ที่มามัสยิดอัลอีมาน อ.ฝาง เชียงใหม่กับโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่


สร้างมัสยิดในที่ดินแปลงแรกซึ่งเป็นอาคารไม้ โดยใช้ชื่อมัสยิด ดุลมะอ์มูรุบิลคอยรอตุ

โครงการชุมชนมัสยิดครบวงจร(มัสยิดปลอดบุหรี่) มัสยิดอัลอีมาน อ.ฝาง เชียงใหม่

วันนี้ทางทีมงานของเราออกบ้านกันแต่เช้า ไปถึงอำเภอฝาง แวะกินข้าวซอยที่ร้านของอีหม่ามสุจิต  ริมแม่นำรวก ข้าวซอยอร่อย เพราะเส้นทำเอง ได้รสที่เหนียวนุ่ม อร่อยจนลืมเคี้ยว ก็น่าจะพูดได้ นอกเรื่องละครับ  เรามาทำกิจกรรม ร่วมกับมัสยิด  ดังที่จะได้นำเสนอดังนี้

 


ประวัติมัสยิดอัลอิมาน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่


มัสยิดอัลอิมานฝาง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ซึงประชาชนชาวมุสลิมอำเภอฝางได้ร่วมกันบริจาคเงินโดยการนำของนายไสว หน่อเจริญ เพื่อชื้อที่ดินสำหรับสร้างมัสยิดแต่เงินที่ได้รับการบริจาคได้ไม่พอที่จะซื้อ จึงได้ขอบริจาคไปยังกลุ่มมุสลิมทั่วประเทศ ได้รับบริจาคมาสามารถซื้อที่ดินได้ 2 แปลง คือ แปลงที่ 1 มีเนื้อที่1 งาน 86 ตารางวา โฉนดเลขที่16296 ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เวียง อ.ฝาง แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 2 งาน 38 ตารางวา โฉนดเลขที่ 15879 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.เวียง อ.ฝาง ได้รับโฉนดวันที่ 16 พ.ย. 2532 ที่ดินทั้งสองแปลงมีระยะห่างกันเพียง 500 เมตร


หลังจากที่สร้างมัสยิดในที่ดินแปลงแรกซึ่งเป็นอาคารไม้ โดยใช้ชื่อมัสยิด ดุลมะอ์มูรุบิลคอยรอตุ จดทะเบียนหมายเลขทะเบียนที่ 7/2514 โดยมีอิหม่ามคนแรกในมัสยิดหลังนี้ชื่อ นายเจ่งเว่ง แซ่ซือ คอเต็บ นายเว่นซึง แซ่ม้า บิหลั่น นายมาตะเลียง แซ่ม้าใช้การได้ประมาณ 3 ปี ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบศาสนกิจ เพราะสถานที่แออัดและต้องรบกวนสถานที่ผู้อื่นเสมอ ดังนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อตั้งมัสยิดแห่งใหม่ขึ้นในที่ดินแปลงที่ 2 เป็นอาคารตึกถาวร มีสถานที่กว้างขวางมากพอที่จะประกอบศาสนกิจได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป


ในการก่อสร้างมัสยิดแห่งใหม่นี้ ได้รับการช่วยเหลือจากชาวมุสลิมทั่วประเทศเป็นทุนสนับสนุนการก่อสร้าง โดยแล้วเสร็จ ได้จดทะเบียนมัสยิด เลขหมายทะเบียนที่ 7/2514 ณ ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2521 ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนแรกของมัสยิดคือ นายไสว หน่อเจริญ ปัจจุบันมีคณะกรรมการดำเนินงานตามรายชื่อคือ
นายสุจินต์ อธิกอัจฉริย อิหม่าม
นายดวงดี กัจฉปาวตาร คอเต็บ
นายวันชัย อารยะชุตินันท์ บิหลั่น
นายพงพันธ์ พุทธนันท์ กรรมการ
นายสุทัศน์ รังสี กรรมการ
นายสมศักดิ์ เปรมวิชัย กรรมการ
นายสรุศักดิ์ สว่างวรรณ กรรมการ
นายชาญณรงค์ บุญช่วย กรรมการ
นายเจนวิทย์ แซ่ม้า กรรมการ

ต่อพี่น้องมุสลิมอำเภอฝาง ได้ร่วมกันบริจาค
เงินเพื่อซื้อที่ดินขึ้นมาอีก 1 แปลง โฉนดเลขที่ 24460 ตั้งอยู่
หมู่ที่ 2 ต.เวียง อ.ฝาง มีเนื้อที่ 2 ไร่ 08 ปัจจุบันมี
ประชาชนชาวมุสลิมอำเภอ ฝางมีทั้งหมด 27 หลังคาเรือน
160 คน แบ่งเป็นชาย 75 คน หญิง 85 คน อาชีพค้าขายและทำ
สวน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน



โครงการชุมชนมัสยิดครบวงจร(มัสยิดปลอดบุหรี่)

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ “คน” ในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การศึกษา-การเรียนรู้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนทำให้ “คน” สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมโลกได้
มัสยิดเป็นสถาบันทางศาสนาอิสลาม ที่มีบทบาทสำคัญและมีความหมายในการพัฒนาการเรียนรู้ของประชากรในชุมชนอย่างมีคุณค่ายิ่ง การกำหนด “วิสัยทัศน์” และ “พันธกิจ” แห่งมัสยิด ถือเป็นมิติใหม่ที่สังคมมุสลิมและผู้บริหารมัสยิดยุคใหม่ต้องเพิ่มความตระหนักให้มากขึ้น บุคคลใดที่ได้รับการเรียนรู้ที่ดี มีคุณธรรม ย่อมทำให้ครอบครัวดีมีความสุข ครอบครัวที่ดี มีความสุข ย่อมนำพาความเจริญก้าวหน้าสู่มัสยิดสู่ชุมชนและสู่สังคมประเทศชาติในที่สุด นั่นคือ หากมัสยิดสามารถ “ปฏิรูป” บทบาทเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) และสามารถส่งเสริมหรือสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ ย่อมเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าเราสามารถบริหารจัดการมัสยิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล อย่างแท้จริง


แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย ศูนย์ประสานงานภาคเหนือตอนบนเล็งเห็นความสำคัญในสถาบันแห่งนี้จึงได้ทำโครงการชุมชนมัสยิดครบวงจร(มัสยิดปลอดบุหรี่)



เป้าหมาย
ได้มัสยิดเป็นมัสยิดใน จังหวัดภาคเหนือเป็นมัสยิดต้นแบบปลอดบุหรี่ 3 มัสยิด
และได้มัสยิดที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายของมัสยิดต้นแบบอีก 9 มัสยิด รวม 12 มัสยิด
นำสู่พันธสัญญาร่วมกันในกลุ่มเครือข่ายร่วมกันพัฒนารณรงค์สร้างทัศนคติที่ดีต่อเรื่องของสุขภาวะและมีความเข้าใจในการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีในมัสยิดเป็นมัสยิดนำร่องและตัวอย่างในการดำเนินการมัสยิดอื่น ๆ ต่อไป




วัตถุประสงค์

1-เพื่อขยายเครือข่ายชุมชนและองค์กรมัสยิดด้านการมีส่วนร่วมในเรื่องของสุขภาวะตามยุทธศาสตร์ของแผนงานฯ
2. เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนควมรู้ด้านผลกระทบทางสุขภาพของชุมชนมุสลิมในมัสยิดต่าง
3-เพื่อการจัดบริเวณพื้นที่มัสยิดปลอดบุหรี่ สร้างบรรทัดฐานให้มัสยิดมีบทบาทในการปกป้องเยาวชนจากบุหรี่ และยาเสพติดจัดภูมิทัศน์ให้มัสยิดมีความสง่างาม
4-เพื่อการอบรมนำเสนอคุตบะห์แนวทางสุขภาวะตามหลักสุขภาวะรวมทั้งหลักการของศาสนา

วิสัยทัศน์ของโครงการ
ประชาชนมุสลิมไทยภาคเหนือใส่ใจสุขภาพสิ่งแวดล้อม


ผลที่คาดว่าจะได้รับ / ความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการ

1. คนในชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่า ความ สำคัญของมัสยิด ช่วยกันรักษาความสะอาด และมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องของสุขภาวะและมีความเข้าใจในการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีในมัสยิด เป็นมัสยิดนำร่องและตัวอย่างในการดำเนินการมัสยิดอื่น ๆ ต่อไป
2. ประชาชนในกลุ่มมัสยิดเป้าหมาย มีการรณรงค์ และควบคุมการสูบบุหรี่ ของผู้ที่เข้ามาในมัสยิด
ดำเนินการในเชิงรุก และขยายผลในสุขภาวะต่อไป
3.ผู้นำทางศาสนาในมัสยิดเป้าหมายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สัปบุรุษในพื้นที่ ทั้งนำความรู้ไปปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันประกาศพันธสัญญาในการพัฒนากระบวนการด้านสุขภาวะ สำหรับเป็นหลักประกันการพัฒนามัสยิดและเครือข่ายมัสยิดที่เข้าร่วมโครงการ



ที่มาประวัติมัสยิด อัลอีมานวารสารอัลอิมาน
AL-IMANI NEWS LETTER
ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนสิงหาคม 2549
อิหม่าม ศุหัยบ์ เรียบเรียง
อ.สันท์ชัย นัยติ๊บ พิมพ์
นายชุมพล ศรีสมบัติ ภาพ
สนับสนุนโดย โรงเรียนธนาเทคโนโลยี เชียงใหม่


รายงานโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ
ศูนย์ประสานงานภาคเหนือ
แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย สสม.

 

คำสำคัญ (Tags): #มุสลิมอำเภอฝาง
หมายเลขบันทึก: 225100เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2008 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Aslamualuikum คะ

ไม่ได้เข้า Gotoknow หลายวัน พอเปิดก็ดีใจมากเลยคะ ที่เห็นพี่น้องมุสลิม ช่วยกันดูแลสังคมมุสลิมของเรา อย่างจริงจัง ...ดิฉันก็ช่วยงานในส่วนของคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดสงขลา ในโครงการ สสม. บ้างเหมือนกันคะ...ยินดีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ...

เป็นกำลังใจ ให้ทำงานต่อไปคะ...ดีใจมากๆ คะ

วัสลาม

ผุสดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท