3. กลุ่มสบู่นมแพะ - สมุนไพร/การเลี้ยงปลาชีวภาพ


อยู่อย่างพอเพียง พึ่งตนเอง

 

 

 
   
 
 
 
 
  

      สบู่ หรือเกลือของกรดไขมัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชำระล้างหรือทำความสะอาดร่างกาย  ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อน สบู่ เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไขมันหรือน้ำมัน (ไตรเอซิลกลีเซอรอล) กับสารละลายด่าง  เกิดเป็นเกลือของกรดไขมัน (หรือสบู่ ) กับกลีเซอรอล   เดิมคนไทยมีการผลิตสบู่โดยใช้ไขมันหรือน้ำมันผสมกับขี้เถ้า   ไว้ใช้สำหรับอาบน้ำ  สระผมตลอดจนล้างจาน   ในครัวเรือน    ภายหลังมีการผลิตสบู่ในระดับอุตสาหกรรมมากขึ้น    สบู่เริ่มถูกแต่งตามด้วยสารต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค  นอกเหนือจากน้ำมันกับด่าง ได้แก่  น้ำหอม  สี  สารเพิ่มฟอง  เพื่อให้สบู่มีคุณสมบัติน่าใช้  อีกทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่มีการแยก  กลีเซอรอล  หรือ  กลีเซอรีน  ออกไปจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมยา  เพราะได้ราคาสูงกว่าการจำหน่ายสบู่เพียงอย่างเดียว  ต่างจากสบู่ที่เราผลิตเอง  จะมีกลีเซอรอลหรือกลีเซอรีน  ปนอยู่ในเนื้อสบู่อยู่แล้ว   ทำให้ได้สบู่ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหลังอาบน้ำค่อนข้างสูงกว่าสบู่ที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป

       ส่วนประกอบสำคัญในการทำสบู่             

น้ำมันหรือไขมัน
          น้ำมันหรือไขมันที่ใช้ในการผลิตสบู่นั้นมีองค์ประกอบต่างๆ กันทำให้คุณสมบัติของสบู่ที่ได้แตกต่างกันไป  ดังนั้นขั้นตอนแรกที่สำคัญของการผลิตสบู่  คือ  การเลือกชนิดของน้ำมันเพื่อให้ได้สบู่ที่มีสมบัติตรงตามที่เราต้องการ 
คุณสมบัติของไขมันหรือน้ำมันที่นิยมนำมาผลิตสบู่ ได้แก่
          1. น้ำมันมะพร้าว    มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบถึง   80 % ประกอบด้วยกรดปาล์มมิติก ( Palmitic  acid ) และกรดสเตียริก ( Stearic  acid )  เมื่อทำปฏิกิริยากับด่างจะให้สบู่เนื้อแข็งแตกง่ายเหม็นหืนง่ายเก็บไว้ได้ไม่นาน และสบู่ที่ได้จะทำให้ผิวแห้ง  แต่มีฟองมาก
          2. น้ำมันปาลม์ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ50-60 % ประกอบด้วยกรดปาลม์มิติ (Palmitic acid) และกรดเตียริก( Stearic   acid)  เมื่อทำปฏิกิริยากับด่างจะทำให้เนื้อสบู่ค่อนข้างแข็ง  สีขาวอมเหลือง  ฟองน้อยแต่ฟองอยู่ทนนาน  มีคุณสมบัติคล้ายการใช้ไขมันวัว  สบู่ที่ได้มีสมบัติชำรำล้างได้ดีแต่ทำให้ผิวแห้ง
          3. น้ำมันมะกอก  มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ  60-70 %  ประกอบด้วย  กรดไลโนเลอิก (Lino  acid)  และกรดโอเลอิก  (Oleic  acid)  ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ ทำให้ที่ได้เก็บได้นาน  ไม่เหม็นหืนง่าย  แต่สบู่ที่ทำจากน้ำมันมะกอกค่อนข้างแข็งตัวได้ช้า  มีสีออกเหลืองแต่จะทำให้ฟองที่นุ่มนวลเป็นครีม  ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง  แต่น้ำมันมะกอกมีราคาแพง  ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
          4. น้ำมันรำข้าว  มีกรดเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ  60-70  %  ประกอบด้วย  กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid)  และกรดโอเลอิก  (Oleic  acid)  ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้สบู่ที่ได้เก็บไว้ได้นาน  ไม่เหม็นหืนง่าย  อีกทั้งน้ำมันรำข้าวยังเป็นแหล่งของวิตามินอีจึงช่วยเพิ่มควาชุ่มชื้นให้ผิวหนัง  แต่การใช้นำมันรำข้าวจะทำให้เนื้อสบู่ค่อนข้างร่วน  และอาจทำให้สบู่แข็งตัวช้า
5. น้ำมันงา มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ 60-70 % ประกอบด้วย กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) และกรดโอเลอิก (Oleic acid) ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้สบู่ที่ได้ไม่เหม็นหืนง่าย
          วัสดุและอุปกรณ์ ในการทำสบู่        
1. หม้อสแตนเลส
 
 
 
 
 2. แม่พิมพ์สบู่ 
 
 
    
3. ไม้พายพลาสติก
 
 
     
 4. ชามสแตนเลส(ชามพลาสติกหรือชามแก้ว)
 
       
    
 
1.       เครื่องชั่ง  นมแพะ น้ำผึ้ง น้ำหอม สมุนไพร
 
 
    
 
2.       น้ำสะอาด ช้อนตวง ครกบด  ผ้าขาวบาง
 
   
         
   ส่วนผสม  
     
     น้ำมันปาล์ม(หรือทานตะวัน, ถั่วเหลือง, งา, มะกอก)  
โซเดียมไฮดรอกไซด์      
น้ำผึ้ง    สมุนไพรตามต้องการ นมแพะเข้มข้น    น้ำหอม 
 
 
ขั้นตอนและวิธีทำ 
1.  เตรียมแม่พิมพ์สบู่ (ควรเป็นพิมพ์พลาสติก) ตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ
 
 
 
 
2.  ค่อย ๆ เทเกล็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ ลงในน้ำในชามแก้วคนให้เข้ากัน จนเป็นของเหลวไส ๆ เมื่อผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์กับน้ำจะเกิดความร้อนสูงถึงประมาณ 80-90 องศาเซลเซียส จากนั้นตั้งทิ้งไว้หรือนำไปแช่ในน้ำให้อุณหภูมิของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลดลงเหลือประมาณ 40 º Cโดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดดู
 
 
 
 
3. ชั่งน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันชนิดต่างๆให้ได้น้ำหนักตามต้องการ  เทรวมกันในหม้อผสม(หม้อสแตนเลส)
 
 
 
 
  เมื่อน้ำมันและสารละลายด่าง มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน ค่อย ๆ เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เตรียมไว้ ลงในน้ำมัน
 
 
 
 
 ใช้ไม้พายพลาสติก  คนให้เข้ากัน  กวนไปเรื่อย ๆ นานอย่างน้อย  30 นาที ส่วนผสมจะเริ่มจับตัวเหนียวข้นเป็นสบู่
 
 
 
 
 
 
 
 เติมนมแพะ ผงถ่านชีวภาพ น้ำหอม(สมุนไพรอื่นๆ) ลงในสบู่  คนให้เข้ากัน 
 
      
 
 จากนั้นจึงเทลงพิมพ์สบู่ที่เตรียมไว้ ก่อนจะเทลงพิมพ์สบู่เติมน้ำมันหอมระเหยเพื่อเพิ่มกลิ่นสบู่แก่สบู่    เมื่อเทลงแบบแล้วต้องตั้งทิ้งไว้   ประมาณ  12  ชั่วโมง   จึงแกะสบู่ออกจากแบบ
    
   
 
 เก็บต่อไปอีกนาน  4    สัปดาห์เพื่อให้สบู่จับตัวเป็นก้อนแข็งดีจึงนำมาใช้ถูตัวได้
 
 
        
 
 
 
สบู่นมแพะ 
คุณลักษณะพิเศษในน้ำนมแพะ 
 
อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.โปรตีน 2.วิตามินB1(Thai amine) ,B2 (Riboflavin)B6(Pyridoxine)  B12,Cและ D
   3.แร่ธาตุ Potassium,Sodium , Magnesium Phosphorus
   4.แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ Lithium,Strontium
 
ลักษณะเด่นของกรรมวิธีการผลิต 
 
                การผลิตไม่เน้นเครื่องจักร ใช้เท่าที่จำเป็น ใช้วัตถุดิบ ซึ่งนำมาจากธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบหลัก การผลิตในแต่ละขั้นตอนใช้เป็น Handmade ทั้งหมด จึงพิถีพิถันในทุกขั้นตอน
 
คุณสมบัติในการบำรุงผิวพรรณ 
 
1.  เป็นสบู่สูตรอ่อนโยน  ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว ทำความสะอาดได้หมดจด ใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย ลบริ้วรอยจุดด่างดำที่ฝังแน่น
2.  มีก๊าสเซอรินและมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มาจากธรรมชาติในน้ำนมแพะ จะช่วยลดแรงตึงของผิวหนัง คงความชุ่มชื้นอย่างลุ่มลึกแก่ผิวพรรณ ยังเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการทดแทนของเซลล์ผิวหนังใหม่ได้ดีอีกด้วย เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัวและผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายและผิวแห้งอีกด้วย
3.  การอาบน้ำอุ่นด้วยสบู่น้ำนมแพะ ให้คุณค่าทางด้านการบำบัดรักษาและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ให้ความสดชื่นตลอดทั้งวัน
4.   ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาด ๆถูกับสบู่พอควร แล้วนำมาถูให้ทั่วร่างกายแล้วล้างออก จะช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้น เพิ่มความเปล่งปลั่งดูสดใส และมีสุขภาพผิวดี
5.  โปรดเก็บสบู่ไว้ในภาชนะที่แห้งและไม่ตั้งตากแดดนานจนเกินไป
สบู่นมแพะสูตรนี้เกิดจากนวัตกรรมแห่งภูมิปัญญาได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 
 
วิธีทำสูตร นมแพะผสมถ่านชีวภาพ 
 
ขั้นตอนและวิธีทำ
1.เตรียมแม่พิมพ์สบู่ (ควรเป็นพิมพ์พลาสติก) ตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ    
2.ค่อย ๆ เทเกล็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์  ลงในน้ำในชามแก้วคนให้เข้ากัน  จนเป็นของเหลวไส ๆ เมื่อผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์กับน้ำจะเกิดความร้อนสูงถึงประมาณ  80-90  องศาเซลเซียส  จากนั้นตั้งทิ้งไว้หรือนำไปแช่ในน้ำให้อุณหภูมิของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลดลงเหลือประมาณ  40 º Cโดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดดู
3.ชั่งน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันชนิดต่างๆให้ได้น้ำหนักตามต้องการ  เทรวมกันในหม้อผสม(หม้อสแตนเลส)  เมื่อน้ำมันและสารละลายด่าง มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน ค่อย ๆ เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เตรียมไว้ ลงในน้ำมัน ใช้ไม้พายพลาสติก  คนให้เข้ากัน  กวนไปเรื่อย ๆ นานอย่างน้อย  30 นาที ส่วนผสมจะเริ่มจับตัวเหนียวข้นเป็นสบู่  เติมนมแพะลงในสบู่  เติมผงถ่านชีวภาพคนให้เข้ากัน
4.จากนั้นจึงเทลงพิมพ์สบู่ที่เตรียมไว้ ก่อนจะเทลงพิมพ์สบู่เติมน้ำมันหอมระเหยเพื่อเพิ่มกลิ่นสบู่แก่สบู่    เมื่อเทลงแบบแล้วต้องตั้งทิ้งไว้   ประมาณ  12  ชั่วโมง   จึงแกะสบู่ออกจากแบบ  เก็บต่อไปอีกนาน  4    สัปดาห์เพื่อให้สบู่จับตัวเป็นก้อนแข็งดีจึงนำมาใช้ถูตัวได้
 
 
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย 
 
                จากการคิดค้นทดลอง ทำสบู่นมแพะผสมกับถ่านและสมุนไพรชนิดต่างๆ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนสบู่นมแพะ-สมุนไพร จึงได้ขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
  
 
  
 
เรียนรู้วิธีทำสบู่นมแพะผสมสมุนไพร โดย ชมรมตามรอยพ่อ โรงเรียนร่องคำ
  
 
  
 
                                                  

    
 
 

 

การเลี้ยงปลาชีวภาพ

                ในปัจจุบันพื้นที่ในการอยู่อาศัย มีจำนวนลดลง ซึ่งก็รวมไปถึงพื้นที่ทำการเกษตรประมง ในขณะที่ความต้องการมีมากขึ้น จึงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมมาปรับใช้

อาชีพประมงก็ประสพปัญหาเช่นเดียวกัน เกษตรกรจึงต้องหาวิธีการที่จะเลี้ยงปลา ที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก เช่นบ่อพลาสติก ถังซีเมนต์ เป็นต้น การเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัดนี้ ต้องมีการจัดการที่ยุ่งยากมากขึ้นกว่าปกติ ปัญหาน้ำเน่า การเปลี่ยนถ่ายน้ำ จึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก

    

จุลินทรีย์ชีวภาพ

   

จากความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีชีวภาพ ที่ช่วยกำจัดของเสีย แม้แต่ในแหล่งน้ำเสียที่ยากที่จะจัดการ ก็สามารถใช้อย่างได้ผล กลุ่มเลี้ยงปลา ชมรมตามรอยพ่อจึงเริ่มทำการทดลอง เลี้ยงปลาดุก ในโอ่งซีเมนต์ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ปรากฏว่าสามารถแก้ปัญหาน้ำเนาเสียในการเลี้ยงปลาได้ และยังช่วยทำให้ปลามีสุขภาพดี ไม่เป็นโรค ตลอดอายุการเลี้ยงปลาไม่ต้องเปลี่ยนน้ำเลย ผลพลอยได้จากเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักชีวภาพ ยังสามารถนำน้ำไปรดต้นไม้ ทำให้ต้นไม้งามโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆเลย หรือใส่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จุลินทรีในน้ำหมักชีวภาพจะช่วยกำจัดของเสียจากปลา และเศษอาหารที่เหลือตกค้างอีกด้วย

 

 

 

 

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์นั้น ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาดุก ดังนี้ 

  เตรียมโอ่งซีเมนต์  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร  สูง 50 เซนติเมตร ส่วนบริเวณก้นโอ่งท่านควรจะมีท่อระบายน้ำเพื่อใช้สำหรับถ่ายน้ำออก

 

     

 

ก่อนที่ท่านจะนำปลาลงมาเลี้ยงนั้นควรจะเอาน้ำใส่โอ่งทิ้งไว้สักระยะหนึ่งและล้างโอ่งซีเมนต์ให้สะอาดไม่ควรให้มีคราบของปูนซีเมนต์หลงเหลืออยู่  หากคราบปูนซีเมนต์ยังออกไม่หมดอาจทำให้ลูกปลาดุกที่ท่านนำมาเลี้ยงตายได้  วิธีขจัดคราบปูนซีเมนต์ควรหาหยวกกล้วยมาแช่ในท่อซีเมนต์ประมาณ 2 สัปดาห์  จึงสามารถเอาหยวกกล้วยออกจากท่อซีเมนต์แล้วล้างภายในโอ่งให้สะอาด  จากนั้นก็เริ่มปล่อยน้ำเข้าโอ่งซีเมนต์โดยระดับน้ำที่จะเลี้ยงลูกปลาดุกไม่ควรสูงมาก  เพราะลูกปลาดุกจะขึ้นมาหายใจสะดวก ระดับน้ำสูงประมาณ 20 เซนติเมตร  ซึ่งในแต่ละท่อปูนซีเมนต์ควรใส่ลูกปลาดุก 80-100 ตัว เป็นจำนวนที่เหมาะสม ในระหว่างอนุบาลลูกปลาดุกท่านควรหาผักตบชวามาใส่บ่อบ้างเพราะลูกปลาดุกจะชอบเข้าไปอาศัยในรากของผักตบชวา  ลูกปลาดุกยังได้กินดินหรือแพลงก์ตอนในรากผักตบชวาอีกด้วย

 

    


                โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาหรือพืชน้ำอื่นๆ ใส่ลงไปในบ่อซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเองโดยใช้กล้วยน้ำว้า  ฟักทอง  และมะละกอ  อย่างละ 3 กิโลกรัม สับให้ละเอียดจากนั้นนำมาคลุกผสมกับกากน้ำตาล 3 กิโลกรัม หมักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำน้ำสะอาดปริมาตร 9 ลิตร เทใส่ลงไปพร้อมกับคนให้ส่วนผสมดังกล่าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ 15 วัน หรือเมื่อมีกลิ่นหอมก็สามารถนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ

 

 

ขั้นตอนการปล่อยพันธุ์ปลา

 

 นำลูกปลาดุกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ค่อยๆนำน้ำในโอ่งเติมไปทีละน้อย เพื่อปรับอุณหภูมิค่อยๆปล่อยลูกปลาดุกลงในโอ่งซีเมนต์

 

      

 

โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาใส่ลงไปในท่อปูนซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม

 

   

          

และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเอง

 

    

 

การเลี้ยงปลาดุกด้วยหนอนที่เกิดจากน้ำหมักชีวภาพ

 หนอนที่เกิดจากการทำน้ำหมักชีวภาพ

 

       

 

  

หนอนที่ใส่ในโอ่ง

 

การเลี้ยงปลาด้วยไส้เดือน

            การใช้จุลินทรีย์ในการทำการเกษตร โดยไม่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ทำให้เกิดมีสัตว์ในดิน เป็นจำนวนมาก ที่เห็นได้ชัดคือไส้เดือน บริเวณชมรมตามรอยพ่อ เมื่อก่อนสภาพเป็นดินเค็ม การเพราะปลูกจะไม่ดี หลังจากที่ใช้มูลสัตว์ และอินทรีย์วัตถุในการปรับปรุงดิน และการหันมาใช้ชีวภาพอย่างจริงจัง ทำให้สภาพเปลี่ยนไป ดินมีสภาพดีขึ้น ไส้เดือนมีมากในทุกพื้นที่

         

 

ไส้เดือนคือแหล่งโปรตีนตามธรรมชาติ น่าที่จะเป็นอาหารปลาได้ จึงทดลองให้ปลาดุกกินปรากฎว่าปลาดุกชอบกินและสุขภาพสมบูรณ์ดีมาก จึงได้นำมาใช้เลี้ยงเป็นอาหารเสริมตลอดไป

 

          

 

วิธีการเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักชีวภาพ

                เมื่อเอาน้ำใส่โอ่งจนได้ที่แล้ว ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปเพียงเล็กน้อยตามความเหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีในน้ำหมักไปปรับสภาพน้ำให้เป็นปกติก่อน เมื่อนำปลาลงไปเลี้ยง ค่อยๆสังเกตคุณภาพน้ำและตัวปลาว่ามีอาการผิดปกติใดบ้าง

       

 หากปกติก็ให้ใสน้ำหมักเพียงเล็กน้อยในรอบ 10 วัน หากว่าคุณภาพน้ำเปลี่ยนไปมากก็ให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพให้มากกว่าที่ใส่ปกติ รอบการใส่ก็ให้ถี่ขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนปลาและขนาดของโอ่งที่ใช้เลี้ยงด้วย

             

 

ผลที่ได้

ปลาเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง น้ำไม่มีกลิ่นเหม็น          

    

หมายเลขบันทึก: 217758เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สลามค่ะ

อยากจะถามว่า การทำสบู่ในท้องตลาดเป็นไปได้ไหมที่เขาจะใช้น้ำมันหมู?

สลาม คุณสะตอดอง

การทำสบู่ในท้องตลาดไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะใช้น้ำมันหมู จากประสบการณ์ที่เคยศึกษาดูงานเรื่องการทำสบู่หลายๆที่ ก็ไม่เคยมีว่าใช้น้ำมันหมูเป็นส่วนผสม การทำสบู่ถูตัวนิยมใช้ไขมันพืชเท่านั้น ซึ่งต้นทุนก็ไม่สูง ที่สำคัญประโยชน์ของไขมันพืชมีมากกว่า อาจมีสบู่บางยี่ห้อที่ใช้ไขมันวัว ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อล้างจาน ภาชนะใช้สอย

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่เยี่ยมชม สบู่นมแพะ ที่ชมรมตามรอยพ่อโรงเรียนร่องคำ ผลิตจากนมแพะ 100 % เพราะเลี้ยงเองและขอรับรองว่าปลอดภัย ทั้งนี้แพะในชมรมได้รับการดูแลแนะนำจากปศุสัตว์อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างใกล้ชิด สบู่ที่ผลิตผ่านการตรวจสอบสารเคมีอันตรายจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับการจดสิทธิบัตรภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย แล้ว

สนใจอยากลองใช้สบู่ ติดต่อที่ไหนคะ ขอบคุณค่ะ

ผมเคยมาเขียนเรื่องเธอลงในนิตยสารนิสาวาไรตี้รับรองว่าสบู่เขามีคุณภาพใช้นมแพะที่เลี้ยงเอง

ขอตอบคุณสะตอดองในท้องตลาดไม่รับรองว่าน้ำมันอะไรดูอย่างนมซิยังผสมเมลามีนเฉยเลย

อัสลามมุอลัยกุม

ดิฉันต้องขอแก้ไขที่อยู่ที่จะติดต่อซื้อสบู่นมแพะค่ะ ติดต่อได้ที่ [email protected] ตามนี้ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจค่ะ

มีโอกาสมาเยี่ยมชมและชื่นชม ทำเพื่อเด็กๆดีมาก ผลงานเข้าตาจริงๆ

สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณ คุณครูล้านนา ที่แวะเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

ขอบคุณหลายๆท่านที่สอบถามเข้ามาทาง email ได้แสดงความคิดเห็น ถามข้อสงสัยเรื่องสบู่ และอยากสั่งซื้อสบู่ให้กำลังใจชมรมตามรอยพ่อและเด็กๆ พร้อมทั้งโทรศัพท์ ที่จะติดต่อ สอบถาม ได้ที่ 0896231910

ของเสียที่ทำสบู่มีไหมค่ะ ถ้ามีคุณกำจัดของเสียพวกนั้นอย่างไรค่ะ

กรุณาช่วยตอบเร็วๆหน่อยนะค่ะ

แวะมารับความรู้เรื่องสบู่นมแพะ..เยี่ยมค่ะ..คุณครู

P ขอบคุณที่แวะเยี่ยมค่ะ  แวะไปอ่านบันทึก คุณadd ประจำค่ะ

 สวัสดีค่ะ nan ของเสียที่ทำสบู่มีไหมค่ะ  ไม่เข้าใจคำถามค่ะ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำสบู่ ทุกอย่าง จะต้องสะอาดที่สุดค่ะ ไม่มีของเสียเจือปน

สลามครับ

ที่บ้านผมเลี้ยงแพะ เลยสนใจอยากทำสบู่ไม่ทราบว่าจะปรึกษาที่ไหนได้ครับ

จากเด็กปัตตานี

สวัสดีค่ะ  chern123

ติดต่อได้ที่อุตสาหกรรมจังหวัดก็ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอามีนา สบู่นมแพะที่ เอามาขายที่ร้าน ขายดีมาก ใกล้หมดแล้วค่ะ(ทั้งที่เพิ่งลงของได้ 1 สัปดาห์)อีกไม่นานคงต้องรบกวนคุณอาอีกแน่ๆค่ะ/ลูกอ.หน่อย

สวัสดีครับอาจารย์มีคำถามที่อยากรบกวนถาม ดังนี้ แพะพันธุ์ที่อาจารย์เลี้ยงคือพันธุ์อะไรครับ ตัวละเท่าไหร่ และหาซื้อได้ที่ไหนครับ รบกวนช่วยตอบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณธีร์

แพะที่ชมรมฯ มีพันธ์ซาแนน 100 % และ ซาแนนผสมค่ะ

รายละเอียด ส่งเข้ามาที่เมล์ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ของเสียที่ทำสบู่มีไหมค่ะ

ที่ด้านบนถามคงหมายถึง สิ่งที่เหลือทิ้งจากการทำสบู่ เช่น เศษสบู่ สารเคมีต่างๆ หรือจากการล้างอุปกรณ์ในการทำ

เราจะกำจัดอย่างไรไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

อนุวัฒน์ ภักดีแก้ว

สวัสดีครับอาจารย์ ผมนายอนุวัฒน์ ภักดีแก้ว

เป็นโครงการที่ดีมากครับ สบู่นมแพะ และการเลี้ยงปลาดุกชีวภาพและน่าจะทำเป็นโยเกิร์ตพอกหน้าขาวด้วยหรือขัดผิวขาวทีทำจากนมแพะน่าจะดีนะครับ อาจารย์คิดว่า...

ศิษย์เก่าโรงเรียนร่องคำ

ทำงานที่จังหวัดลำปาง

ตำแหน่ง หัวหน้าตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์และจัดการเมล็ดพันธุ์(ฝากความคิดถึงหา อ. ชาญณรงค์ด้วยครับและอาจารย์ทุกท่าน)

เข้ามาดูผลงานของอาจารย์ค่ะ เยี่ยมไปเลย หนูจบจากร่องคำมา 8ปีละคะ เห็นแล้วภูมิใจกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นค่ะ

น่าสนใจมากครับที่บ้าน อ.เขาวง กาฬสินธุ์ ก็กำลังทำเหมือนกันถ้ามีข่าวสารใหม่ๆแนะนำด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณครู

เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ เพราะมันสามารถสร้างอาชีพได้และเป็นอาชีพสุจริต

คุณครูน่าจะพาพวกเราลองทำบางนะค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอขอบคุณทุกๆท่านที่แวะมาเยี่ยม แลกเปลี่ยนเรียนรู้

นักเรียนโรงเรียนร่องคำทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกชมรม หรือเรียนในรายวิชาที่ครุูสอน ถ้ามีความสนใจจริงครูยินดีอย่างยิ่ง  ด้วยความเต็มใจ

พอดีอยากได้สบู่นมแพะนะคะแต่ไม่รู้ว่าราคาเท่าใดและขายที่ไหนช่วยบอกได้ไหมคะ จะซื้อใช้เองคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท