หัวใจ ISO (15189)


พี่นุชรัตน์ น่าจะได้รับรางวัลส่งเสริมแนวปฎิบัติตามเกณฑ์ของ ISO
เมื่อวานนี้ ”นายดำ” ซึ่งอาทิตย์นี้รับผิดชอบการตรวจโปรตีนใน urine และ CSF ด้วยเครื่อง Hitachi 717 ได้เสนอความคิดว่า เราไม่น่าจะต้องทำงานซ้ำซ้อนด้วยการเขียน lab no. และผลการตรวจลงไปในสมุดบันทึกต่างหาก เพราะถึงอย่างไรถ้าต้องการค้นผลย้อนหลัง เราก็มักจะไปดูจากกระดาษที่ print out ออกมาจากเครื่องอยู่แล้ว และเวลาออกผลเราก็มักจะใช้วิธีหยิบใบ print out ไป key ผลลงในคอมพิวเตอร์ เพราะสะดวกรวดเร็วกว่าการลงผลในสมุดแล้วเอาสมุดไปออกผล โดยเฉพาะวันที่มีการทดสอบมากๆเช่นวันอังคาร วันพฤหัส ที่จะมีกระป๋อง urine ตั้งเรียงกันเป็นคอนโด (แบบที่พวกเราเรียกกัน) เพราะที่บน counter ไม่พอจะวาง

ปรากฎว่าเราคุยกันกับพี่นุชรัตน์ด้วย พี่นุชบอกทันทีว่าถ้าเราเก็บผลที่เป็น print out แบบนี้โดยไม่ลงในสมุดต่างหาก จะไม่ตรงกับหลัก ISO นะ ถ้าเราจะไม่ลงสมุดต่างหาก จะต้องเก็บ print out ให้เป็นระบบ ซึ่งในปัจจุบัน เราเพียงแต่เก็บซ้อนๆกันไว้ตามวันเท่านั้น ตกลงว่าเราคงต้องมาคุยในรายละเอียดกันอีกทีว่า เราจะทำอย่างไรให้ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน แล้วถูกต้องตามมาตรฐาน ISO ด้วย

สิ่งที่ต้องการจะเล่าให้ฟังก็คือ จะเห็นว่าเมื่อเรามีเป้าหมายว่า เราจะต้องผ่านการประเมินมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO15189 ทำให้เมื่อเราจะพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับงาน ก็มีหลักการไว้เป็นกรอบ พี่นุชถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากที่คอยเตือน แนะนำ เวลาเราต้องการจะทำอะไรใหม่ๆ พี่เขารับหน้าที่ด้าน QC ค่ะ แต่รู้สึกว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญกับมาตรฐานและข้อปฎิบัติของ ISO ไปหมดทุกด้าน กรรมการ ISO ของภาคฯ น่าจะมีรางวัลให้คนหัวใจ ISO แบบพี่นุชบ้างนะคะ ที่พยายามทำให้ระบบงานของเราตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน ISO อยู่เสมอเมื่อเราต้องการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอะไร

หมายเลขบันทึก: 22853เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นสมควรอนุมัติ (รางวัลคนหัวใจ ISO) ให้พี่นุชครับ เพราะเป็นที่ปรึกษาเรื่องงานให้กับน้องๆ หลาน ๆ และเหลน ๆ ที่ร่วมงานได้ทุกเรื่อง ทุกเวลาครับ นึกอะไรไม่ออก บอกพี่นุช...สิครับ อิ อิ

เห็นด้วยกับน้องอ๋งซัง ที่สุด ในห้องนี้ถ้ามีอะไรชอบปรึกษา ไต่ถามพี่นุชเป็นที่สุด เปรียบเสมือนหน้าด่าน พี่เขาเป็นคนให้กำลังใจ และมองโลกในแง่ดี๊ ดี มากที่สุดแล้วในห้องนี้
เห็นด้วยครับ รางวัลนี้เหมาะที่สุดกับพี่นุช ครับ และเห็นด้วยกับพี่โอ๋ คือหน่วยงานอื่นน่าจะมีรางวัลประเภทนี้ เป็นกำลังใจแก่คนทำงานด้วยครับ
อ่านๆดูแล้วก็รู้สึกว่าจะ ซ้ำซ้อน จริงๆด้วยค่ะ
  1. ถ้ามีข้อมูลเก็บอยู่ในเครื่องทดสอบ (ที่กำกับอยู่ด้วย No.lab และเดือน,ปี) ก็ถือว่าเป็นการเก็บหลักฐานได้ 1 ขั้น
  2. ถ้าจัดเก็บใบ print out ไว้ แบบเรียงซ้อนๆกัน แต่ถ้ากำหนดระยะเวลาเก็บและทำลายได้ชัดเจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ก็เป็นการเก็บหลักฐานได้อีกเป็นขั้นที่ 2
  3. การคัดลอกผลลงสมุดก็เป็นการเก็บหลักฐานเป็นขั้นที่ 3 ได้ค่ะ แต่กลับเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือ "น้อย" ที่สุด เพราะมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย ที่สำคัญผู้คัดลอก(เจ้าของลายมือ)ก็ไม่กล้าที่จะยืนยันผล ยิ่งถ้าเวลาผ่านไปนานๆ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็ต้องไปค้นหลักฐานที่ 1 และ 2 อยู่ดี
พี่เม่ยเทียบเคียงกับการรายงานผล CBC จากเครื่อง automate เราก็เก็บหลักฐานที่ 1 และ 2 เท่านั้นค่ะ เพราะทำหลักฐานแบบที่สาม"ไม่ไหว" และ "ไม่คุ้ม"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท