3 เม.ย. 49


Present การฝึกงานช่วงที่ 1 + Raid
           วันนี้ตอนบ่ายโมงครึ่งนักศึกษาฝึกงานแต่่ละหน่วยงานจะต้องออกมา Present สิ่งที่ได้จากการฝึกงานให้เพื่อนๆหน่วยงานอื่นได้ฟัง ในช่วงเช้าก่อน Present พวกเราในกลุ่ม 5 คนก็ได้เตรียมเนื้อหาที่จะ Present กัน ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ก็นำมาจาก Blog ที่ได้เขียนไว้ในแต่ละวัน ตอนแรกพวกเราก็เครียดกันกลัวว่าจะPresent ออกมาไม่ดี แต่พอถึงตอน Present จริงกลับเป็นว่ากลุ่มเรา Present ได้ดีมีเนื้อหาที่จะพูดครบถ้วน เนื่องมาจากว่าเราได้มีการเขียน Blog กันทุกวัน

           Raid


             RAID ย่อมาจากคำว่า Radundant Array of Independent Disks

           การทำงานของ RAID นั้น ก็คือการเอา HDD หลายๆ ตัวมาต่อแล้วให้มันทำงานด้วยกัน อาจจะเป็นการรวมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรือให้อีกตัวสำรองข้อมูลของอีกตัวก็ได้ แต่สิ่งที่ทำคัญที่สุดของ RAID คือ ควรใช้ HDD ขนาดเท่ากัน และยี่ห้อเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นรุ่นเดียวกันด้วยยิ่งดี จะได้ไม่มีปัญหา
Raid ทีนิยมใช้กันมีมาก คือ Raid 0 , 1 , 5 ดังนี้

        - RAID 0 เป็นแบบที่ง่ายและเป็นพื้นฐานที่สุดเลย คือ ทำการรวม HDD 2 ตัว (หรือมากกว่า) ให้กลายเป็น HDD ตัวเดียวกัน (เรียกว่า Logic Drive) เช่น ถ้ามี HDD 40G 2 ตัว ตัวแรกจะเป็น C อีกตัวก็จะเป็น D เมื่อเราแปลงเป็น RAID 0 เนื้อที่ของทั้ง 2 ตัวก็จะรวมกันเป็น Drive เดียวกัน ชื่อ C มีขนาด 80G โดยเมื่อแปลงเป็น RAID 0 แล้ว OS และโปรแกรมต่างๆ ก็จะมอง Drive ใหม่นี่ เสมือนเป็น Drive เดีวยวกันที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลต่างๆ ได้ตามปกติ
           ข้อดี คือ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลเร็วขึ้นมาก เพราะมีหัวอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น (ในระบบ SCSI นะครับ ถ้า IDE หัวอ่านเพิ่มขึ้น ก็ไม่เร็วขึ้นหรอก ไปอ่านที่ อันแรกก็ได้ครับ) และมันยังขยายเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วย
           ข้อเสีย เนื่องจากมันไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลเลย หรือแม้แต่ Parity Bit มันก็ไม่ได้ทำ ถ้า HDD ตัวไหนเสีย มันจะทำให้ Logic Drive ที่เราสร้างขึ้น เสียไปทั้งหมด ข้อมูลของเราก็จะหมดไปด้วย

          -
RAID 1 ต่างจาก RAID 0 เนื่องจาก RAID 1 จะเก็บข้อมูลทั้งหมดลง HDD ตัวแรก เหมือนการใช้งานทั่วๆ ไป แต่จะมี HDD ตัวที่สองเพิ่มเข้ามา เราเรียก HDD ตัวนี้ว่า MIRRORING หรือ DUPLEXED โดยที่ HDD ตัวทั่สองนี้ จะทำการสำรองข้อมูลจากตัวแรก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล โดยมีข้อกำหนดว่า HDD ทั้ง 2 ตัว ต้องขนาดเท่ากันพอดี ถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นยี่ห้อ และรุ่นเดียวกันด้วย
           ข้อดี อย่างที่เห็นล่ะครับ ข้อมูลจะถูกสำรองไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะหายเลย ถ้า HDD ตัวไหนเสีย อีกตัวก็จะขึ้นมาทำงานแทนทันที ถ้าเป็น Server ที่มีระบบ Hot Swap เราสามารถถอด HDD ตัวที่เสีย ไปเปลี่ยน แล้วเอาตัวใหม่มาใส่ได้ทันที โดยไม่ต้องปิดเครื่องเลย เมื่อเราเอา HDD ตัวใหม่มาใส่ ระบบก็จะทำการสำรองข้อมูลไปที่ HDD ตัวใหม่เอง โดยอัตโนมัติ และข้อดีอีกอย่างคือ มันสามารถเลือกที่จะอ่านข้อมูลจาก HDD ตัวไหนก็ได้ ทำให้มันอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น
           ข้อเสีย เนื่องจากมันต้องเขียนข้อมูลลง HDD ถึง 2 ตัวต่อข้อมูล 1 ชุด ทำให้ภาระในการเรียนข้อมูลมีมากขึ้นเป็น 2 เท่าเลย ทำให้เวลาในการเขียนข้อมูลมากกว่าปกติ และระบบนี้ใช้เงินเยอะพอสมควร เพราะต้องใช้ HDD 2 ชุด ต่อข้อมูล 1 ชุด

          -
RAID 5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ และความสามารถในการป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะ RAID แบบต่างๆ จะมีข้อดีไม่ครบทั้งหมด คืออย่างมากก็ได้แค่ 2 ใน 3 อย่าง RAID 1+0 ประสิทธิภาพดี ป้องกันข้อมูลได้ แต่แพงโคตร RAID 5 ต้องการ HDD 3 ตัวในการทำงาน โดยนำเนื้อที่ของ HDD แต่ละตัวมาเก็บรวมกันเป็น 1 Logic Drive เหมือนการทำงานของ RAID 0 แล้วสร้าง Parity Bit เพื่อใช้กู้ข้อมูลของแต่ละ Drive ขึ้นมาโดยแยกออกไปเขียนใน Drive อื่นๆ เช่น Parity Bit ของ HddA จะนำไปไว้ที่ HddC ของ HddC ก็จะนำไปไว้ที่ HddB ส่วนของ HddB ก็จะนำไปไว้ที่ HddA วนกันไป 555
           ข้อดี ข้อมูลไม่หายแน่นอน เพราะมีการเก็บ Parity ไว้ใน HDD แต่ละตัว แล้วความเร็วในการอ่านข้อมูล ก็เยอะมากๆ ด้วย เนื่องจากมี HDD ถึง 3 ตัวนี่
           ข้อเสีย เขียนข้อมูลได้ช้ามากๆ เนื่องจากต้องเขียนข้อมูลแล้ว ยังต้องไปเขียน Parity อีก แล้วยังต้องใช้ HDD ถึง 3 ตัว ซึ่งเปลืองมาก และอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลก็ช้ามากๆ


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22388เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท