ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย


ห้องสมุดในประเทศไทยมีประวัติมายาวนานมาก

ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย

                สมัยสุโขทัย   (พ.ศ. 1800 - 1920)     พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี  พ.ศ.  1826  ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ  ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน  คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ที่จารึกเมื่อประมาณ  700  ปีมาแล้ว  ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา  ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย  พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก  โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน   ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า  การสร้างหนังสือ  ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า  หนังสือผูกใบลาน  จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา  เรียกว่า  หอไตร  และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ  ไตรภูมิพระร่วง    ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่  1  พญาลิไทย

                สมัยกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. 1893 - 2310)    ได้มีการสร้างหอหลวงไว้ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่สำหรับเก็บหนังสือของทางราชการ  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2310  ทั้งหอไตรและหอหลวงได้ถูกพม่าทำลายได้รับความเสียหาย

                สมัยกรุงธนบุรี  (พ.ศ.  2310 - 2325)  พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระไตรปิฎกหลวง  หรือเรียกว่า  หอหลวง

                สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)

                1.  หอพระมณเฑียรธรรม   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นเมื่อ  พ.ศ  2326  ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เพื่อเก็บพระไตรปิฎกหลวง   แต่ถูกไฟไหม้   จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่และใช้นามเดิม

                2.  จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  (วัดโพธิ์)  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ  ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และให้รวบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ  มาตรวจตราแก้ไขแล้วจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณต่างๆ  ของวัด  มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ  แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ  รูปปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ  ที่ถือเป็นต้นตำรับการนวดและตำรายาไทย  ซึ่งเป็นต้นตำรับการแพทย์แผนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้   นอกจากนั้นยังมีความรู้อีกมากมายมที่จารึกไว้  จนทำให้จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย  และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย

                3.  หอพระสมุดวชิรญาณ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.  2424  เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                4.  หอพุทธศาสนสังคหะ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสร้างขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร  เมื่อ  พ.ศ. 2443  เพื่อเก็บหนังสือต่างๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

                5.  หอสมุดสำหรับพระนคร    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2448  โดยโปรดเกล้าฯ  ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชิรญาณ  และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าเป็นหอเดียวกัน  และพระราชทานนามว่า  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

                6.  หอสมุดแห่งชาติ     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2468  โดยให้แยกห้องสมุดออกเป็น  2  หอ  คือ  แยกหนังสือตัวเขียน  ได้แก่  สมุดไทย    หนังสือจารึกลงในใบลาน  สมุดข่อย  ศิลาจารึก  และตู้ลายรดน้ำไปเก็บไว้ที่พระที่นั่ง  ศิวโมกขพิมาน  ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ใช้สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน  และเรียกว่า  หอพระวชิรญาณ  ส่วนหอสมุดที่ตั้งขึ้นที่ตึกถาวรวัตถุใช้เก็บหนังสือตัวพิมพ์  เรียกว่า  หอพระสมุดวชิราวุธ

                7.  หอจดหมายเหตุ    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2459  มีงานดังนี้

                                -  งานจัดหาเอกสารและบันทึกเหตุการณ์

                                -  งานจัดเก็บเอกสาร

                                -  งานบริการเอกสาร

                                -  งานซ่อมแซมและบูรณะเอกสาร

                                -  งานไมโครฟิล์ม  และถ่ายสำเนาเอกสาร

หมายเลขบันทึก: 218940เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2008 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รู้จักที่เดียวค่ะคือหอสมุดแห่งชาติ... ไปบ่อยเพราะใกล้มหา'ลัย อยากรู้ว่าหอจดหมายเหตุอยู่ที่ไหนคะ ในที่เดียวกันหรือเปล่าไม่เคยสังเกตมาก่อน

ขอบคุณข้อมูลดีๆ แบบนี้นะคะ บางอย่างไม่เคยรู้เลย

ปัจจุบัน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ครับ

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมลองคลิกเข้าไปเยี่ยมชมนะครับ

http://www.nat.go.th/

เป็นเว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุครับ

อ่าแล้วมีความสุกดีครีบ

ห้องสมุดแห่งแรกของประเทศไทยอยู่ที่ไหนคะ

@@#$%^%$#@@$%^%^$#%&^&@@#%$#@*M<<

อยากใด้ประวัติห้องสมุดให้มากกว่านี้

ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย

สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1920) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ. 1826 ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่จารึกเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า การสร้างหนังสือ ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า หนังสือผูกใบลาน จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา เรียกว่า หอไตร และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย

สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310) ได้มีการสร้างหอหลวงไว้ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่สำหรับเก็บหนังสือของทางราชการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 ทั้งหอไตรและหอหลวงได้ถูกพม่าทำลายได้รับความเสียหาย

สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 - 2325) พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระไตรปิฎกหลวง หรือเรียกว่า หอหลวง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)

1. หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ 2326 ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเก็บพระไตรปิฎกหลวง แต่ถูกไฟไหม้ จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่และใช้นามเดิม

2. จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และให้รวบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ มาตรวจตราแก้ไขแล้วจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณต่างๆ ของวัด มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ รูปปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ ที่ถือเป็นต้นตำรับการนวดและตำรายาไทย ซึ่งเป็นต้นตำรับการแพทย์แผนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนั้นยังมีความรู้อีกมากมายมที่จารึกไว้ จนทำให้จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย

3. หอพระสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2424 เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

4. หอพุทธศาสนสังคหะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อเก็บหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

5. หอสมุดสำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าเป็นหอเดียวกัน และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

6. หอสมุดแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 โดยให้แยกห้องสมุดออกเป็น 2 หอ คือ แยกหนังสือตัวเขียน ได้แก่ สมุดไทย หนังสือจารึกลงในใบลาน สมุดข่อย ศิลาจารึก และตู้ลายรดน้ำไปเก็บไว้ที่พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ใช้สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน และเรียกว่า หอพระวชิรญาณ ส่วนหอสมุดที่ตั้งขึ้นที่ตึกถาวรวัตถุใช้เก็บหนังสือตัวพิมพ์ เรียกว่า หอพระสมุดวชิราวุธ

7. หอจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2459 มีงานดังนี้

- งานจัดหาเอกสารและบันทึกเหตุการณ์

- งานจัดเก็บเอกสาร

- งานบริการเอกสาร

- งานซ่อมแซมและบูรณะเอกสาร

- งานไมโครฟิล์ม และถ่ายสำเนาเอกสาร

ห้องสมุดมีกี่ประเภทครับเเต่ละห้องมีความสำคัญอย่างไร

ห้องสมุดมี 5 ประเภทนะครับ ดังนี้

-ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)

-ห้องสมุดวิทยาลัยมหาวิทยาลัย (College and University Library)

-ห้องสมุดประชาชน (Public Library)

-หอสมุดแห่งชาติ (National Library)

-ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)

อยากทราบงานวิจัยที่เกียวกับงานห้องสมุด

ห้องสมุดเปรียบเหมือนปั้มน้ำมันหมายความว่าอะไรคับ

ห้องสมุดเปรียบเหมือนปั้มน้ำมันหมายความว่าอะไรคับ

ตอบ

รถยนต์ขับเคลื่อนไปได้ด้วยพลังของน้ำมัน

น้ำมัน เป็นเหมือน อาหาร เป็นเหมือนพลัง ให้กับรถยนต์

ห้องสมุดก็เช่นกัน เมื่อสมองของคนเราว่างเปล่า

ไม่มีความรู้อะไรเลย หรือมีก็มีอยู่น้อย

ถ้าต้องการเป็นคนฉลาดมีความรู้มาก ๆ ต้องเข้าห้องสมุด

เพื่ออ่านหนังสือ เพิ่มเติมให้กับสมองของเรา

เขาจึงเปรียบห้องสมุดเป็นเหมือนน้ำมันครับ

อยากรู้จังว่่าทำไมถึงเรียกว่าห้องสมุด ทั้งๆที่ไม่มีสมุดซักเล่ม

แต่ตรงกันข้ามกับเต็มไปด้วยหนังสือล่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ

แล้วทำไมไม่เรียกว่าห้องหนังสือล่ะ งง จริงๆ O.O

 

ปล.ไม่ได้กวนนะคร่ะ อย่าเข้าใจผิด ^^

ศึกษาแล้วกระจางแน่ชัดเลย น่ารักอะ

รู้อะไรมากขึ้นตั้งเยอะ

มีความรู้เพิ่มมากเยอะเลยค่ะะะะะะ

บิดาของห้องสมุดไทย คือใครคับ ??

ขอบคุณมากคะมีความรู้มากๆคะ??

ห้องสมุดในประเทศไทยมีประวัติมายาวนานมากประวัติห้องสมุดในประเทศไทย

            สมัยสุโขทัย   (พ.ศ. 1800 - 1920)     พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี  พ.ศ.  1826  ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ  ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน  คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ที่จารึกเมื่อประมาณ  700  ปีมาแล้ว  ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา  ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย  พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก  โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน   ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า  การสร้างหนังสือ  ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า  หนังสือผูกใบลาน  จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา  เรียกว่า  หอไตร  และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ  ไตรภูมิพระร่วง    ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่  1  พญาลิไทย            สมัยกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. 1893 - 2310)    ได้มีการสร้างหอหลวงไว้ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่สำหรับเก็บหนังสือของทางราชการ  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2310  ทั้งหอไตรและหอหลวงได้ถูกพม่าทำลายได้รับความเสียหาย            สมัยกรุงธนบุรี  (พ.ศ.  2310 - 2325)  พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระไตรปิฎกหลวง  หรือเรียกว่า  หอหลวง            สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)            1.  หอพระมณเฑียรธรรม   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นเมื่อ  พ.ศ  2326  ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เพื่อเก็บพระไตรปิฎกหลวง   แต่ถูกไฟไหม้   จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่และใช้นามเดิม            2.  จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  (วัดโพธิ์)  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ  ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และให้รวบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ  มาตรวจตราแก้ไขแล้วจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณต่างๆ  ของวัด  มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ  แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ  รูปปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ  ที่ถือเป็นต้นตำรับการนวดและตำรายาไทย  ซึ่งเป็นต้นตำรับการแพทย์แผนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้   นอกจากนั้นยังมีความรู้อีกมากมายมที่จารึกไว้  จนทำให้จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย  และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย            3.  หอพระสมุดวชิรญาณ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.  2424  เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            4.  หอพุทธศาสนสังคหะ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสร้างขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร  เมื่อ  พ.ศ. 2443  เพื่อเก็บหนังสือต่างๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา            5.  หอสมุดสำหรับพระนคร    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2448  โดยโปรดเกล้าฯ  ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชิรญาณ  และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าเป็นหอเดียวกัน  และพระราชทานนามว่า  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร            6.  หอสมุดแห่งชาติ     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2468  โดยให้แยกห้องสมุดออกเป็น  2  หอ  คือ  แยกหนังสือตัวเขียน  ได้แก่  สมุดไทย    หนังสือจารึกลงในใบลาน  สมุดข่อย  ศิลาจารึก  และตู้ลายรดน้ำไปเก็บไว้ที่พระที่นั่ง  ศิวโมกขพิมาน  ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ใช้สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน  และเรียกว่า  หอพระวชิรญาณ  ส่วนหอสมุดที่ตั้งขึ้นที่ตึกถาวรวัตถุใช้เก็บหนังสือตัวพิมพ์  เรียกว่า  หอพระสมุดวชิราวุธ            7.  หอจดหมายเหตุ    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2459  มีงานดังนี้                            -  งานจัดหาเอกสารและบันทึกเหตุการณ์                            -  งานจัดเก็บเอกสาร                            -  งานบริการเอกสาร                            -  งานซ่อมแซมและบูรณะเอกสาร                            -  งานไมโครฟิล์ม  และถ่ายสำเนาเอกสาร

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พรหมพชร เกตดี (Mr.PK) ใน ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท