอกเล่ากันบ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท