การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ณ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

สวัสดีครับชาว Blog

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน  2551 ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ให้ไปบรรยาย เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ (Human Capital in the Globalization) ซึ่งเป็นการประสานงานผ่านลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณชฎารัตน์ เฮงษฎีกุล นับเป็นอีกงานหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นการต่อยอดจากงานเสวนา Super Human Capital for Globalization (จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551) ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา หากท่านใดสนใจก็ติดตามทาง Blog ได้

 ผมต้องถือโอกาสนี้ขอบคุณ รศ.ดร. ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การต้อนรับผมอย่างอบอุ่น บรรยากาศของงานในวันนั้นดีมาก ผมได้เรียนรู้มากมายจากงานในครั้งนี้ และก็จะได้วางแผนกับทีมงานผลิตรายการโทรทัศน์ของผมที่จะไปมอบเทปโทรทัศน์รายการ คิดเป็น..ก้าวเป็น กับ ดร.จีระ (ในรูปแบบวิซีดี) ซึ่งผมได้ร่วมมือกับ True Visions 08 เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับทางมหาวิทยาลัยฯ ด้วย

ผมจึงได้นำบรรยากาศในวันนั้นมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย และก็จะนำประเด็นสรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้ในวันนี้มาแลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่นี่ต่อไปครับ

                                                            จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 221958เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับชาว Blog

            ระหว่างที่รอการสรุปจากลูกศิษย์ของผม ผมอยากจะเล่าเหตุการณ์ที่ประทับใจจากการเรียนรู้ในครั้งนี้เรื่องหนึ่ง คือ มีนักธุรกิจท่านหนึ่งได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า การสัมมนาในวันนี้มีประโยชน์ เพราะทำให้นักธุรกิจหันมาสนใจเรื่อง คน มากขึ้น เพราะนักธุรกิจส่วนใหญ่ในโลกแห่งความเป็นจริงปัจจุบันนั้นยังไม่สนใจและยังไม่มีศรัทธาในเรื่อง คน คือ ทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง อย่างตัวเขาเองแม้ว่าจบการศึกษาเพียงแค่ชั้น ม.3 แต่เขาสามารถมีธุรกิจถึง 11 แห่ง และสนใจเรื่องคนมาโดยตลอด และคิดว่าปัจจุบันมีคน 2 ประเภท คือ

1.      คนที่มีการศึกษาดี จบปริญญาแต่ทำงานเพื่อเงินเท่านั้น

2.      คนที่อาจจะไม่มีปริญญา แต่กลับคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและทำงานได้มากกว่า

ดังนั้น การศึกษาไทยจะต้องคิดถึงการเชื่อมโยงระหว่างความรู้ในห้องเรียนกับความรู้เพื่อนำไปทำงานหรือประกอบอาชีพให้ได้ ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจมากครับ

อีกความคิดเห็นหนึ่งเป็นของท่านรองอธิการฯ ซึ่งท่านได้ให้ความเห็นว่าทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8 K’s ของผมนั้นมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการทำให้คนไม่ใช่มองแค่เพียงตัวเองเท่านั้น แต่เป็นการมองไปถึงสังคมและประโยชน์ส่วนรวมด้วย เช่น ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข และทุนแห่งความยั่งยืน

นี่ก็เป็นเพียงบางตัวอย่างความคิดเห็นที่ผมคิดว่าเราน่าจะนำไปคิดต่อครับ

                                                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้อาจารย์กล่าวถึง ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข และทุนแห่งความยั่งยืนเพิ่มเติมด้วยครับ

อาจารย์ครับ ผมเคยฟังรายการ"เพื่อนรัตติกาล" ของคุณกุลชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประมาณปี 2522 หรือ 2523 (ไม่มั่นใจ) ได้ยินเพลงหนึ่งชื่อ"ปลักกรรม" ดูเหมือนผู้จัดบอกว่าท่านอาจารย์เป็นผู้ประพันธ์เพลงนี้ ใช่ไหมครับ(สงสัยมากแต่ก็ยังคิดว่าผมเองจำไม่ผิด) จะติดตามงานของท่านอาจารย์ต่อ ๆ ไปครับ

เคยชมรายการของอาจารย์มาบ้าง ไม่นึกว่าจะโชคดีได้เจออาจารย์ จริงๆ อยากให้จัดบรรยายเช่นนี้อีก ได้ความรู้ดีครับ

 

 

อาจารย์ค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทุน 8K และ 5K เท่าไหร่นัก

แต่พอเข้าใจว่าเราควรต้องพัฒนาตัวเอง ด้วยการเรียนรู้แบบต่างๆ ด้วยการใส่ใจในหน้าที่การงาน และทำด้วยความสุข happiness อย่างที่อาจารย์กล่าวไว้

หัวข้อการบรรยายได้ประโยชน์ดีค่ะ

สวัสดีครับชาว Blog

          วันนี้ผมได้รับ e-mail จากลูกศิย์ของผม คุณชฎารัตน์ เฮงษฎีกุล  เป็นการสรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้จากการบรรยาย เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ผมต้องขอขอบคุณคุณคุณชฎารัตน์ ลูกศิษย์ปริญญาเอกของผมที่ช่วยสรุปประเด็นสาระสำคัญของการเรียนรู้ในวันนั้นมา Share กับพวกเราที่นี่ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 

สรุปสาระสำคัญของการร่วมเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ (Human Capital in the Globalization)

.....................................................................................................

เมื่อวันที่ 9 และ 11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีการบรรยายพิเศษ เนื่องในงานเปิดบ้านศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ. (CEC KMUTT  Open House 2008) ณ อาคารสัมมนา ชั้น 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในงานได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลายท่านมาร่วมบรรยาย อาทิ

·       คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการใหญ่ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย บรรยายเรื่อง การศึกษาและกระแสโลกาภิวัตน์” (Education and Globalization)

·       .ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธาน Chira Academy บรรยายเรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์” (Human Capital in the Globalization)

·       อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย ที่ปรึกษาอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร มจธ. บรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การเรียนรู้เชิงนวัตกรรม” (Innovative Learning Strategy)

·       ดร. อรสุดา เจริญรัถ ผู้อำนวยการกองโครงการสัมพันธ์ สำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมราชวัง บรรยายเรื่อง การพัฒนาคนตามแนวพระราชดำริ” (King’s Initiativen on Human Development)

·       รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ บรรยายเรื่อง ภาวะสังคมปัจจุบันและความเสี่ยงต่อเยาวชนW

·       คุณชฎาพร สุขสิริวรรณ นักวิจัย ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี บรรยายเรื่อง เมื่อลูกบาดเจ็บ จะช่วยอย่างไร?”

 

            ในส่วนการบรรยายโดยท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้กล่าวการพัฒนาทุนมนุษย์ต้องเริ่มจากครอบครัว ทั้งในด้านการอบรมสั่งสอน การให้การศึกษา การมีโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ซึ่งโยงถึง HR Architecture ที่ท่านอาจารย์ได้ออกแบบไว้ หากด้าน supply side คือการผลิตทุนมนุษย์ได้อย่างมีคุณภาพก็จะสามารถตอบสนองต่อความต้องในภาคการผลิตต่างๆในรูปแบบที่สามารถแข่งขันได้

            อาจารย์ได้นำเสนอเรื่องทุนต่างๆ ที่กำหนดไว้ใน 8K’s และ 5K’s กล่าวคือ มนุษย์นอกจากจะมีทุนทางปัญญา ความรู้ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม มนุษย์ต้องไม่ลืมที่จะมีคุณธรรม หรือทุนทางจริยธรรม เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน อีกทั้งต้องไม่ลืมสร้างความสุขในชีวิตในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องแน่นอน

            อาจารย์กล่าวว่า เราต้องมอง โลกาภิวัตน์ ให้ออกว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การศึกษาจะเป็นไปในรูปแบบไหน เมื่อไหร่ที่เข้าใจ ก็จะสามารถสร้างทุนมนุษย์และต้องสร้างทุนมนุษย์ให้อยู่รอดได้ด้วย แต่โลกาภิวัตน์ อาจไม่ใช่แค่การแข่งขัน การเปลี่ยนแปลง แต่หมายรวมถึง การเมืองที่โปร่งใส ภาวะโลกร้อน หรือแม้แต่การดูแล Green Society

            โดยสรุป ท่านอาจารย์เชื่อมั่นว่าวันนี้จะเป็นวันที่ท่านกับทีมงานของพระจอมเกล้าธนบุรีจะมาร่วมกันที่จะขยายความเข้าใจและต่อยอดการเรียนรู้ เรื่องทุนมนุษย์ให้อยู่รอดในโลกาภิวัตน์ต่อไป และน่าจะขยายผลออกไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ด้วย

            นอกจากการบรรยายแล้ว ยังได้มีการอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เช่น

·       จากเจ้าหน้าที่ มจธ. เสนอความคิดเห็นว่า การพัฒนาคนให้เริ่มที่ การพัฒนาตนเอง โดยมองตัวเองให้ออก รู้ตัวตน ให้ได้

·       จากท่านรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร อ. เกษรา วามะศิริ เสริมเรื่องการสร้าง จิตสาธารณะ ร่วมแบ่งปัน ความมีน้ำใจจะทำให้เกิดการช่วยเหลือกัน

·       ตัวแทนจากชุมชน เสนอความคิดเห็นเรื่องการไม่ตระหนักร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน อาจารย์เสนอว่า คนเราควรพัฒนาตนเองให้เก่ง ฝึกตนเองให้เป็นคนดี และไม่ควรลืมเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

·       จากเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีปริญญา แต่มีเครือข่ายธุรกิจถึง 11 แห่ง ทำให้เราตระหนักได้ว่าถึงแม้ปริญญาไม่มี แต่ปัญญามี ก็สามารถนำสู่ความสำเร็จได้ ขอให้ “มีใจ” ที่จะเรียนรู้

·       จากนักเรียนมัธยมปลาย นายกานต์ จันทรชาลี เสนอเรื่องการพัฒนาครูซึ่งเป็นบุคคลที่เปิดโลกทัศน์ของเยาวชนวันนี้ เพื่อเป็นผู้ใหญ่วันหน้า  อาจารย์เสนอให้เปิด website ในหัวข้อดังกล่าวเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา

      ในงานนี้ ท่านอาจารย์ยังได้มอบรายการโทรทัศน์อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนายกานต์ จันทรชาลี ในฐานะเด็กที่มีความกล้าร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาครู

            หากท่านผู้อ่านสนใจบทสรุปการบรรยายของวิทยากรท่านอื่น และประมวลภาพในงาน ทั้ง 2 วัน สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ ทราบ www.cec.kmutt.ac.th

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท