คำถามคำตอบเกี่ยวกับการจัดการความรู้


คำถาม

  1. การจัดการความรู้คืออะไร

คำตอบ

     การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดเพิ่มเติม

      ส่วน Wiki pedia ได้ให้ความหมายถึง การจัดการความรู้ไว้ว่า

        การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด รายละเอียดเพิ่มเติม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

  2. ความรู้ฝังลึกและความรู้ชัดแจ้งเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ

               ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

    3. ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร

คำตอบ


    คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้

  • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน 
  • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน 
  • มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น 
  • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน 
  • มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน 
  • มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้ 
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี 
  • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย 
  • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง 
  • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

       4. โมเดลปลาทูคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการจัดการความรู้

คำตอบ

       “โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ


          1. ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision-KV) หมายถึงส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ

          2. ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

          3. ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

          อีกหนึ่งแนวคิดเกี่ยวกับโมเดลปลาทู ของ ขวัญตระกูล กลิ่นสุคนธุ์ ชำแหละปลาทู

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

       5. คุณเอื้อ ,คุณอำนวย ,คุณกิจ ,คุณลิขิต และคุณประสานคือใคร

คำตอบ

       “คุณเอื้อ” (CKO – Chief Knowledge Officer) คือผู้ทำให้เกิดผลงาน KM ระดับ ๔ – ๕ ดาว 
       

        "คุณอำนวย" (Knowledge Facilitator , KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ “คุณอำนวย” อยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิดและการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (“คุณกิจ”) กับผู้บริหาร (“คุณเอื้อ”), เชื่อมโยงระหว่าง “คุณกิจ” ต่างกลุ่มภายในองค์กร, และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กร กับภายนอกองค์กร คุณอำนวยควรมีคุณสมบัติอย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติม

        "คุณกิจ" (Knowledge Pracititoner, KP) “คุณกิจ” หรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอกหรือนางเอกตัวจริง ของการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้ดำเนิน 

         "คุณลิขิต" (Note taker)  หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่บันทึกความรู้ ในระหว่างการประชุมกลุ่ม  คุณลิขิต  เป็นผู้ "สกัด" "ขุมความรู้" (Knowledge Assets) โดยการจับประเด็นและบันทึกความรู้ความสำเร็จจากเรื่องเล่า  

        "คุณประสาน" (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

      6. วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) คือใคร

คำตอบ

    “วิทยากรกระบวนการ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “ Facilitator” วิทยากรกระบวนการเปรียบเสมือนทั้งผู้จัดการ ผู้ประสานงาน ผู้สังเกต ผู้กระตุ้น ผู้สร้างบรรยากาศ ผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารแนวราบ เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ไปกับสมาชิกในกลุ่ม และโค้ชการเรียนรู้ หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม

      7. บทบาทหน้าที่วิทยากรกระบวนการ มีอะไรบ้าง

คำตอบ

  • เป็นผู้จัดกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมนุษย์
  • เป็นผู้ให้ความรู้ และเป็นผู้รับความรู้ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)
  • เป็น COACH – คอยชี้แนะ แนะนำ ตั้งคำถาม / สะท้อนความคิด
  • เป็นกลาง – ไม่อคติ
  • เป็นอิสระ – ไม่ขึ้นต่อแรงกดดันของอำนาจใด ๆ
  • เป็นกระจกสะท้อนให้ผู้เข้าสัมมนา – ได้เห็นตัวตน และศักยภาพของตน และเพื่อน เห็นหนทางการพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้
  • เป็นผู้นำกองคาราวาน – ต้องรับผิดชอบดูแลทิศทางของกระบวนการ และผู้เข้าร่วม
  • เป็นผู้ให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลง – มนุษย์มักมีข้อผิดพลาด ข้อด้อย ปูมหลังที่ไม่ถูกต้อง
  • เป็นผู้ควบคุมกฎ กติกา – ให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่มีการทำลายความคิดกัน สามารถเรียนรู้ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลายได้ เป็นผู้วิเคราะห์สรุปประเด็น ติดตาม สังเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ หรือวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ได้
  • เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการการมีส่วนร่วมทางความคิด คลี่คลาย ข้อขัดแย้ง จัดการกับความคิดที่แตกต่างหลากหลายอย่างสร้างสรรค์
  • เป็นผู้นำการยกระดับความคิดของผู้เข้าร่วมขึ้นไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น (Meta Level)
  • เป็นผู้เตรียมความพร้อมของกระบวนการ
  • เป็นผู้รับผิดชอบความสำเร็จของกระบวนการประชุม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

 คำถาม

      8. คุณสมบัติของวิทยากรกระบวนการ ควรเป็นอย่างไร

คำตอบ

  • เป็นบุคคลที่พยายามเปลี่ยนแปลง ฝึกฝน พัฒนาตนเองและบุคคลในทีมให้เป็นผู้รอบรู้ มีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง (Personal Mastery)
  • ให้ความเอาใจใส่กับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม (Team Learning)
  • มีความเป็นกลาง อิสระ เป็นธรรม ไม่โอนเอียง หรืออคติ
  • มีจิตใจรักมนุษย์ มีความสุขกับการเห็นมนุษย์เกิดการยกระดับทางจิตวิญญาณ และภูมิปัญญา และมีความเชื่อมั่นในพลังทวีคูณ (Synergy) ระหว่างมนุษย์ ไม่ดูถูกมนุษย์
  • มีจิตใจประชาธิปไตย ใจกว้าง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่เป็นเผด็จการ เพื่อให้เกิดการปรับวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
  • มีวิธีคิดแบบองค์รวม (System Thinking) ไม่แยกส่วน
  • มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบ พร้อมที่จะขยาย ปรับ หรือเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด (Mental Model) กล้าคิด กล้าทำ กล้าจินตนาการ กล้าเปลี่ยนแปลง (Creativity – คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกนอกกรอบเดิม ๆ)
  • สามารถใช้สมองสองซีก ซ้าย – ขวาอย่างเชื่อมโยง มีทั้งศาสตร์และศิลปะ มีประสาทสัมผัสที่ดี นอกเหนือจากตาดู หูฟัง ต้องมีความรู้ความเห็น (ญาณทัสนะ) ที่แจ่มชัด เป็นนักสังเกตการณ์ มีความละเอียดอ่อน (Sensibility)
  • สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนได้ง่าย
  • มีอารมณ์ที่ดี สมาธิดี ใจเย็น ไม่ตื่นตระหนกง่าย ไม่ฉุนเฉียว ไม่เอาแต่ใจตัวเอง มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีความสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลากับการปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมนุษย์
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และสังคม โดยเฉพาะการสื่อสาร 2 ทาง (TWO WAY COMMUNICATIONS)
  • กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบสูง
  • รายละเอียดเพิ่มเติม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มาของแหล่งข้อมูล

  1. http://th.wikipedia.org
  2. http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km2
  3. http://kmcenter.rid.go.th/kclproject/knowlage001_2.htm
  4. http://cddweb.cdd.go.th/tr_di/documentary/tr_dihrddoc011.html



ความเห็น (11)
  • ดีครับเป็นประโยชน์มากครับ
  • ข้อมูลชัดเจนดี

ได้ความรู้จากขอมูลมากๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ได้เพิ่มพูนความรู้อีกค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

แจ่มแจ้งครับ อาจารย์

PPPP

ขอบคุณ กิตติเชษฐ์ JR คนโรงงาน อาจารย์สุนันทา มากครับ ที่เข้ามาช่วยเสนอแนะความคิดเห็นดีๆ

นายรักษิต สุทธิพงษ์

อาจารย์ครับ คำถาม คำตอบของอาจารย์ เป็นประโยชน์มากเลยครับ

ข้อมูลของอาจารย์เยี่ยมมากเลยครับ

อ่านงานของอาจารย์แล้ว เข้าใจง่ายดี เป็นประโยชน์ด้วย

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ได้อ่านของท่านอาจารย์และของเพื่อนนิสิต ปรด.การศึกษา ทำให้ทราบและได้ประโยชน์อย่างมากครับ สำหรับสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของการจัดการความรู้ คือแรงจูงใจในการจัดการความรู้ สิ่งสำคัญคือเป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสําคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสําเร็จในการจัดการความรู้ หากคนในองค์กรมีความพร้อม มีความตั้งใจ โดยไม่ได้มาจากการบังคับ ผมคิดว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการความรู้อย่างยั่งยืนครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ได้อ่านของท่านอาจารย์และของเพื่อนนิสิต ปรด.การศึกษา ทำให้ทราบและได้ประโยชน์อย่างมากครับ สำหรับสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของการจัดการความรู้ คือแรงจูงใจในการจัดการความรู้ สิ่งสำคัญคือเป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสําคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสําเร็จในการจัดการความรู้ หากคนในองค์กรมีความพร้อม มีความตั้งใจ โดยไม่ได้มาจากการบังคับ ผมคิดว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการความรู้อย่างยั่งยืนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท