หลักเกณฑ์ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา (สมศ.)


การประเมินจะประเมินทั้งระดับสถาบันโดยรวม และระดับกลุ่มสาขาวิชา

   ตามที่เราชาว NUQA Staff ได้ติดตามและรับทราบแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มาเป็นระยะๆ และดิฉันก็ได้ทราบข่าว (ทางเวปไซต์ของสมศ.) ว่าจากการประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ.เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2549 ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์ และแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  โดยให้แบ่งกลุ่มสถาบันออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
   1.  กลุ่มสถาบันเน้นการวิจัยและบัณฑิตศึกษา  
   2.  กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตและการพัฒนาสังคม
   3.  กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตเป็นหลัก
   4.  กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม
  
   ซึ่งจะทำการประเมินตามจุดเน้นและพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งตัวบ่งชี้จะผันแปรไปตามจุดเน้นและพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ โดยการประเมินจะประเมินทั้งระดับสถาบันโดยรวม  และระดับกลุ่มสาขาวิชาใน 10 กลุ่ม คือ
   1.  วิทยาศาสตร์สุขภาพ
   2.  วิทยาศาสตร์กายภาพ
   3.  วิศวกรรมศาสตร์
   4.  สถาปัตยกรรมศาสตร์ 
   5.  เกษตรศาสตร์
   6.  บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี การจัดการการท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์
   7.  ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
   8.  ศิลปศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
   9.  สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
 10.  สหวิทยาการ

   โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง  เพื่อให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาในปี 2549 ในระดับอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 74 แห่ง  สำหรับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ น้ำหนักและเกณฑ์การประเมินฯ ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่  ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ. 49  ค่ะ

   ที่มา : http://www.onesqa.or.th

หมายเลขบันทึก: 22378เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท