การจัดการความรู้


ลองกอง

ประเด็น  การปรับปรุงคุณภาพลองกอง

 

ขั้นตอนรายละเอียดการปฏิบัติ

1.  หลังการเก็บเกี่ยวผล       ต้องเตรียมความพร้อมของต้นลองกอง  โดย

                - ทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก  เช่น  กิ่งที่เป็นโรค  กิ่งน้ำค้างที่รกรุงรังเป็นแหล่งสะสมศัตรูพืช  จะทำให้ทรงพุ่มมีความโปร่งได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง

                - พร้อมด้วยการกำจัดวัชพืช

                - ใส่ปุ๋ยชีวภาพอัตรา  15-20  กก./ต้น รอบทรงพุ่มแล้วตามด้วยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร  15-15-15  หรือสูตร  16-16-16  อัตรา  1-2  กก./ต้น  แล้วรดน้ำลักษณะวันเว้นวัน  โดยสังเกตว่าดินมีความชื้นสม่ำเสมอ

2.  ระยะต้นสมบูรณ์และใบแก่เต็มที่

                - ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร  12-24-12  อัตรา  0.5  กก./ต้นพร้อมด้วยการให้น้ำวันเว้นวันเป็นเวลาประมาณ  1-2  สัปดาห์เพื่อให้ตันลองกองเตรียมความพร้อมที่จะออกดอก

                ช่วงนี้ งดการให้น้ำประมาณ  40-50  วัน โดยการสังเกตว่าใบแสดงอาการขาดน้ำ ให้กระตุ้นการออกดอกโดยให้น้ำปริมาณมากทันทีจากนั้นให้ดูอาการประมาณ  10  วัน หากพบการแตกช่อดอกก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการเจริญ  แต่ถ้าไม่พบการแตกตาดอกก็ให้หยุดการให้น้ำทันทีซึ่งสาเหตุเกิดจากการกระทบแล้งไม่เพียงพอ  โดยปล่อยให้กระทบแล้งแล้วทำการกระตุ้นการออกดอกอีกครั้ง

3.  การแต่งช่อดอก

                - เมื่อออกดอกอายุประมาณ 3-4  สัปดาห์หรือความยาวช่อดอกประมาณ  5  นิ้ว  แต่งช่อครั้งแรกให้เหลือช่อดอกที่สมบูรณ์จุดละ  2  ช่อห่างกันจุดละ 1 ฟุต  หากช่อดอกแน่นเกินไปให้แต่งช่อดอกอีกครั้งให้เหลือจุดละ  1  ช่อ

4.  การแต่งผล

                - เมื่อผลลองกองขนาดเท่าหัวแม่มือ  ให้แต่งผลที่โคนและปลายช่อออก  และแต่งผลภายในช่อให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญของผลเพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของผลทั้งช่อ

                -ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร  15-15-15  อัตรา  0.5-1  กก./ต้นเพื่อขยายผลให้โตสม่ำเสมอ

                - เมื่อผลโตเต็มที่และยังมีสีเขียวอยู่ให้ใส่ปุ๋ยสูตร  13-13-21  อัตรา  1  กก./ต้น  เพิ่มรสชาติให้ลองกองมีความหวาน

 

 

 

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

                1.  แมลงวันผลไม้  ใช้สารล่อ/ดัก คือกลิ่นใบกระเพราโดยขยี้ใบกระเพราบรรจุในขวด พลาสติกใสเป็นกับดักแขวนไว้ให้ทั่วสวน

                2.  ค้างคาว  ใช้ตาข่ายดัก/จับทำลาย

                3.  ผีเสื้อมวนหวาน  ใช้กาบมะพร้าวแห้งสุมให้เป็นกองหลาย ๆ จุด  ให้จุดไฟเผาโดยใส่ผงกำมะถันลงไปในกองไฟ  รมควันให้อบอวลทั่วสวน ช่วงเวลา18.00 น.-20.00น.  พบว่าผีสวนมวนหวานไม่รบกวนและทำลายผลผลิตเลย

          4.  การใส่สารปรับปรุงสภาพดิน  คือ โดโลไมด์  อัตรา  5-8  กก./ต้นใส่ให้ชิดโคนต้นเพื่อลดการทำลายของหนอนกัดกินใต้ผิวเปลือกลองกอง

 

แหล่งที่มา

                นายเฝน  เส็มอุมา  และกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรตามโครงการ GAP อำเภอจะนะ

ที่อยู่

                บ้านเลขที่  60  หมู่ที่  4  ตำบลน้ำขาว  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  90130

สถานที่ตั้งจุดเรียนรู้

                จุดถ่ายทอดความรู้เรื่อง  การปรับปรุงคุณภาพลองกอง  หมู่ที่  2  ตำบลน้ำขาว  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  90130

หมายเลขบันทึก: 221217เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

เค้าว่ากันว่าลองกองยะลา นราธิวาส จะหวานอร่อยมาก ๆเลย

ใยมดมาชวนไปเก็บลองกองยะลา นราธิวาส จ้า ไปมั้ยเอ๋ย อิอิ ล้อเล่นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท