2.กลุ่มเลี้ยงแพะ/กลุ่มน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ


เป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคได้ทุกศาสนา เพราะไม่มีศาสนาใดห้าม

 

 

 

 

     

 
บทที่ 1. การเลี้ยงแพะ

                ความจริงเรารู้จักแพะกันมานานแล้ว ในจักรราศีมีปีมะแมคือปีแพะ ในนิทาน อิสป เช่นแพะรับบาป ในคำพังเพย ได้ทีขี่แพะไล่ จับแพะชนแกะ เป็นต้น

        แพะเป็นสัตว์สี่เท้าขนาดเล็ก ลักษณะเท้าเป็นกลีบ คล้ายๆวัว เลี้ยงง่าย กินอาหารเก่ง สามารถกินใบไม้และวัชพืชที่วัวควายไม่กิน เจริญเติบโตเร็ว สามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง ให้ลูกปีละ 2 ครั้ง ลูกมักจะแฝด ระยะเวลาในการเลี้ยงลูกสั้น ใช้พื้นที่น้อย สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมสูง นมมีคุณค่าทางอาหาร มีส่วนประกอบคล้ายนมคน เป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคได้ทุกศาสนา เพราะไม่มีศาสนาใดห้าม

               

การเลี้ยงแพะมีหลายวิธี

                1. เลี้ยงแบบผูกล่าม ใช้เชือกล่ามที่คอ นำไปผูกในที่มีอาหารสมบูรณ์ มีร่มเงาบ้าง กลางคืนต้องมีเพิงให้แพะได้นอนและหลบฝน

                2. เลี้ยงแบบปล่อย เป็นการเลี้ยงที่ประหยัด ปล่อยให้แพะหากินในตอนกลางวัน โดยเจ้าของคอยดูแล จะปล่อยในตอนสายแล้วไล่เข้าคอกในตอนเที่ยง หรือปล่อบตอนบ่ายแล้วต้อนเข้าคอกตอนเย็น หากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

                3. เลี้ยงแบบขังคอก การเลี้ยงแบบนี้ จะต้องมีแปลหญ้า และอาหารเสริม ประหยัดแรงงาน แต่ลงทุนสูง ภายในคอกต้องมีน้ำและอาหารอื่นๆให้กิน

                4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช ผู้เลี้ยงจะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช แต่ควารเป็นพืชที่มีลักษณะสูง เพราะแพะเป็นสัตว์ที่ชอบปีนป่ายและกินจุกจิก เช่นการเลี้ยงในสวนยางพารา สวนปาล์ม และสวนมะพร้าว การเลี้ยงแบบนี้ทำให้ผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้น

 

โรงเรือนและอุปกรณ์ 

                เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ซุกซน จึงต้องระมัดระวังในการออกแบบสร้างคอก ควรยกพื้นสูง แพะเป็นสัตว์ที่สะอาด จะต้องกวาดตรงพื้นที่จะนอนทุกครั้งเสมอ มูลของแพะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ จึงควรทำเป็นร่อง เพื่อให้มูลแพะตกลงไปด้านล้างได้ มีทางเดินเข้าออกได้ง่าย ฝากั้นต้องสูงพอที่แพะจะกระโดดหรือปีนป่ายไม่ได้ อุปกรณ์ที่สร้างโรงเรือนก็สามารถหาได้ภายในท้องถิ่น พื้นจะต้องแห้งสะอาดอยู่เสมอ จะทำคอกแยกหรือรวมเป็นฝูงก็ได้ ควรทำคอกแยกสำหรับพ่อพันธุ์ต่างหาก

 

 

 

หมั่นทำความสะอาดคอก กวาดมูลออกจากใต้เล้า และใช้น้ำหมักชีวภาพราดหรือฉีดพ้นเสมอๆ

 สายพันธุ์แพะ 

                แพะในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สายพันธุ์ในประเทศ

2. สายพันธุ์ต่างประเทศ

 

แพะสายพันธุ์ในประเทศ

1.แพะพื้นเมืองในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ด้วยกัน แพะทางแถบตะวันตก เช่น ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแพะท่าจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้ ส่วนแพะทางใต้ของประเทศไทย มีขนาดเล็กเข้าใจกันว่ามีสายพันธุ์เดียวกับแพะพื้นเมืองของมาเลเซีย คือพันธุ์แกมบิงกัตจัง แพะพื้นเมืองทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ

(แพะสายพันธุ์พื้นเมือง)

แพะสายพันธุ์ต่างประเทศ

          2.แพะพันธุ์ต่างประเทศ เนื่องจากแพะพื้นเมืองของประเทศไทย มีขนาดเล็ก ให้ผลผลิตต่ำ กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้น ให้แพะเป็นสัตว์ที่ให้ทั้งผลผลิตทั้งเนื้อและนม ดังนั้น จึงได้นำแพะพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปผสมพันธุ์กับแพะพื้นเมือง เพื่อให้คุณภาพของแพะดีขึ้น สำหรับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่กรมปศุสัตว์นำเข้ามาขยายพันธุ์ ได้แก่

                                      แพะพันธุ์ซาแนน 

 

              

 

เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของการไม่มีเขา แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆน้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี                 


                                   แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน

 

    

 

กรมปศุสัตว์นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัว มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง

   

            ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา แต่ถ้าหากมีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน มีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่า ระดับพื้นมากและทำให้ง่ายต่อการรีดนม และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยว แพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำมันประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน

 แพะพันธุ์เบอร์

 

          

 

กรมปศุสัตว์นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่น คือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักประมาณ

90 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 65 กิโลกรัม

 แพะพันธุ์หลาวซาน  (Laoshan)

 

 

 

โตเต็มที่ผู้  80  กก. เมีย  60  กก.ผลผลิตนมเฉลี่ย  2.2  กก./วัน ระยะ  200  วัน เป็นแพะพันธุ์นม  จากประเทศสาธารรัฐประชาชนจีนมีลักษณะคล้ายแพะพันธุ์ซาเนน สายพันธุ์นี้ทางประเทศจีนได้น้อมเกล้าถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

  แพะพันธุ์อัลไพน์  (Alpine)

 

 

 

โตเต็มที่เพศผู้  75 กก. เมีย  55.  กก. ผลผลิตนม เฉลี่ย  2.0  กก./วัน ระยะ 200  วัน

  เป็นแพะพันธุ์นม  สีน้ำตาลหรือดำ  ใบหูเล็กตั้ง  หน้าตรง

 

    แพะพันธุ์ทอกเก็นเบอร์ก  (Toggenburg)

 

 

 

โตเต็มที่เพศผู้  70  กก.เพศ เมีย  55  กก. ผลผลิตนม เฉลี่ย  1.7  กก./วัน ระยะ  200  วัน เป็นแพะพันธุ์นม  สีช็อกโกแลต  ใบหูตั้ง   หน้าตรงมีแถบสีขาวข้างแก้ม

อาหารแพะ

                แพะเป็นสัตว์สี่เท้าขนาดเล็ก กระเพาะหมักเช่นกับวัวควาย การย่อยอาหารของแพะจึงใช้วิธีการเคี้ยวเอื้องเช่นเดียวกัน แพะไม่ต้องการอาหารมากนัก ถ้าหากแพะไม่หิวลักษณะการกินอาหาร จะกินไปเล่นไป การเลี้ยงแพะแบบปล่อยให้กินอาหารเอง จึงควรให้แพะค่อนข้างหิวจัด ซึ่งจะทำให้แพะกินอาหารดีและกินอิ่ม แต่แพะก็กินง่าย กินหญ้าและใบไม้ต่างๆได้แทบทุกชนิด รวมทั้งยอดกิ่งก้านและ   เปลือกไม้ ที่น่าอัศจรรย์มากก็คือแม้แต่พืชที่เป็นหนาม เช่น ไมยราบ มะขามเทศ พุทรา

 

  

 

พืชที่มีรสขม มียาง จึงเป็นข้อสังเกตว่า อาหารที่แพะกินล้วนแต่เป็นพืชสมุนไพรทั้งสิ้น  แต่ถ้าเป็นแพะสายพันธุ์นม ควรมีอาหารเสริมบ้าง

 

  

 

ที่ชมรมตามรอยพ่อจะใช้เปลือกถั่วเหลือง(วัวกินจะท้องเสีย) เป็นอาหารเสริม จะไม่ใช้อาหารสำเร็จ หรืออาหารผสม น่าจะมีผลต่อกลิ่นเฉพาะของนมแพะ อันเป็นปัญหาของผู้บริโภคที่ไม่เคยดื่มมาก่อนหรือเคยดื่มจากท้องตลาดโดยทั่วไป แต่นมแพะของชมรมฯไม่กลิ่นดังกล่าว นอกจากวิธีการเลี้ยงแล้ว อาหารผสมหรืออาหารเม็ดก็น่าจะมีส่วนอยู่บ้าง

     

 

กลิ่นเฉพาะ 

                แพะมีกลิ่นเฉพาะ เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น แต่กลิ่นนี้จะมีในตัวผู้ที่เจริญพันธุ์และอยู่ในช่วงที่ตัวเมียเป็นสัดเท่านั้น ช่วงที่ตัวเมียเป็นสัด จะทำให้ตัวผู้ผลิตกลิ่นเฉพาะนี้ออกมาจากต่อมใต้ผิวหนังที่โคนขา กลิ่นนี้จะหมดไปต่อเมื่อตัวเมียได้การผสมพันธุ์และหยุดระยะการเป็นสัด ประมาณ 24 ชั่วโมง การที่เราได้กลิ่นตลอดเวลา แสดงว่าตัวเมียเกิดเป็นสัตว์อย่างต่อเนื่องหลายตัวติดต่อกัน

การเลือกพันธุ์แพะ 

                การเลี้ยงแพะให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งคือพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ควรดูลักษณะที่ดีตามสายพันธุ์แต่ละชนิด การเริ่มต้นในการเลี้ยงควรเริ่มจากแพะพื้นเมืองหรือลูกผสม เพราะเลี้ยงดูง่ายต้นทุนไม่สูงนัก เมื่อมีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น จึงค่อยๆปรับปรุงสายพันธุ์หรือนำสายพันธุ์แท้มาเลี้ยง พ่อพันธุ์ควรเลือกสายพันธุ์แท้ แต่มีข้อเสียงคือ อาจจะเลี้ยงยาก ถ้ายังปรับสภาพไม่ได้จะผสมไม่ดีหรืออาจจะไม่ผสมพันธุ์ก็ได้

 

พ่อพันธุ์ที่ดีต้องตรงกับลักษณะของสายพันธุ์ กระตือรือร้นที่จะผสมพันธุ์กับแม่แพะที่เป็นสัด พ่อพันธุ์ 1 ตัวสามารถคุมฝูงได้ประมาณ 20-25 ตัว เมื่ออายุ 1 ปี

 

 

 ส่วนแม่แพะควรเลือกที่มีรูปร่างลักษณะดี ลำตัวยาว เต้านมมีขนาดใหญ่ สมส่วน น้ำนมมีปริมาณมาก ผสมติดง่าย ให้ลูกแฝด

      

  

การผสมพันธุ์และการตั้งท้อง 

 ครั้งแรกของการเป็นสัดจะประมาณ 3 วัน ครั้งต่อไปจะอยู่ในรอบ 21 วัน ให้เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน หากผสมหลายๆครั้งไม่ติดก็ให้คัดออกเสีย แม่แพะที่ผสมติดจะตั้งท้องนาน 150 วัน ลักษณะอาการแพะใกล้คลอดมีข้อสังเกตุดังนี้

-เตานมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้น

           

-มีอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น ร้องเสียงต่ำๆ

-บริเวณสวาปด้านขวาจะยุบเป็นหลุมก่อน จากนั้นจะยุบทั้ง 2  ข้าง

-อาจมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อย ก่อนคลอดหลายวัน

-คุ้ยเขี่ยหญ้า ฟาง เหมือนเตรียมตัวจะคลอด

-แม่แพะจะหงุดหงิดมากขึ้น เดี่ยวลุกเดียวนอน

 

 

ปกติแม่แพะจะคลอดและจัดการกับลูกเองซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ  นอกจากบางกรณี เช่นแม่แพะสาวของชมรมฯคลอดเองไม่ได้ เพราะลูกในท้องใหญ่ผิดปกติ ต้องนำไปพบสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ขอนแก่น สัตวแพทย์ต้องผ่าออก ซึ่งเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลที่ทำคลอดแพะด้วยการผ่านตัด แม่แพะปลอดภัย ส่วนลูกแพะตายตั้งแต่อยู่ในท้อง

   

  

                เมื่อคลอดแล้วรกจะถูกขับออกภายใน 4 ชั่วโมง นำน้ำหรือนำน้ำมะขามเปียกมาให้แม่แพะกินเพื่อทนแทนของเหลวที่ร่างกายเสียไป ลูกแพะจะใช้เวลาไม่นานก็จะทรงตัวและยืนได้ในที่สุด จากนั้นก็จะดื่มมนแม่เองตามสัญชาตญาณ ในช่วง 2-3 วันแรกจะมีนมน้ำเหลืองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกแพะมาก ลูกแพะที่ไม่ได้กินนมช่วงนี้จะขาดภูมิต้านทาน ทำเจ็บป่วยได้ง่าย หากจะรีดนมก็สามารถแยกลูกแพะออกหลังจากอยู่กับแม่ 3-5 วัน หรืออาจจะกักลูกในช่วงกลางวันแล้วแต่ความเหมาะสม

 

       

 

การดูแลสุขภาพแพะ/วิธีการรักษา 

                แพะที่มีสุขภาพดี จะร่าเริง ปกติแพะเป็นสัตว์ที่ซุกซน เมื่อกินอิ่มจะนอนเคี่ยวเอื้อง การเคี้ยวเอื้องของแพะแสดงว่าแพะมีสุขภาพดี แต่หากแพะไม่เคี้ยวเอื้อง ซึม แสดงว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น อาจจะมีสาเหตุมากจากสิ่งต่างๆดังนี้

1.พยาธิ พยาธิตัวกลมทั้งในกระเพราะและลำไส้เล็ก พยาธิเส้นลวด พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ในตับ ควรถ่ายพยาธิสม่ำเสมอ

2. เชื้อบิด โรคติดเชื้อ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ควรฉีดวัคซีนทุกๆ 6 เดือน

3. โรคไข้นม จะเป็นในแพะคลอดใหม่ๆและให้นม เกิดจากการขาดแคลเซียม ให้อาหารที่มีธาตุแคลเซียม หรือเกลือแร่เสริมและสม่ำเสมอ

4. โรคขาดแร่ธาตุ อาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนวนเป็นวงกลม ควรมีแร่ธาตุให้แพะได้เลียกินตลอดเวลา

       

5.โรคท้องอืด เป็นสาเหตุต้นๆที่ทำให้แพะตาย เนื่องจากกินหญ้าอ่อนหรืออาหารโปรตีนมากเกินไป ถ้าเป็นมากต้องเจาะเอาแก๊สออกหรือกระตุ้นให้แพะลุกเดิน สำหรับชมรมฯใช้น้ำมันพืชกรอกปากและใส่สริงฉีดเข้าก้น

6. โรคปอดบวม เกิดได้กับแพะที่ไม่เคยถ่ายพยาธิ ควรถ่ายพยาธิบ่อยๆ

7. โรคแท้งติดต่อ(บลูโซลาซีซ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพะจะแท้งลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก อาการของแพะสังเกตุยาก ต้องตรวจเลือดเท่านั้น ควรตรวจเลือดปีละ 1 ครั้ง ให้ทำลายแพะที่เป็นโรคนี้เสีย

8. การตัดแต่งเล็บ ควรตัดแต่งเล็บแพะเป็นระยะๆ

9. ควรตรวจดูสัตว์ที่จะมารบกวน เช่นเห็บ หากพบก็ให้เก็บทำลาย หรือจะใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นให้ทั่ว

10. บาดแผลขีดข่วน ให้รีบรักษาด้วยยาหรือน้ำส้มควันไม้ ซึ่งจากการทดลองได้ผลดีมาก

                       

 

สายพันธุ์แพะที่ชมรมฯ 

  1. ซาเนนแท้ 100% ได้จากการปรับปรุงสายพันธุ์ ที่นำมาจากกองบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา กรมปศุสัตว์ โดยเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงกึ่งธรรมชาติ ให้หาอาหารกินเอง และมีอาหารเสริมตามความเหมาะสม

             

 

2. ซาแนนสายพันธุ์ดั้งเดิม ได้มาจากฟาร์มในกรุงเทพฯที่เลี้ยงและรักษาสายพันธุ์ไม่ต่ำกว่า 50 ปี ปรับปรุงพันธุ์จนลักษณะแตกต่างจากซาแนน 100% ให้นมเท่ากับซาแนน 100% น้ำนมข้น ไม่มีกลิ่นเฉพาะ ทนกับสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี

       

 

3. สายพันธุ์ลูกผสมซาแนน-แองโกลนูเบียน ลักษณะตัวโตแข็งแรงแบบแพะเนื้อ แต่ให้นมปริมาณที่มาก นมข้น ไม่มีกลิ่นเฉพาะ ข้อดีคือได้ทั้งเนื้อและนม

 

    

 

การประมาณอายุแพะ

                ให้ดูจากฟัน แพะมีฟันล่าง 8 ซี่ ฟันแท้จะงอกมาแทนฟันน้ำนมเป็นคู่ๆ ตั้งแต่อายุ 1 ปีถึง 4 ปี แพะผลัดฟันน้ำนมเป็นฟันแท้ 1 คู่ ในขณะที่มีอายุได้ 1 ปี

อายุประมาณ 13 - 15 เดือน ฟันแท้ซี่กลาง 2 ซี่ งอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนมหรืออายุ 1 ปีขึ้นไป

อายุประมาณ 18 - 21 เดือน ฟันแท้อีก 2 ซี่ งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม รวมเป็นฟันแท้ 4 ซี่

อายุประมาณ 22 - 26 เดือน ฟันแท้อีก 2 ซี่งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม รวมเป็นฟันแท้ 6 ซี่ จึงเหลือฟันน้ำนม 2 ซี่อยู่ด้านข้าง ข้างละ 1 ซี่

อายุประมาณ 27 - 32 เดือน แพะจะมีฟันแท้ทั้ง 8 ซี่

 

ผลผลิตจากแพะ 

 นมแพะ  

                นมแพะเป็นผลผลิตที่ได้จากแพะ โดยตรงมีประโยชน์ต่อมนุษย์ไปบริโภคโดยตรง   นำไปทำเครื่องสำอาง เช่นโลชั่น  สบู่  ผลิตภัณฑ์ ที่ชมรมฯทำคือสบู่

 

              

 

การรีดนมแพะ 

  1. นำแม่แพะนมที่พร้อมจะรีดนม มาผูกล่าม หรือเข้าซองที่เตรียมไว้

   

2.ล้างเต้านมด้วยน้ำ จนสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง

    

3.นำน้ำอุ่นมาเช็ดเต้านมอีกครั้ง(ช่วยลดการอักเสบของนม)

4.รีดนมทิ้งประมาณ 2-3 ครั้ง

 

5.ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบไปที่หัวนม แล้วรีดให้นมไหลเข้าในภาชนะที่เตรียมไว้

 

6.ระวังอย่าให้นมไหลย้อนขึ้นไปเวลารีด(ต้องอาศัยการฝึก)

 

7.พยายามรีดให้นมหมดเต้า

ข้อปฏิบัติในการรีดนม 

  1. รีดนมให้ตรงเวลา เช่น รีดช่วงเช้าก็ต้องเป็นช่วงเช้าทุกวัน

2. ไม่ควรเปลี่ยนคนรีด

3. ไม่ควรเปลี่ยนวิธีรีด

4. ควรรีดนมด้วยความนุ่มนวล

5. ไม่ส่งเสียงดังในขณะรีด

6. ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว

 

  

 

 

กลุ่มน้ำหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ

 

 

ปุ๋ยชีวภาพ 

                  ปุ๋ยชีวภาพ หรือบางครั้งเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ต่อดินและพืชมาเพาะเลี้ยงจำนวนมาก ๆ แล้วใส่ลงในดินที่จะเพาะปลูกพืช เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการเหล่านี้ เจริญเติบโต เพิ่มปริมาณและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

                 จุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำ ปุ๋ยชีวภาพนั้นมีหลายประเภท เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เชื้อราแบคทีเรีย โปรโตชัว เป็นต้น
ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจนออกจากอากาศ และกลุ่มปุ๋ยชีวภาพที่ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่น

 


ปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศ
            มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้โดยอาศัยอยู่อย่างอิสระในดิน รากพืช หรือในน้ำ เช่น อะโซโตแบคเตอร์ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแหนแดง จุลินทรีย์เหล่านี้ เมื่อตรึงไนโตเจนจากอากาศมาได้ก็จะปล่อยสารประกอบไนโตรเจนนั้นออกมา ซึ่งพืชที่ปลูกจะได้ใช้ประโยชน์จากสารประกอบไนโตรเจนนี้เป็นธาตุอาหาร นอกเหนือจากธาตุอาหาร ไนโตรเจนแล้ว จุลินทรีย์ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินยังปล่อยฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และให้ออกซิเจน (จากการสังเคราะห์แสง) ทำให้มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการย่อยสลาย อินทรียวัตถุอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปุ๋ยชีวภาพอื่น ๆ
            ปุ๋ยชีวภาพอื่น ๆ ที่สำคัญคือปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซา ซึ่งใช้ประโยชน์หลักในการเพิ่มฟอสเฟต ที่มีอยู่แล้วในดิน ปุ๋ยชีวภาพชนิดนี้ผลิตจากจุลินทรีย์ไมโคไรซา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน โดยเชื้อรากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากฝอยที่สัมผัสกับดินทำให้รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อราไมโคไรซายังช่วยสะสมน้ำและธาตุอาหารสำคัยไว้ให้กับพืช แต่ประโยชน์ที่นิยมนำ เชื้อรานี้มาใช้ก็คือ การที่เชื้อราสามารถย่อยสลายธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในดินแต่อยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ไม่ได้ (ทั้งนี้อาจเนื่องจากฟอสเฟตถูกเม็ดดินยึดจับไว้จนแน่น) ให้เปลี่ยนมาอยู่ในสภาพที่พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่า จุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

             อีเอ็ม(EM) มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Effecttive Microorganisms  ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ.2525        

โดยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ เทรุโอะ ฮีหงะ  แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว  โอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น  เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งระบบการเกษตรที่เป็นธรรมชาติเป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี  และยาฆ่าแมลง อันเป็นการทำรายระบบนิเวศน์ ทางการเกษตรเป็นระบบที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง  ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนทางการเกษตร  และขณะเดียวกันยังเป็นการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อีเอ็ม คือ กลุ่มของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ  ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ ลักษณะโดยทั่วไปของอีเอ็ม    เป็นของเหลวสีน้ำตาล     มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวานที่เกิดจากการทำงานของกลุ่ม

   

จุลินทรีย์ต่างๆ สามารถนำไปเพาะขยาย ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมียาปฏิชีวนะ และยาฆ่า แมลงต่างๆได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิงมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช  และแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิต และสิ่ง แวดล้อมธรรมชาติ

        

 

 การเก็บรักษาอีเอ็ม 

                  หัวชื้ออีเอ็มที่ยังไม่ได้เปิดฝาเก็บไว้ใช้ได้ประมาณ 1ปี ส่วนที่เปิดใช้แล้วต้องรีบปิดฝาให้สนิททันที่เพื่อไม่ให้เชื่อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็น โทษเข้ามาปะปนและเมื่อเปิดใช้แล้วสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ6เดือน อย่าทิ้งอีเอ็มไว้กลางแดด  และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็นเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติ20-45องศาเซสเซียส  

การนำอีเอ็มไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาด  และใช้ให้หมดภายในระยะ7-10วัน การขยาย

อีเอ็ม เป็นการเพาะเลี้ยงอีเอ็มเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นและให้แข็งแรง  โดยมีกากน้ำตาล(เป็นของเหลวสีน้ำตาลคล้ำ)เป็นอาหารของอีเอ็ม  หรือใช้วัสดุอื่นๆ เป็นอาหารแทนได้ เช่น น้ำตาลทายแดงผสมน้ำข้นๆ หรือน้ำอ้อย  น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าวหรือนำผลไม้ที่คั้นสดๆ ไม่ใส่สารกันบูด  ใช้ประมาณ6-8 ช้อนโต๊ะ  โดยมีส่วนผสมดังนี้  หัวเชื้ออีเอ็ม 2 ช้อนโต๊ะอาหารที่ใช้เลี้ยง(กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ) :น้ำสะอาด 1 ลิตร

              

(จุลินทรีย์)

สูตรน้ำหมักสำหรับเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และปุ๋ย

หากต้องการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักหรือทำเป็นหัวเชื้อไว้ใช้ต่อไป ดังนี้
ส่วนประกอบ
1. เศษผัก 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

ขั้นตอนและวิธีทำ

1.ใช้เศษพืช ผัก ผลไม้หรือเศษอาหาร  นำมาสับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ

   

  

 

 2.ใส่ภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติก หรือโอ่ง

  

  

3. ใส่กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง หรือขาวลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหมักผัก

         

4. นำของหนักวางทับผักไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 5-7 วัน จะได้น้ำสีน้ำตาลไหลออกมา คือ น้ำสกัดชีวภาพ กรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทพร้อมที่จะใช้  น้ำสีน้ำตาลนี้คือเชื้อจุลินทรีย์หรืออีเอ็มนั้นเอง

 

หรือการขยายหัวเชื้อใช้สูตรนี้ อัตราส่วน คือ น้ำสกัดชีวภาพ : กากน้ำตาล : น้ำ ในอัตราส่วน 1: 1 : 10 ใส่ขาดปิดฝา 3 วัน นำไปใช้ได้

 

  น้ำสกัดชีวภาพ คือ สารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมัก เศษพืช หรือสัตว์ ซึ่งจะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์  การหมักมี  2  แบบ คือ แบบต้องการ ออกซิเจน (แบบเปิดฝา)และแบบไม่ต้องการ ออกซิเจน (แบบปิดฝา) ถ้าได้ผ่านการหมักที่ สมบูรณ์แล้ว จะพบสารประกอบพวกดาร์โบ-โอเดรทโปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอนไซม์ ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้(พืชหรือสัตว์) 

 

 

คุณสมบัติจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในปุ๋ยชีวภาพ คือ
1. ผลิตธาตุอาหารและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
2. เติบโตเร็ว เพาะเลี้ยงได้ง่าย
3. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
4. ทนทานต่อสารเคมีทางการเกษตร คือ ยาหรือสารเคมีต่าง ๆ

วิ ธี ใ ช้ น้ำ ส กั ด ชี ว ภ า พ
นำน้ำสกัดชีวภาพผสมน้ำธรรมดาทำให้เจือจาง

1. ฉีดพ่นพืช ผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5-10 ลิตร

  


2. ราดกองใบไม้ใบหญ้า สด แห้ง อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2-3 ลิตร ใช้พลาสติกคลุมกองพืชปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ นำมาใช้ประโยชน์ได้

หมายเลขบันทึก: 217751เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอให้มีความสุขสุขภาพแข็งแรงค่ะ

 

 

 

สวัสดีค่ะ คุณมนัสนันท์ ขอบคุณมากที่เป็นกำลังใจและแวะเยี่ยม ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงเช่นกัน

ขอชื่นชมในความพยายามขอเป็นกำลังใจ

สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณ คุณสมศักดิ์มาก ที่เป็นกำลังใจให้ดิฉันมีกำลังใจในการทำงานค่ะ

อัสสะลามุอะลัยกุ่มฯขอเป็นกำลังใจให้คุณครูอมีนาด้วย จากครูเก่า อ.ว.ท.

วัสลาม ครูเก่า อ.ว.ท. ขอบคุณที่แวะเยี่ยมและเป็นกำลังใจ โชคดีมีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ

สวัสดีครับคุณครูอมีนา ทำดีดีเพื่อพ่อทำเลยไม่ต้องลอง มาเยี่ยมครับ

คุณธันวา ขอบคุณมากที่มาเยี่ยม

สวัสดีค่ะ

อันยองนะคะคุณครู

เป็นงัยบ้างคะ

สบายดีป่าวคะ

สวัสดีจ้า หนูเพิ่งกลับบ้านมาไม่เห็นน้ากลับเลย คิดถึงเสมอ ดูแลตัวเองด้วย....Sunny

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท