ภาพเล่าเรื่อง เกาหลีศึกษา วันที่ 3 ของการเดินทาง แนวคิดในการส่งเสริมอุตสาหกรรเกมคอมพิวเตอร์ การส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ E-Learning และ เยี่ยมบริษัท GRAVITY บริษัทแนวหน้าที่พัฒนาเกม Ragnarok ออนไลน์


วันที่สามของการเดินทาง เรายังค้นพบความจริงอย่างต่อเนื่องว่า ที่เกาหลี แนวคิดเกี่ยวกับไอซีทียังเป้นเรื่องของโอกาส เริ่มจาก KOCCA ที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาตัวการ์ตูน ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านเนื้อหาไอซีทีที่ใช้แกนหลักด้านเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมเป็นตัวเดินเรื่อง นอกจากนั้น เรายังพอกับ KERIS ที่เน้นการเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนการสอน E-Learning ที่มีแผนแม่บทชัดเจนที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาศักยภาพของครู และ พัฒนากระบวนการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตอนเย็นเราพบกับ GRAVITY บริษัทพัฒนาเกมที่เชื่อมต่อการทำงานกับภาครัฐอย่างลงตัว ที่สำคัญรัฐไม่ได้มองว่าเอกชนเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน แต่หาทางทำงานร่วมกันอย่างลงตัว ภายใต้แผนหลักของชาติ

 

 

ตอนเช้าวันที่สามของการเดินทาง เราพบกับ KOCCA หน่วยงานกำกับของกระทรวงวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้ง เกม แพลงแอนนิเมชั่น การ์ตูน แนวคิดการทำงานก็คือ Creavitive Content Korea

 

ตัวการ์ตูนที่ถูกพัฒนาขึ้นเรียกว่าเป็นการขายลิขสิทธิ์ใน Character โดยเน้นการผลิตตัวการ์ตูนเพื่อขายลิขสิทธิ์ เช่น PUCCA และยังมีที่ขายไปในยุโรปอีก รายได้ต่อปีทำให้องค์กรนี้เลี้ยงตัวเองได้สบายๆ

 

ประธานของ KOCCA มาร่วมประชุมด้วย ที่เห้ฯตุ๊กตาข้างๆก็คือ ลิขสิทธิ์ที่ขายไปยังยุโรป

 

ที่เห็นด้านซ้ายมือ ก็คือ เจ้าหน้าที่จาก KOCCA มาช่วยเป็นล่ามให้กับคณะศึกษา

 

โฉมหน้าตัวการ์ตูนที่ถูกพัฒนาขึ้นจากฝีมือคนเกาหลี มองย้อนกลับนึกถึงสถาบันการ์ตูนไทย

 

ที่ปรึกษาทั้งสี่กับฝาฟนังนิทรรศการผลงานของ KOCCA

 

ที่ KOCCA พันธกิจหลักก็คือ การสร้างเสริม ส่งเสริม ด้านอุตสหากรรมและ การลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง การฝึกอบรมบุคลากรด้วย

 

ตอนบ่ายเราไปที่ KERIS หน่วยงานที่ถูกจัดตั้งตามกฎหมาย ทำงานสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร

 

หน่วยงานนี้ทำงานภายใต้กรอบแนวคิดเรื่อง EDUNET ถูกมอบหมายให้เป็นResearch Information Service System(RISS) และ “National Education Information System (NEIS)”

 

 ความพยายามในการสร้างการเรียนรู้โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษา และ ลดอัตรความเครียดในการเรียนพิเศษ ที่สำคัญองค์กรนี้พยายามสร้างให้ครูสามารถเป็นผู้สร้างบทเรียนตามหลักสูตรในระบบ e ได้เอง

 

แผนแม่บท ยุทธศาสตร์ชัดเจน ต่อเนื่อง เร่มต้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาครู และ พัฒนรูปแบบของการใช้งาน แผน๑๐ ปี ตอนนี้มาครบระบบแล้ว และมีการพัฒนารุปแบบการใช้งานต่อเนื่อง

 

ที่น่าสนใจก็คือ ที่นี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคน ไปพร้อมกับเทคโนโลยี เรียกว่า ให้ความสำคัญทั้ง HumanWare Hardware & Software

 

คณะศึกษาถ่ายรูปร่วมกับ KERIS หน่วยงานที่คณะศึกษาต้องกลับมาเร่งทำการบ้านกับองค์กรต่างๆในประเทศไทย

 

ตอนเย็นเราพบกับ บริษัท Gravity เอกชนผู้ผลิตเกม ragnarok

 

เกม pucca racing ตัวอย่างของเกมที่ซื้อลิขสิทธิในตัวการ์ตูนมาจาก KOCCA แล้วนำมาพัฒนาเป็นเกม

 

ในแต่ละทีมของการพัฒนาเกม จะมี ๔ กลุ่ม กลุ่มพัฒนาตัวละคร กลุ่มพัฒนาระบบสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว แอนนิเมชั่น กลุ่มพัฒนาระบบออนไลน์ และ กลุ่มพัฒนากลุ่มลูกค้า คุณหมอมงคลกำลังแลกเปลี่ยนกับหัวหน้าฝ่ายการผลิต

 

บริษัทนี้พนักงานทั้งหมด ๔๐๐ คน แบ่งเป้นฝ่ายพัฒนาเกม ๓๐๐ และ การตลาด ๑๐๐ เร่มงานเก้าโมงครึ่ง เลิกหกโมงครึ่ง

 

พนักงานกำลังเขียนและออกแบบตัวละครในเกม อาจารย์แอ๋วสอบถามทางบริษัทได้ความว่า เฉลี่ยแล้วอายุพนักงานอยู่ที่  ๒๕ ปี

 

มื้อกลางวัน  Bulkoki เป็นกระทะร้อน เป็นเนื้อหมู สังเกตว่าที่นี่ส่วนใหญ่อาหารจะเป็นแบบกินร่วมกันตรงกลาง เป็นเพราะอากาศหนาว ก็เลยเน้นการปิ้งย่าง ข้อดีก็คือ ได้คุยกัน ไม่ได้ต่างคนต่างกินแบบบ้านเรา

 

อาหารเย็นของเราเป็นข้าวห้าสี ที่ต้องใส่ซอสมะเขือเทศแล้วต้องรีบคนอย่างรวดเร็ว เพราะเดี๋ยวข้าวก้นชามจะไหม้ เพราะว่าร้อนมาก กับต้มยำ (รสชาติจืด จนพวกเรานึกว่าแกงจืดสีส้ม)

 

โฉมหน้า ข้าวห้าสี

     
     
     
     

 

หมายเลขบันทึก: 216478เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาอ่านสิ่งดีๆ ค่ะ

หิวนะ ไปหาร้านอาหารเกาหลีกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท