ชวนกันอ่าน "กล้าสอน" ที่เพลินพัฒนา


พฤติกรรม "กล้าสอน" มันคืออะไร หลุมพรางของมันหน้าตาเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนบ้าง

บันทึกนี้มีไว้เพื่อสอบทานตัวเอง
ตอนนี้แกนนำครูของเพลินพัฒนาได้ชวนกันอ่านหนังสือ The Courage to Teach เขียนโดย พาร์เกอร์ เจ. พาล์มเมอร์ (Parker J. Palmer)  ที่พี่ใหญ่ (คุณวิศิษฐ์ วังวิญญู) และ ณัฐฬส แนะนำให้อ่าน

ผู้เขียนเองขอยอมรับว่ายังไม่ได้อ่านทั้งเล่ม  ได้แต่อ่านที่พี่ใหญ่เขียนถึงใน blog จิตวิวัฒน์

ตอนที่ 1   
ตอนที่ 2     

อ่านจบแล้วบอกตัวเองว่าต้องเอามาแปะใน gotoknow โดยเร็ว
เพราะมีทั้งความเห็น  มีทั้งคำถาม  ซึ่งต้องเก็บไว้สอบทานตัวเองอยู่เนืองๆ
พฤติกรรม "กล้าสอน" หน้าตาเป็นอย่างไร  มีหลุมพราง ร่องหล่ม แอบซ่อนอยู่ที่ไหนบ้างไหม


สีน้ำเงินเป็นส่วนที่คัดลอกมาจากบทความของพี่ใหญ่
สีส้มคือความเห็น และคำถาม

    * พาล์มเมอร์พูดถึงการเชื่อมโยงกับเด็กได้ แล้วนำพาเด็กไปเชื่อมโยงกับวิชาที่ครูสอน ซึ่งครูจะต้องเชื่อมโยงกับวิชาที่สอนด้วย ต้องเข้าหา เข้าถึงวิชาที่สอน จนองค์ความรู้นั้นๆ เข้ามาเป็นเลือดเนื้อของครูเอง ส่วนวิธีการสอน กระบวนการสอน ครูแต่ละคนอาจจะต้องหาทางเข้าหาความเหมาะสมลงตัว ยืดหยุ่นและผันแปรได้ตามความถนัดหรือตามอัตลักษณ์ของครูแต่ละคนเอง

เรากำลังสร้างบล็อค มีแต่ DOs and DON'Ts  กันอยู่หรือเปล่า? 
การควบคุมปฏิบัติการมีความยืดหยุ่นขนาดไหน?


เรามีการทำงานเป็นหมู่คณะอันเป็นที่รวมความคิดเห็นที่แตกต่าง  ให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
และมีการเปิดโอกาสได้ทดลองโดยไม่ถือว่าเป็นความล้มเหลวหรือไม่

เมื่อครูคนไหนมีความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง  นำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้พี่ๆ ฟัง
การใส่หมวก "วิพากษ์" บ่อยๆ  ทำร้ายความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของน้องๆ หรือเปล่า?


    * ความรักทำให้เกิดความอยากเรียนรู้ และความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใด หรือบุคคลใด ก็ก่อให้เกิดความรัก

มันเป็น loop   ไม่ใช่ว่าถ้าไม่รักแล้วมาเรียนรู้ด้วยกันไม่ได้   เข้าใจแล้วจึงรัก  รักแล้วจึงเข้าใจ
อะไรมาก่อนหลังไม่เห็นเป็นไร  ไม่รักแต่เข้าใจได้ไหม


    * ที่สำคัญคือ ต้องเอาฐานคิดและฐานใจมาร่วมกันทำงาน พร้อมด้วยฐานปฏิบัติ หรือฐานกายด้วย
      จึงจะครบองค์เป็นสองสามชั้นของปัญญาสามฐาน
      และร้อยเรียงให้ทำงานประสานเสียงกัน มิใช่ปีนเกลียวขัดแย้งกัน


การร้อยเรียง การประสานเสียงกัน  ไม่ปีนเกบียวกัน  ตีความกันได้อย่างไร?
ฐานคิด  คงไม่ได้หมายถึงคิดตามๆ กัน แล้วไม่รับฟังคนคิดต่าง
ฐานใจ  ระวังอย่ามีใจให้เฉพาะคน เฉพาะกลุ่ม  
ฐานปฏิบัติ/ฐานกาย ก็อย่าเอาแต่สั่งให้คนอื่นลงมือทำ หรือไม่ยอมรับวิธีการทำงานอื่นๆ ที่ไม่คุ้นชิน   


    * วิทยาศาสตร์ใหม่บอกว่า ผู้สังเกตไม่อาจแยกตัวออกไปจากสิ่งสังเกต ไม่อาจแยกตัวตน ตัวคน หรือ consciousness คือ “จิต” ออกไปได้ เราแยกจิตออกไปไม่ได้จากการรับรู้ และเรียนรู้ด้วย แต่การรับรู้แบบอัตวิสัยนี้ มันมีมิติที่พิสูจน์ได้ โดย communal หรืออย่างเป็นชุมชน  เนื่องจากการที่รับรู้ได้เฉพาะตนนั้น มันพอดีออกมาตรงกัน จึงเป็นความรู้ในทางธรรมที่พิสูจน์ได้อย่างนี้เอง เมื่อก่อน ภาพของนักวิทยาศาสตร์คือที่อยู่คนเดียวโดดเดี่ยว ไร้อารมณ์ความรู้สึก บัดนี้ นอกจากนักวิทยาศาสตร์จะเต็มเปี่ยมได้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกแล้ว ยังทำงานกันเป็นหมู่คณะอีกด้วย ซึ่งถอดความเป็นพุทธได้ในคำว่า “สังฆะ” หรือ “กัลยาณมิตร” นั่นเอง

แปลว่าถ้าเห็นชอบอยู่แค่คนเดียว  หรือแค่กลุ่มเดียว  มันต้องกลับมาตั้งข้อสันนิษฐานใหม่ได้แล้ว
อย่าดันทุรังคิดว่าตัวเองถูก แล้วโทษว่ามวลชนต่างหากคิดผิด หลงผิด  ใช่หรือเปล่า?


    * พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์พระอนุชาว่า “อานนท์ กัลยาณมิตรมีความสำคัญอย่างไรกับพรหมจรรย์” พระอานนท์ตอบว่า “มีความสำคัญเป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์” พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขให้ โดยเน้นย้ำให้ความสำคัญว่า “อานนท์ ที่จริงแล้ว กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์

สาธุ

ท่านใดอยากแชร์ก็จะยินดีอย่างยิ่งค่ะ

หมายเลขบันทึก: 226264เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องเอาฐานคิดและฐานใจมาร่วมกันทำงาน พร้อมด้วยฐานปฏิบัติ หรือฐานกาย

แวะมาทักทายค่ะ

มีความสุข สุขภาพแข็งแรง นะคะ

ขอบคุณ คุณสายธาร มากค่ะ

หนาวนี้เขาว่าหนาวนัก

รักษาสุขภาพเช่นกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท