ศึกษาสมุนไพร วัดปลักไม้ลาย


วันนี้ ผมพา ชาวเว็ป http://managerroom.com  ไปศึกษา ดูงาน สมุนไพร  ที่ วัดปลักไม้ลาย   กำแพงแสน นครปฐม

เช้า   พวกเรา  ถวายผ้าป่า ปัจจัย บริวาร   ถวายแด่  วัดปลักไม้ลาย

บรรยากาศบ้านเมืองอึมครึมแบบนี้  ทำบุญ ทำกุศล  ดีกว่า ...

หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็เมตตา  สอนเรื่อง รสของสมุนไพร  เช่น เผ็ด มัน หวาน ฯลฯ  เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของสมุนไพร

หลวงพ่อ ฯ ท่าน เล่าว่า   "คนเกาหลี อะไร ๆ ก็บอกว่า ของๆเขาดีที่สุดในโลก  พวกเขาจึงใช้ที่พวกเขา่ผลิตเอง   แต่ คนไทย อะไร ๆ ก็บอกว่า ของต่ีางชาติดี   จึงไม่ใช้ของตนเอง"  ----> ผมเห็นด้วยนะครับ เพราะ  วิธีคิดแบบนี้  ประเทศไทยคงไปไม่รอด

สวนสมุนไพร  ที่วัด   ใหญ่มาก  เดินกัน ตั้งแต่เช้า  พักเที่ยง บ่ายๆ เดินต่อ   ยังดูไม่ครบเลย

เพราะ พวกเรา เป็น พวกถามๆๆๆๆ

ก่อนเดินดูสมุนไพร  ผมก็บอกพวกเราว่า

ก) ดูว่า แต่ละต้น เอาไปรักษาอะไร  ไม่พอเพียง  เราต้องดูว่า เอาไป "เข้ายา" อย่างไร  ต้องมีสูตรยาด้วย และ  พวกเรา มาดูสมุนไพร  เป้าหมาย พวกเราคงไม่คิดจะไป จดสูตร  ทำโรงงานผลิต  เพราะ ได้ข่าวมาว่า  กว่าจะจดทะเบียนได้ ใช้หลายแสนครับ   แค่ ค่าสมัคร เริ่มต้น ได้ใบสมัครเปล่าๆ  (ยังไม่ได้กรอกเลย)ก็ ๕๐๐ บาทแล้ว

 เราจะมาดูว่า  เราจะ อนุรักษ์สมุนไพร  ต้นไม้ ใบหญ้า  ที่สำคัญ  หายาก  ได้อย่างไร

ข) มาเดิน หน้าหนาว ลมโชยๆ  แบบนี้   ดูจิตไปด้วย  จิตโปร่งๆ   กำหนดสติ สร้างตัวรู้เอาไว้    เดินในป่าสมุนไพร   จิตใจสบายๆ   เราจะเฝ้าดู "ความคิดจร" ได้ง่ายขึ้น

ค) เดินในป่า ก็แผ่เมตตา   พูดในใจ "เอาบุญมาฝาก เหล่าภพภูมิ เทพเทวาทั้งหลาย"     ทำจิตใจสบายๆ   การศึกษาสมุนไพร ไม่ใช่เพื่อตนเอง  แต่  เพื่อคนอื่นๆ

(บน) ถ่ายเงาตนเอง กับ ต้นไม้ในดวงใจของผม  "มะรุม" ครับ    ได้รับเกียรติ ให้ มาเป็น ๑ ใน ๕๐๐ กว่าสมุนไพร ของที่นี่ด้วย

 

ก่อนกลับ  พวกเรา ก็ AAR กัน ใต้ร่มไม้   จิบน้ำมะขาม  จิบน้ำฝาง (บำรุงเลือด  ก็คือ น้ำยาอุทัยนั่นเอง)

  • การปลูกสมุนไพร  แบบ ป่าผสมๆ  แบบป่าคอนโด (ลุงนิล) 
  • ก่อนจะปลูกป่า ควรปลูก ต้นไม้ที่นกชอบกิน  เพื่อ หลอกให้นก มาถ่าย   เราจะได้ ต้นไม้ สมุนไพรที่แข็งแรง ตายยาก
  • จำชื่อต้นไม้ยาก   แต่ การมาเดินดูบ่อยๆ  พูดถึงเขาบ่อยๆ  เราจะจำชื่อเขาได้ง่ายขึ้น
  • หลวงพ่อ ฯ เจ้าอาวาส ท่าน บอกว่า  ถ้าพวกเรา รู้ สมุนไพร (แบบลึกๆ) คนละต้น    เรามากัน ๒๕ คน  ก็จะได้ สมุนไพร ๒๕ ชนิด  และ  อีกหน่อย  เมื่อเรามาทำสมุนไพร  ก็จะมี  คนอื่นๆ ผู้รู้ เข้ามาสอน มาเติมให้เรา มากขึ้นเรื่อยๆ
  • พวกเรา จะ หาโอกาส  ไปเดินป่า  ดูสมุนไพรกันอีกครับ  เพราะ โดนกระบวนกรอย่างผม ค่อยๆ ให้เพวกเขา  รักสุขภาพมากขึ้น  ออกมาสูดอากาศนอก กทม   (นึกถึง คำพูด ของ ครูบาสุทธินันท์ ที่บอกว่า "อากาศดีๆ แบบนี้  กี่พันล้านก็ซื้อไม่ได้   พวกแขกอาหรับ สร้างอากาศแบบนี้ไม่ได้แน่ๆ"  ) เริ่มจำชื่อต้นไม้ ใบหญ้า ได้มากขึ้น   เริ่มเห็นว่า คนไม่มีปริญญา ก็มีอะไรดีๆ  อย่าได้ประมาทกัน ครอบครัว พ่อแม่ลูก มาเดินป่าด้วยกัน  เด็กๆ วิ่ง อย่างมีความสุข  ดีกว่า ไปเดินห้าง  ฯลฯ  
  • หาก มีอุทกภัยใหญ่ สงคราม ฯลฯ ต่อ กทม  พวกเรา  ก็มั่นใจ  ในภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น 
  • ฯลฯ

คลิกที่นี่  เพื่อ ดูรูป อ่านเพิ่ม


หมายเลขบันทึก: 226258เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ชอบวัดนี้ค่ะ ท่านเจ้าอาวาสเป็นพระนักพัฒนาและพระนักปฎิบัติ
เคยไปสนทนาธรรมกับท่านทั้งครอบครัวค่ะ

แต่..ชื่อวัดเขียนว่า "วัดปลักไม้ลาย"ค่ะ

ขออนุญาตท้วง นิดนะคะ

พลาดพบอาจารย์ วัดปลักไม้ลายไม่ไกลกันเลยครับ ชอบน้ำฝางครับอาจารย์สีแดง แก้ร้อนใน อาจารย์สบายดีนะครับ

ซื้อ ฝาง มาหลายห่อ เอามาบำรุง เลือด

และ ยาบำรุงธาตุ ยาตัวดังของวัด ฯ มาด้วยครับ แก้ภูมิแพ้

สวัสดีครับ

  • สมุนไพร ให้อะไรๆมากมาย ไม่มีอะไรเลวร้ายเหมือน "สมุนโจร"
  • จำได้ว่าตอนเด็กๆก็รอดมาได้ด้วยยาสมุนไพรจากหลวงพ่อที่วัดข้างบ้าน  ส่วนใหญ่เป็นยาต้มด้วยหม้อดิน น้ำยาดำ กินแล้วขมมาก
  • รู้สึกว่าจะเริ่มกระบวนการด้วย "ยาทุ้ง" หรือกระทุ้งก่อนเสมอ เท่ากับขับถ่ายของเสียออกก่อนรักษานั่นเอง
  • จำได้แบบเลือนๆครับเพราะนานมากแล้ว
  • ส่งความสุข ความปรารถนาดีมายังอาจารย์และทีมร่วมทางทุกคนครับ
  • มาเยี่ยมเยียนอาจารย์ด้วยความระลึกถึง
  • เพิ่งรู้ว่ามีต้นไม้ในดวงใจต้นเดียวกัน
  • มะรุมนะเป็นไม้ในดวงใจของหมอเจ๊อีตรงที่
  • รสหวานและอร่อยเวลาเอามาแกงส้ม
  • พูดแล้วน้ำลายไหล...ขอไปเช็ดมันก่อนค่ะ...5555

เรียน หมอเจ๊

สงสัย ต้อง นัด พ่อครูบา ฯ พี่จุ๋ม ชาวเฮฮาศาสตร์ มา "ดวลมะรุม" ทำอาหารจากมะรุม มาทานกัน

ปลานึ่ง รองด้วยใบมะรุม

ห่อหมกใบมะรุม

ไข่เจียวใบมะรุม

ชามะรุม

มะรุม ยิ่งแตกกิ่งใหม่ๆ

นั้นหมายความว่า เราสามารถที่จะมียอดอ่อน ใบอ่อน ตลอดปี

ดอกก็อร่อย ฝักอ่อนก็อร่อย

กลับมาผมให้ป้าสอน สอยเมล็ดแก่มาเก็บไว้

แนะให้แกะเปลือกกินคนละเมล็ด3เวลาหลังอาหาร

มีรสหวานนำ ขม แต่กลมกล่อม

ขอให้อาจารย์รวบรวใความรู้เรื่องมะรุมไว้มากๆ ปีนี้ผมจะปลูกนับพันต้น

เมื่อวานเอาใบอ่อนมาทอดไข่เจียวอร่อย

อีก2วันจะเอาไปฝากป้าจุ๋ม แบ่งได้นะครับ มีเยอะ

แต่โง่เสียนาน ไม่รู้คุณค่าละเอียด

ต่อไปลุยๆเรื่องสมุนไพรสำตล์ฮา เรียนไป กินไป วิจัยแบบอร่อยๆ

อิอิ

 

  • แวะมาศึกษาทาง g2K ก่อนครับ
  • ตกงานเมื่อไหร่....จะไปขอติดตามพระอาจารย์ไปเรียนรู้ของจริงนะคร๊าบ....อิอิ

ขอบคุณครับ พ่อครู ฯ

รับทราบ พร้อมไปปฏิบัติ ครับ

คนเป็น G6pd ว่ากันว่า อย่าทานครับ และ ถ้าแพ้มะรุม ให้แก้ ด้วย กระชาย

สวัสดีอีกรอบครับ

  • มารอบนี้เพื่อบอกว่า ที่ท่านครูบาฯ บอกว่า เอาใบอ่อนมาทอดไข่เจียวอร่อย นั้นจริงครับ
  • ผมเพิ่งทดลองไปเมื่อสักครู่นี้เอง
  • นี่ไงครับ หลักฐาน

สวัสดีค่ะ อ.วรภัทร์

เมื่อสองปีที่แล้วเคยไปค่ะ

วัดนี้อยู่ท่ามกลางป่าสมนไพร

นอนกระท่อมข้างหลุมศพ

พระที่มาบวชจะทำวัตรเช้าและเย็นเองค่ะ

ผมขอข้อมูลความเป็นมาของส่วนป่าสมุนไพรนะคับ ผมต้องทำรายงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท