การพึี่งตนเอง


เตรียมตัวรับอนาคต (ที่อาจไม่สดใส)

 

 

วิกฤตของบ้านเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้  ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างสูง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ภาพลักษณ์ในสายตาชาวต่างชาติที่กำลังมองประเทศไทย  ย่อมไม่ก่อให้เกิดการลงทุนอย่างแน่นอน  รวมทั้งการสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหรรม หรือภาคเกษตรกรรม ก็ต้องหายไปด้วย อัตราคงสูงมากกว่าร้อยละ 50 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ โรงงาน หรือบริษัทเท่านั้น  ต่อไปนี้ผลกระทบถึงทุกคนในประเทศไทย ตั้งแต่โรงแรมและทุกคนที่ทำงานในโรงแรมตั้งแต่เจ้าของ ถึงพนักงานทำความสะอาด รถทัวร์   ภัตตาคาร ร้านอาหาร  แหล่งท่องเที่ยว ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก  เกษตรกรผู้ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ที่จะต้องนำเอาผลผลิตดังกล่าวมาเป็นวัตถุดิบในการบริโภคต่าง ๆ รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง บ้านเช่า และแม้กระทั่งร้านขายข้าวแกงริมถนน  เพราะทุกเรื่องล้วนผูกติดกันเป็นเหมือนลูกโซ่ อย่างที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า เงินหมุนเวียน นั่นเอง

แล้วประชาชนชาวไทย จะทำอย่างไร  จะเตรียมตัวที่จะรับกับสถานการณ์ ไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้ ในอนาคตอย่างไร

การพึ่งตนเอง คำนี้ น่าจะเป็นคำที่ต้องนำมาใช้ และเลือกใช้ให้เหมาะกับตนเองให้มากที่สุด

การพึ่งตนเอง  คือ การจัดการชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับคน กับสังคม กับสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา

การพึ่งตนเอง คือการมีสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิตปัจจุบันจนถึงอนาคต (ไม่ว่าจะสั้นหรือยาว) โดยที่เราจะไม่รอเรียกร้องให้ใครมาจัดการ หรือช่วยเหลือตัวเรา นอกจากเราจะต้องช่วยตัวเอง

การจะพึ่งตนเองได้นั้น  เราต้องรู้ตัวเองก่อน ว่าขณะนี้เรามีกำลังมากเพียงใด แสดงว่าต้องวิเคราะห์ตนเองก่อน ว่า กำลังทำงานอะไรอยู่ งานมั่นคงเพียงใด  ได้รับค่าตอบแทนรวมเท่าไร   มีรายจ่ายรวมเท่าไร  เหลือไว้เก็บเผื่อภาวะฉุกเฉินในอนาคตเท่าไร  

หากต้องตกงาน จะมีเงินเก็บเหลือพอกินพอใช้เท่าไร จนกว่าจะมีงานทำ  อะไรคือรายจ่ายจำเป็นที่ต้องจ่าย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าเดินทาง จะลดรายจ่ายที่จำเป็นลงได้สักเท่าไร เช่น หาบ้านเช่าในราคาที่ถูกลงสักหน่อย ประหยัดการใช้ไฟและน้ำ  ทานอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับร่างกาย  การเดินทางหากไม่ไกลนัก ก็ถือโอกาสออกกำลังกายด้วยการเดินบ้างก็ได้  เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ก็ลดการซื้อลงบ้าง  เพราะที่มีอยู่ก็เต็มตู้แล้ว

อะไรคือรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น เหล้า บุหรี่  เครื่องประดับ  การเที่ยวเตร่ตอนกลาง  ควรงดโดยเด็ดขาด

สิ่งที่ควรทำเวลานี้  ไม่เฉพาะแต่ชาวบ้าน หรือเกษตรกร คือ  การทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย หรือบัญชีครัวเรือน เพราะเมื่อทำได้สัก 1 สัปดาห์ ก็จะพบได้เลยว่า เราใช้จ่ายเกินตัวหรือไม่ ก็จะทำให้เราสามารถวางแผนที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ในวันหน้า

ถึงเวลาแล้วหล่ะ ที่เราทุกคนต้องพึ่งตนเอง กันเสียที

คำสำคัญ (Tags): #ครู กศน.
หมายเลขบันทึก: 226565เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท