จิระศาสตร์วิทยา เรามาร่วมจิตคิดพัฒนา


ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาความดี พวกเราน้องพี่ "จิระศาสตร์"

ปฐมบทจิระศาสตร์ร่วมจิต

 

จิระศาสตร์วิทยา เรามาร่วมจิตคิดพัฒนา

เพื่อความก้าวหน้า พัฒนาไปให้ไกล จิระศาสตร์สดใสสมดังใจจริงเอย

เพราะพวกเราทำดี จึงได้มีคนศรัทธา เราได้ชื่อว่าโรงเรียนพระราชทาน

ชื่อเสียงโด่งดังไปนาน ผู้บริหารรับรางวัลคุรุสภา เรายังก้าวหน้าได้มาตรฐานโลกเอย

ชาวจิระศาสตร์เอย อย่าละเลยหรือท้อใจ จงทำดีไปเพื่อเด็กไทยของเรา

สุขใดไป่เหมือนที่ได้มีเพื่อนดังเช่นพวกเรา จิระศาสตร์คงไม่อับเฉาเพราะมีพวกเราช่วยพัฒนาเอย

 

                          บทเพลงที่ร้อยเรียงอย่างไพเราะ ได้กลั่นจากออกมาจากใจของท่าน ดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์

ผู้รับใบอนุญาตและประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา ที่ยกมาข้างต้นยังคงก้องอยู่ในหูของผู้ที่อยู่ในรั้ว ชมพูขาว ชาวจิระศาสตร์

              นับตั้งแต่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จากวันนั้นถึงวันนี้ (ปี ๒๕๕๒) เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๕๐ ปี เริ่มต้นจากเลขศูนย์และได้พยายามพัฒนา ฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค มาด้วยอุดมการณ์อันแน่วแน่ในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาความรู้ควบคู่คุณธรรมจริยธรรม ให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกระทั่งเจริญเติบโตก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

กว่าจะมาเป็นโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา

 

                        กว่าจะมาเป็นจิระศาสตร์วิทยาในวันนี้ ดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนยังระลึกอยู่เสมอว่าท่าน พ.ต.อ.เนื่อง รายะนาค อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ทีมีความเตตาให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนในการก่อตั้งโรงเรียนนี้ โดยให้สถานที่บางส่วนข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมทั้งส่งคนงานและให้รถแทร็กเตอร์มาปรับที่ดิน จากสภาพเดิมที่เคยเป็นป่าละเมาะ สภาพพื้นที่ลุ่มๆดอนๆ กลายมาเป็นพื้นที่ราบเรียบกว้างขวางเกือบ ๑๐ ไร่ จากนั้นก็ได้เริ่มยกเสาเอกก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก ป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคามุงสังกะสี ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง และโรงอาหารเล็ก ๑ หลัง โดยได้ซื้อไม้เก่าผ่อนส่งของโรงเลื่อยจักรติมเงี๊ยบเส็ง  แม้จะมีอาคารสถานที่ไม่ใหญ่โตนักแต่ก็น่าอยู่และเอื้อต่อการเรียนการสอน ซึ่งในระยะเริ่มต้นเปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๕ มีนักเรียนทั้งหมด ๑๓๐ คน ครู ๘ คน นี่คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เมื่อ ๕๐ ปีก่อน

    
หากนับย้อนหลังตั้งแต่ปี .. ๒๔๙๙    อาจารย์จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ได้รับราชการตำแหน่ง
ครูผู้สอนและเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ  จนถึงปี ๒๕๐๒ จึงได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด (ชาย) สังกัดกรมสามัญศึกษา ตั้งแต่ปี ๒๕๐๒-๒๕๑๒  ในระหว่างนั้นดร.จิระพันธุ์ ดร.จิระพันธุ์ ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านบริหารการศึกษาที่มหาวิทยาลัยอลาบามา (Alabama University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา  ปี ขณะเดียวกันเมื่อเรียนจบปริญญาโทก็ได้ลงทะเบียนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ๓๐  หน่วยกิต แต่ยังเรียนไม่สำเร็จเพราะสมัยนั้นอธิบดีกรมสามัญศึกษาคือ ท่านอาจารย์ดร.ก่อ  สวัสดิพาณิชย์  เรียกตัวกลับเสียก่อน  อาจารย์จิระพันธุ์ จึงได้กลับมาทำหน้าที่สอนหนังสือต่อและได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จนกระทั่ง ปี ๒๕๑๒ จึงลาออกมาบริหารงานโรงเรียนเอกชนที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  ซึ่งอาจารย์จิระพันธุ์เป็นผู้รับใบอนุญาต   ก่อตั้งเมื่อ .. ๒๕๐๒   โดยระยะแรกได้ให้ญาติเข้ามาดำเนินการเป็นครูใหญ่ เมื่ออาจารย์จิระพันธุ์ลาออกจากราชการจึงได้มาบริหารงานโรงเรียนเต็มตัว     ปี .. ๒๕๑๓  ได้เปิดสอนระดับอนุบาล  ถึงมัธยมศึกษาปีที่  และได้ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบเพิ่มขึ้น  ปัจจุบัน (ปี ๒๕๕๒) มีอาคารเรียน  และอาคารประกอบ หลัง      มีนักเรียน ทั้งหมด  ๔๖๓๕  คน  ครูอาจารย์ ๒๗๕ คน  พนักงานขับรถ ๓๖ คน  คนงาน  ภารโรง  ๓๔ คน  รถรับส่งนักเรียน  ๓๔  คัน

 

                     ในระยะเริ่มแรกเมื่อลาออกจากราชการมาทำหน้าที่บริหารงานโรงเรียนเอกชนนั้น  อาจารย์จิระพันธุ์ ได้กล่าวว่า ในสมัยนั้นตนเองใช้การบริหารงานระบบราชการ โดยมีการสั่งงานในลักษณะรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้บริหารตามที่เคยมีประสบการณ์มาเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าเคยประสบความสำเร็จในโรงเรียนภาครัฐมาแล้วสามารถนำมาใช้กับโรงเรียนเอกชนได้  ปรากฏว่าการทำงานล้มเหลวโดยสิ้นเชิง  จำนวนนักเรียนค่อยๆลดลงๆ ทำให้กลุ้มใจมาก  นอนไม่หลับต้องกินยานอนหลับหลายขนาน   จากนั้นท่านอาจารย์พยายามตั้งหลักวิเคราะห์หาเหตุผลความล้มเหลวของการทำงานเป็นเวลานาน   อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณ ปี  ๒๕๑๘ ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับเรื่อง QCC. (Quality Control Circle) จึงได้นำแนวความคิดมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา โดยได้ประชุมชี้แจงคณะครูและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียนเพื่อ สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และร่วมกันผลักดันคุณภาพ ทำให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน  ดังจะเห็นได้จากบุคลากรในโรงเรียนทุกฝ่ายทั้งผู้บริหาร ครูอาจารย์ และพนักงาน      มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนาและร่วมรักษาเกียรติคุณความดี  อาจารย์จิระพันธุ์ได้พบความจริงว่า การบริหารงานโรงเรียนเอกชนไม่เหมือนการบริหารงานโรงเรียนรัฐบาล เพราะธรรมชาติของโรงเรียนทั้งสองแตกต่างกัน  ดังนั้นจึงได้ริเริ่มปรับระบบการบริหารงานโรงเรียนแบบใหม่ โดยจัดให้มี  การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม     มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการสภาครู โดยให้ครูในโรงเรียนเลือกผู้แทนของ ตนเองจำนวน   คน   ซึ่งมาจากตัวแทนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ระดับละ คน เข้ามาบริหารงานร่วมกับคณะผู้บริหาร ทำหน้าที่เป็นผู้แทนครู และบุคลากรในการพิจารณาแก้ไขปัญหาตลอดจนการจัดสวัสดิการต่างๆให้กับครูและบุคลากร   นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานในโรงเรียนโดยคำนึงถึงศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของครูและบุคลากร บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ถ้าให้ทุกคนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจแล้ว เขาจะทำงานอย่างเต็มใจและมีผลงานเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจึงได้แบ่งฝ่ายรับผิดชอบงานโรงเรียนออกเป็น ฝ่าย ให้ครูทุกคนเลือกเป็นกรรมการฝ่ายตามที่ตนเองถนัดและสนใจ เช่น ฝ่ายวิชาการ  กิจการนักเรียน  บริการและสวัสดิการ บุคลากร อาคาร-สถานที่ ธุรการ-การเงิน และฝ่ายความสัมพันธ์กับชุมชน  ทำให้บุคลากรทุกคนพึงพอใจ และให้ความร่วมมือในการทำงาน อย่างดียิ่ง

 

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา

 

          อาจารย์จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ กล่าวว่าในการทำงานร่วมกันของคนหมู่มาก ซึ่งต่างเพศต่างวัย ต่างประสบการณ์ความรู้ อาจจะมีปัญหาข้อขัดแย้งกันบ้างเป็นธรรมดา  บางครั้งผู้บริหารไม่จำเป

หมายเลขบันทึก: 226332เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หนูชอบโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยามากค่ะเพราะหนูเคยเรียนมา หนูชอบครูทุกท่านมากเลยค่ะเพราะครูใจดี และดูแลเด็กลูกของตน

หนูชอบโรงเรียนจิระศาสตร์มากค่ะครูใจดีตามใจเด็กหนูเรียนโรงเรียนนี้มา5ปีหนูตอนนี้อยู่ร.รสุนทรวิทยาแต่ชอบร.ร จิระศาสตร์มากมากมากกว่ากว่า

พวกเราชอบ ร.ร จิระศาสตร์

ด.ญ.ฐานันตา สุวรรณเลิศ

หนูคิดว่าโรงเรียนจิระศาสตร์ดีถ้าไม่ดีพ่อของหนูคงไม่ให้เข้าหรอกใช่ไหมคะ ตอนนี้หนูกำลังศึกษาอยู่ชั้นป.5คะแล้วกำลังจะย้ายไปโรงเรียนจิระศาสตร์คะ

คิดถึงโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยามากครับ ไม่ได้กลับไปหา 5 ปีแล้ว 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท