วิทยานิพนธ์ปริญญาโท


โรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ

เดือนมีนาคม 2549 เก็บข้อมูลภาคสนาม (ครั้งที่4)

เก็บข้อมูลที่พื้นที่ภาคสนามอำเภอกุดชุม และตัวจังหวัดยโสธร(ในส่วนของหน่วยงานราชการ)

พบปัญหาที่เกิดขึ้น - การเข้าไม่ถึงตัวผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร อาจเนื่องเพราะหน้าห้องแนะนำให้ไปที่ ท้องถิ่นจังหวัด ซึ่งอยู่ภายในตึกเดียวกันแทน จากนั้น เดินทางไปที่สหกรณ์จังหวัดยโสธร เพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูล ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้ขอให้คณะสังคมฯ มช.ออกหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยในส่วนของสหกรณ์จังหวัด

ที่อำเภอกุดชุม - นายอำเภอไม่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดได้มากนัก เนื่องเพราะย้ายเข้ามารับราชการตำแหน่งนายอำเภอที่นี่ใหม่ แต่ก็เรียกเกษตรอำเภอระดับหัวหน้ามาให้รายละเอียดลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำเภอกับโรงสีข้าวฯ ซึ่งได้ข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมมากขึ้น

ที่โรงพยาบาลอำเภอกุดชุม - ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แนะให้คุยสัมภาษณ์กับเภสัชกรระดับ7ของโรงพยาบาลซึ่งดูแลด้านสมุนไพร ทั้งการผลิต การอบ การบรรจุภัณฑ์ ทำให้ทราบลักษณะความสัมพันธ์เกี่ยวกับงานของโรงพยาบาลและเครือข่ายของโรงสีข้าวฯ

การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในชุมชนพบว่า ประเพณีเก่าก่อนโดยเฉพาะในภาคอีสาน ยังคงเป็นตัวยึดเหนี่ยวให้คนเข้ามามีส่วนร่วมกัน การเข้ามามีส่วนร่วมใน"งานบุญ" ทำให้สังเกตได้ชัดว่า เมื่อมีกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่เกิดขึ้นภายในชุชนและเป็นสิ่งสร้างสรรค์ ผู้คนจะให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเข้มแข็งของกิจกรรมโรงสีฯ

การสัมภาษณ์ สหกรณืจังหวัดทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ทางสหกรณ์จังหวัดต้องการทราบข้อมูลในส่วนที่เราลงพื้นที่ชุมชนด้วย แต่ข้อมูลบางอย่างบอกสหกรณ์จังหวัดไปอาจมีผลกระทบด้านลบต่อทางโรงสีฯ จึงต้องบอกเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพราะข้อมูลเชิงลึกที่พบ ชาวบ้านเล่ามาทั้งหมดแล้วบอกให้เราเก็บเป็นความลับไม่ให้เผยแพร่ก็มี

ด้านความเป็นนโยบายสาธารณะ - - ทางอำเภอกุดชุมเองได้จัดกิจกรรมทางด้านการเกษตรอินทรีย์มาแล้วหลายปีโดยเอากลุ่มโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาตินี้เป็นกลุ่มนำร่อง สหกรณ์จังหวัดเองก็ให้ความเห็นว่า กลุ่มเครือข่ายและกิจกรรมของทางโรงสีข้าวฯ สร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น หากกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะจะเป็นสิ่งที่ดีที่น่านำไปใช้เป็นแบบอย่างกับกลุ่มอื่นๆ

แต่ทั้งนี้...จากการสังเกตเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการบางส่วน(ขณะสัมภาษณ์) มองออกว่าเขาไม่ต้องการให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรองมากนัก การติดยึดกับเจ้ายศเจ้าอย่างคงมีอยู่สูง ซึ่งแสดงออกให้เห็นเล็กน้อย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22176เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ไม่แน่ใจว่า เคยให้ข้อมูลเรื่องที่มสช. มีการให้ทุนกับโครงการโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์

http://www.hppthai.org/subject/show_subject.php?id=51%20&PHPSESSID=ab1b745aabb600a1539625021299e109

ที่อยากแนะนำคือคุณธวัชชัย โตสิตระกูล พี่เขาทำงานเรื่องเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยโสธรด้วย หากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยเรื่องที่ทำอยู่กับพี่เขาก็จะทำให้เราเห็นภาพที่เชื่อมโยง ลองติดต่อพูดคุยกับพี่เขาก่อนในระหว่างที่กำลังเขียนเล่มน่าจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ ติดต่อที่

สหกรณ์กรีนเนท จำกัด (Green Net Cooperative)
มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation)

183 อาคารรีเจนท์เฮาส์
ถนนราชดำริ, ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 651-9055-6, 651-9073
โทรสาร: 651-9072
website : http://www.easywebtime.com/es2014gon/index.html

ถ้ามีความคืบหน้ายังไง ก็เขียนมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านด้วยนะคะ

 

 

คุณธวัชชัย โตสิตระกูล เป็นกรรมการของโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ หากแต่ไม่ค่อยอยู่ในพื้นที่ ผมลงพื้นที่ทั้ง 4 ครั้งไม่เจอและไม่ได้สัมภาษณ์ อาจเพราะเวลาไม่ตรงกัน

.....

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ เพื่อศึกษาลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กับ โรงสีข้าวฯ ในการนี้จึงได้ทำการสัมภาษณ์ทั้งฝั่งของหน่วยงานราชการและองค์กรชุมชนคือโรงสีข้าวฯ ซึ่งการสัมภาษณ์ทั้งหมดที่ได้จะนำมาประมวลผล จากความรู้ตามหลักวิชาที่เรียน

และขั้นตอนสุดท้ายคือการกำหนดออกมาเป็นนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลรวมสุดท้ายของการศึกษาตามกรอบแนวคิดที่ได้วางไว้และนำเสนอในโครงร่างวิทยานิพนธ์

.....

เมื่อวาน (25 เมษายน 2549) รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง จัดเสวนาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกับการจัดการปัญหาในท้องถิ่น ซึ่งได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณะท้องถิ่น เป็นประโยชน์และต่อยอดความรู้ในการเพิ่มเติมเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ได้มาก

 

วันหน้าจะเขียนถึง การลงพื้นที่ภาคสนามแต่ละครั้งลงไว้ให้อ่านครับ

 

พฤษภาคม 2549

การเขียนวิทยานิพนธ์เริ่มเข้าสู่ 70 % ของDraft ที่ 1 เพื่อเสนอให้ประธานควบคุมวิทยานิพนธ์อ่านวิทยานิพนธ์เพื่อเสนอแนะเพิ่มเติมเนื้อหา การเขียนวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ได้ปรับรูปการเขียนใหม่ จากการอ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของรุ่นที่ผ่านมาจะมีฟอร์มคล้ายกัน มีการเรียงลำดับในการเขียนแบบเดียวกัน แต่ยังไม่แตกยอดของการเขียนที่แตกต่างออกไป

คณะรัฐศาสตร์ มช. จากการประชุมสภาอาจารย์ให้ทบทวนรูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์ใหม่ ทำให้ข้าพเจ้าต้องถอดรื้อการเขียนจากฟอร์มตามแบบรุ่นก่อนๆ ได้หันมาเขียนในรูปแบบของการผสมผสาน

พฤษภาคม 2549 ทำให้ข้าพเจ้าสับสนทางการเขียนมากขึ้นกว่าเดิมในการเรียบเรียงข้อมูลและผลการศึกษาที่จะมาเขียน สาเหตุของความสับสนอาจเป็นเพราะการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นหมวดหมู่ หนังสืออ่านประกอบค่อนข้างเยอะแต่ไม่เป็นระเบียบในการจัดเก็บ ทำให้เวลาจะนำมาทำงานนั้นหายากเพราะกองรวมกัน อีกทั้งเอกสารที่เป็นกระดาษจากการถ่ายเอกสารเป็นสิ่งที่หายากเพราะซ้อนทับกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ข้าพเจ้าไปหาซื้อแฟ้มมาถึง 5 แฟ้มใหญ่ๆ เพื่อจัดหมวดหมู่เอกสาร(ไม่ให้รกห้องด้วย)ให้เป็นระเบียบและง่ายต่อการนำออกมาใช้

พฤษภาคม 2549 อีกนั่นแหละ - ข้าพเจ้าต้องน้ำหนักตัวลดลง 2 กิโลกรัมจากที่ไม่มีให้ลดแล้ว การออกกำลังกายแทบจะไม่มีเวลาเพราะมัวแต่อ่านๆๆ เขียนๆๆ เวลากลางคืนเป็นเวลาอันสงบไม่มีเสียงรบกวนจากรถที่วิ่งเส้นทางหน้าหอพัก ทำให้ข้าพเจ้าใช้เวลานั้นในการทำงาน และใช้เวลากลางวันเป็นเวลานอน โลกของข้าพเจ้าเลยกลับด้าน ... ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่า นี่แค่เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย ถ้าหากเขียนเป็นภาษาอื่นคงวุ่นวายมากกว่านี้หลายเท่าตัว

 

วันนี้วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางศาสนาของโลก - แต่ข้าพเจ้าไม่ได้หยุดการทำงานเขียนวิทยานิพนธ์ นอนตอน 05.30 น. ตื่นอีกทีตอน 09.30 น. กระแตออกมาวิ่งเหยาะๆบนต้นลิ้นจี่หน้าห้องพัก ตกบ่ายแดดร้อนแทบจะไม่อยากออกไปไหน พอถึงเย็นฝนก็ตั้งเค้ามาเยี่ยมเยือนถึงที่ อากาศเป็นใจ ---- ให้เราง่วง

...ลวงเลยมาจนถึงวันนี้ งานวิทยานิพนธ์เริ่มจะเข้าเค้าเข้ารอยกับเขาซะที เริ่มจากระบบการเขียนที่ปั่นป่วนกวนประสาทในตอนแรก มาปรับใหม่ใส่แฟ้มแยกหมวดหมู่ ค่อยสะดวกต่อการเรียกใช้ แต่สิ่งที่กังวลในระยะแรกอีกสิ่งหนึ่งเห็นจะเป็นการถอดคำสัมภาษณ์ ซึ่งลำบากในการถอดมาก บางคนสั้น บางคนยาว บางคนเข้าป่าเข้าพงไม่เข้ากับงานแต่ก็ต้องจับประเด็นแล้วถอดคำสัมภาษณ์เพื่อบรรจุลงในงานในการเรียบเรียง ...

การลงพื้นที่เก็บข้อมูล - เราจะพบอาการดีใจของคนแก่ที่เราเข้าไปสัมภาษณ์ นั่นละคือการระบายประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของครอบครัวเขาให้เราฟัง สนุกเหมือนนิยายและจับประเด็นเวลาถอดคำสัมภาษณ์แทบทำเอาเราหลับ

พื้นที่ที่ลงเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นพื้นที่ภาคอีสาน ---- ก่อนอื่นออกตัวอีกครั้ง การทำวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงคุณภาพเน้นๆ การสัมภาษณ์และการสังเกตจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญคือสนุกครับ การกินการอยู่และลักษณะพื้นเพทางประเพณีจะมีความสนุกปนอยู่ทุกรูขุมขน (อันที่จริงข้าพเจ้าก็คนภาคอีสาน)

 

ข้าพเจ้าลงพื้นที่ 4 ครั้ง เพื่อนรุ่นพี่ที่ลงไปเป็นผู้ช่วยนักวิจัยเก็บข้อมูลช่วยกล่าวแซวข้าพเจ้าว่า หากมีการลงพื้นที่ตรงนี้เป็นครั้งที่ 5 คงไม่ต้องซื้อหาอาหารเพราะเดินไปบ้านหลังไหนเขารู้จักเราแล้ว

 

 

สวัสดีค่ะ คุณอนุสรณ์

ขอแนะนำตัวก่อนะคะ คือว่าหยกทำงานเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน และค้นหาข้อมูลของโรงสีข้าวกุดชุม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำงาน และนำมาประยุกต์ใช้ เอาเป็นแบบอย่าง แก่ชุมชนอื่นๆ ที่ยังไม่แข็งแรง และเข้มแข็ง ขนาดนี้ จึงอยากรบกวนขอข้อมูลจากคุณอนุสรณ์ ได้ฤเปล่าคะ

 

หยก

 

 

เมลล์มาที่เมลล์ผมนะครับ จะได้ทราบอีเมลล์คุณเพื่อจะส่งให้ถูกครับ ขอบคุณครับ

ช่วยหางานหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท