การวิจัยเชิงรุก


การวิจัยเชิงรุก ยุทธศาสตร์ 4P's การให้เบ็ดตกปลา

                วันก่อนได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ให้กับครูในโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งเกือบตกม้าตาย ไม่รู้ว่าสับสนกันตรงใหน ตอนที่ได้รับการประสานทางโทรศัพท์ว่าจะเชิญมาพูดเรื่องการการนิเทศทั่วไปกับการวิจัยในชั้นเรียน      ให้ครูสอนภาษาไทยฟัง เราก็ยินดี วับรรยายก็ไปพร้อมกับป้าเป้า (ศน.ผุสดี จิระวัฒนกิจ) เชิญให้ไปพูดเรื่องประสบการณ์การนิเทศ แต่วันที่จะบรรยายไปถึงโรงเรียนทางโรงเรียนก็แจกเอกสาร ก็พบว่าในกำหนดการจะให้พูดเรื่อง "การวิจัยเชิงรุก" ที่สำคัญก็คือไม่ได้เตรียมพูดเรื่องนี้ ต้องทำ Presentation ใหม่ขณะที่ป้าเป้ากำลังเล่าประสบการณ์การนิเทศ ต้องนึกย้อนหลังถึงความรู้ที่เคยเรียนมาตอนปริญญาโท ได้นึกถึงงานวิจัยของพี่อาภรณ์ คงสง ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าข้าม อยู่จังหวัดตรัง ท่านทำเรื่องยุทธศาสตร์เชิงรุกหรือยุทธศาสตร์ 4P's ซึ่งเป็นยุทธศาสร์ส่วนผสมทางการตลาดของ Jarome E. MaCarthy  ประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) (2) ยุทธศาสร์ด้านสถานที่ (Place Strategy) (3) ยุทธศาสตร์ด้านราคา (Price Strategy) (4) ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion Strategy) นั่งนึกอยู่ว่าจะออกแบบการบรรยายอย่างไร คิดเสร็จสรรพก็ออกมาเป็นแผนภูมิดังนี้ (ดูที่แทรกรูป)

                                ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแผนภูมิการพัฒนางานวิจัยเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์ 4P’s”  วันนั้น   ยังไม่ได้ตั้งชื่อแผนภูมิ เลยขอใช้โอกาสนี้ตั้งชื่อแผนภูมิซะเลย  วันนั้นได้บอกกับครูใหญ่ว่าจะนำหัวข้อการบรรยายวันนี้ไปเขียนเป็นบทความเพื่อใช้ประโยชน์ในวิชาการต่อไป          

                        (1) ยุทธศาสร์ด้านสถานที่ (Place Strategy) โรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานวิจัย อาจจัดสถานที่ให้เอื้อต่อการทำงานวิจัยในชั้นเรียน เช่น จัดห้องสมุดให้มีเอกสารให้ศึกษาค้นคว้า รวมถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง  ตั้งคลินิคการวิจัย (Research Clinic) อาจใช้ครูทีมีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ครูแกนน ครูต้นแบบ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูที่จการศึกษาตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไปมาเป็นที่ปรึกษา การจัดและให้บริการข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนั้นโรงเรียนอาจจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อีกด้วย เช่น คอมพิวเตอร์ Internet ความเร็วสูง ไว้ให้บริการ

                        (2) ยุทธศาสตร์ด้านราคา (Price Strategy)  เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบต่อคุณครูและบุคคลทั่วไป ดังนั้นโรงเรียนและครูต้องแสวงหาทางเลือกเพื่อให้เกิดการประหยัดรายจ่าย แม้แต่การทำวิจัยก็ตาม ในอดีตการจะไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ต้องเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้เคียงหรือในกรุงเทพมหานคร เพื่อทำสำเนาเอกสาร ต้องเสียทั้งค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าถ่ายสำเนา ค่าแต่งตัว ค่าอาหารเช้าอาหารกลางวันและอื่น ๆ จิปาถะ แต่ปัจุบันการสืบค้นข้อมูลทาง Internet ความเร็วสูง ได้รับความนิยมและได้รับ ความสะดวกมากยิ่งขึ้น เราสามารถใช้ช่องทางการสืบค้นข้อมูลผ่านทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สภาการวิจัยแห่งชาติ และแหล่งสืบค้นงานวิจัยต่าง ๆ อีกมากมาย และเว็บไซค์ต่อยอดดอทคอม (Toryod.com) ซึ่งเป็นเว็บไวซ์เกี่ยวกับการสร้างและผลิตนวัตกรรมที่ได้จดสิทธิบัตรไว้แล้วในต่างชาติ และยังไม่ได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย  เราสมารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมของครูในการสอนกลุ่มสาระต่าง ๆ ได้  และได้เกิดแนวคิดที่จะเขียนแนวทางการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายเพื่อการวิจัย แทนที่จะให้ปลากับผู้คน เรามาให้เครื่องมือจับปลากันดีกว่า  เราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือที่ใหน ๆ ก็ตามที่มี Internet นอกจากนั้นยังสามารถ Download วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มไว้อ่านทางหน้าจอได้อีกด้วย ทำให้ประหยัดได้มาก

                        (3) ยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) ผลิตที่ได้ก็คือครูจะได้นวัตกรรมที่เป็นวิธีการสอน (Method of Teaching) เช่น Cooperative Learning, Constructivism, Research Based Teaching, Research -  Based Learning และการสอนวิธีอื่น ๆ  นวัตกรรมที่เป็นสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสารประกอบการเรียน เอกสารประกอบการสอน ชุดการเรียน ชุดการสอน ศูนย์การเรียน CD., DVD., CAI, WBI,  e – Learning   และอื่น ๆ ได้รายงาน หรือรางนการวิจัย

                        (3) ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion Strategy)  เพื่อเป็นการเสริมแรง สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู ครูนักวิจัย  โรงเรียนอาจจัดกิจกรรส่งเสริมงานวิจัย โดยอาจจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่ เช่น การ

รวบรวมบทคัดย่อ การรวบรวมผลงานบันทึกลงแผ่น CD., DVD. การจัดนิทรรศการ การนำเสนอผลงาน การจัดสัมมนาทางวิชาการ (Symposium) งานวิจัย การเผยแพรทางเว็บไซค์ต่าง ๆ  เป็นต้น

                        จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่จะไปสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางานวิจัยอีกหลายเรื่อง เช่น  แนวทางการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายเพื่อการวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยผ่านเว็บไซค์ และอื่น ๆ ที่จะต้องติดตาม  อย่างไรก็ตามหากท่านผู้ผ่านมาเยี่ยมมีข้อคิดเห็นประการใดที่จะเติมเต็มเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยินดีครับ

หมายเลขบันทึก: 217321เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2008 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณท่านขจิต ฝอยทอง ที่แวะมาเยี่ยมเยียน คงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท