อยากจะเล่าประสบการณ์การทำงานกับชาวบ้าน ชาวเผ่าต่างๆบนดอยครับ
ที่ๆทำงานอยู่นั้นเป็นรพ 30 เตียง ให้บริการกับประชากรหลายกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.ชาวบ้านพื้นเมืองแม่ฮ่องสอนคือคนไต (ประมาน 35%)
พูดภาษาไต(ไทยใหญ่) คนกลุ่มนี้แบ่งเป็นอีกสอง
กลุ่มครับ คือ ไตที่เป็นไทยแท้คือมีบัตรประชาชน กับไตนอกที่เป็นคนต่างด้าวไม่มีบัตร
ไตที่เป็นคนไทยนั้นไม่มีปัญหาครับ เพราะว่าเขาฟังและพูดภาษาไทยกลางได้ แต่ถ้าเป็นไต
นอกนั้นลำบากพอสมควรครับ ผมฟังไม่ค่อยรู้ต้องใช้ล่ามเพื่อคุยเรื่องอาการที่ยากๆ
2.ชาวบ้านเผ่าลีซอ(LISU) ประมาณ 25%
ในพื้นที่มีมากครับ และก็พูดอีกภาษาหนึ่งคล้ายภาษาจีน
เรื่องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่นี่ยังไม่สามารถเข้ามาแทรกแทรงการแต่งตัวได้ครับ
ชาวบ้านจะแต่งชุดที่เป็นพื้นเมืองมารพ อยู่ครับ เรื่องการสื่อสารก็ขึ้นกับอายุครับ
ถ้าอายุเกิน40 ก็ส่วนมากไม่รู้ภาษาไทย ถ้าคนรุ่นใหม่ก็สบายครับ
คนลีชอส่วนมากก็จะอยู่บนดอยครับ อาชีพหลักคือการปลูกพืชไว้ขายและกินเอง
ฐานะส่วนมากยังยากจนอยู่ครับ(ถ้าวัดด้วยรายได้ที่เป็นเงิน)
3.ชาวบ้านเผ่ามูเซอ(ล่าหู่) ประมาณ 20%
แบ่งเป็นอีกสองกลุ่มครับคือมูเซอแดง และมูเซอดำ ซึ่งชุดต่างกันมีสีตามชื่อครับ
ชอบอยู่ตามดอยสูงเช่นกัน อาชีพก็คล้ายชาวลีซอครับ
4.ชาวบ้านเผ่ากะเหรี่ยง ประมาณ 10%
ส่วนมาอพยบมาจาก อ.เมือง การแต่งตัวก็ไม่ค่อยเห็นชุดพื้นบ้านแล้วครับ
5.ชาวบ้าน ต.ด.(ต่างด้าว) ประมาณ5-10 %
ผู้คนชายขอบเหล่านี้ยังแบ่งเป็นอีกหลายกลุ่มครับ ตามบัตรที่แสดงตน ชาวบ้านเหล่านี้
ไม่มีนามสกุล ไม่มีสิทธิการรักษาใดๆ(เป็นกลุ่มที่ทำให้งบ30บาทถูกเกลี่ยมารักษาคนกลุ่มนี้ด้วย แต่บางคนก็มีสิทธิเพราะนายจ้างจ่ายเป็นรายปี)
6.อื่นๆ
เช่นชาวลั๊ว ชาวปะโอ และคนดอยไตแลง(ต่างประเทศ)
ครับวันนี้ก็เพียงอยากเสนอเรื่องราวของการทำงานในพื้นที่ ที่มีความหลากหลาย
ของเชื้อชาติ หลายภาษาและวัฒนธรรม เป็นเพียงเรื่องเล่าธรรมดาๆครับ อาจไม่ถือ
เป็นสาระอะไรมากมายต่อท่านผู้รู้ แต่ว่าก็เป็นเส้นทางของการ ลปรร มือใหม่ครับผม...
นี่เป็นข้อได้เปรียบของหมอหรือคนที่ทำงานพัฒนาอยู่ในชนบทห่างไกลนะครับ ได้พบความหลากหลายของผู้คนต่างวัฒนธรรม แล้วจะค่อยๆซึมซับเอาการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมเข้ามาโดยไม่รู้ตัว
ไม่ต้องไปเข้ารับการอบรมว่าด้วยเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางชาติพันธุ์ที่ไหน
ก็เรียนอยู่ทุกวันแล้วไง....ชาวบ้าน คนไข้ นั่นแหละครูของเรา
อย่าเพิ่งรีบร้อนเข้ากรุงนะครับ