ที่มาของโครงการ


เน้นการผลักดันและหนุนเสริมนโยบายการสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization) โดยมุ่งเน้นร่วมงานกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

โครงการพัฒนานโยบายส่งเสริมการสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization)

แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

 หลักการและเหตุผล

         หลักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินงานของแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน ซึ่งเน้นการผลักดันและหนุนเสริมนโยบายการสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization) โดยมุ่งเน้นร่วมงานกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการพัฒนางานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานให้สอดคล้องเท่าทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

         จากการศึกษาของแผนงานฯ 1 ปี ที่ผ่านมายังพบเห็น ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางด้านความคิดและการปฏิบัติเพื่อคุณภาพชีวิตคนทำงาน ส่งผลให้มุมมองของบุคคลในระดับผู้บริหาร ในเรื่องคุณภาพชีวิตคนทำงาน มักเน้นเฉพาะเรื่อง สุขภาพ  ความปลอดภัย  ผลงาน  และปริมาณผลผลิต ขณะที่นักบริหารทรัพยากรบุคคล จะให้ความสำคัญถึงการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Commitment) ความพึงพอใจในการทำงาน (Satisfaction) ความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมและยุติธรรม (Organizational Justice) อันจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคนทำงาน ซึ่งจะมีผลส่งต่อไปยังคุณภาพชีวิตโดยรวม และในทางกลับกันคุณภาพชีวิตคนทำงานในมุมมองของสหภาพแรงงานนั้น จะเป็นการเริ่มจากการคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ซึ่งเป็นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยรวมก่อน แล้วจึงส่งผลต่อไปยังสู่คุณภาพชีวิตของคนทำงาน

           ดังนั้น การสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization) จึงเป็นหนึ่งในนโยบายหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรโดยใช้แนวทางที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  รวมทั้งภาคเอกชนเช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นต้น โดยอาศัยกระแสของ CSR - Corporate Social Responsibility หรือ  ISO 26000 (แนวคิดของธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม) ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2553 เพื่อให้องค์กรโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานการสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization) เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการดำเนินงานขององค์กรอย่างยั่งยืน

           จึงควรมีความร่วมมือดำเนินงานในการสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรภาคต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนได้ตระหนักถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานและให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันเกิดการดำเนินงานองค์กรสุขภาวะ ( Healthy organization )  อย่างจริงจัง

 

 

หมายเลขบันทึก: 219819เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท