เกาหลีศึกษา วันที่ 2 ของการเดินทาง เยี่ยมชมระบบเรตติ้งเกมและสื่อ กับ ระบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์ในเกาหลี


ที่เกาหลี ไม่ได้มองว่าเกมหรือไอซีทีเป็นสิ่งเลวร้ายแต่กลับมองว่าเป็นโอกาสในการสร้างคน สร้างงาน สร้างประเทศ ที่นี่ใช้โอกาสของไอซีทีในส่งออกอุตสหากรรมเกมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เนื้อหาแก่ยวกับวัฒนธรรมเป็นแกนหลักในการทำงาน เกาหลีมีระบบเรตติ้งเกมและสื่อเช่นกัน แต่ใช่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น หลากหลายมากขึ้น ที่สำคัญที่นี่ให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผ่านการประชุมแบบ "ประชาพิจารณ์" ในทุกครึ่งปี หรือหนึ่งปี

 

 

เริ่มต้นการทำงานวันที่ 2 เราพบกับ KOGIA หน่วยงานภายใต้กำกบของกระทรวงวัฒนธรรม ท่องเที่ยว กีฬา ทำหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ

 

 

องค์กรนี้เป้าหมายเพื่อสร้างความตื่นตัวในอุตหสากรรมเกม ส่งเสริม e-sport พัฒมนาศักยภาพด้านเนื้อหาเกม ส่งเสริมการส่งออกและการร่วมทุน พัฒนาโครงlร้างพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับเกม ส่งเสริมการพัฒนา เสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายและการจัดการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมเกมที่ยั่งยืน

 

 

คณะทำงาน คณะที่ปรึกษา ถ่ายรูปร่วมกับ ประธาน CEO ของ KOGIA

 

หลังจากนั้น เราลงมาที่ชั้น ๓ ของตึกเดียวกัน ที่นี่เราพบกับ Media Rating Board หน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงวัฒนธรรม เกาหลี ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจพิจารณาเรตติ้งภาพยนตร์ วีดีโอ การแสดงที่มีการบันทึกในรูปแบบของวีซีดี ถ้าเทียบแล้วก็เหมือนกับ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรมของไทย

 

คุณ ฌอง ลี ทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาเกาหลีให้กับคณะผู้ศึกษา คณะกรรมการนี้มีจำนวน 9 คน โดยกรรมการทั้งหมดจะได้รับการเลือกจากประโนคณะกรรมการวิชาการด้านศิลปะแห่งชาติ หรือ National Academy of Arts

 

จะมีการแต่งตั้งอนุกรรมการภายใต้กรรมการ 2 ชุด ก็คือ อนุกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และ อนุกรรมการวีดีโอ มีจำนวนทั้งหมด 23 คน โดยใน 5 - 10 ได้รับคำแนะนำจากประธานคณะกรรมการ ที่สำคัญมีกรรมการพิจารณา Post Rating อีกจำนวน 7 คน

 

ประธานคณะกรรมการของ Media Rting Board เข้าร่วมประชุมด้วย

 

อาหารกลางวันมือที่สองของคณะศึกษา ไก่ตุ๋นโสม หรือที่เรียกว่า Calbi เป็นไก่อายุ 45 วัน นำมาตุ๋นกับโสม รสชาติค่อนข้างจืด เราต้องขอซีอ๊วกับพริกมาทำจิ้มแจ่วกัน (คุณปู ไกค์ของเราแนะนำและจัดการให้)

 

คณะที่ปรึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาการใช้ไอซทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย คุณหมอพรรณ พี่ลัดดา อาจารย์สายฤดี และ อาจารย์พันธ์ทิพย์

 

เด็กเล็กๆที่นี่ พ่อแม่จะเน้นการเรียนรู้ตามควมถนัดและความชอบมากกว่าการเน้นหนักด้านวิชาการ ทำให้เด็กๆไม่ตองเครียดและค้นหาตัวตนของตัวเองได้ดี เห็นแล้วนึกถึงเด็กไทยที่ต้องเน้นการเรียนพิเศษแบบวิชาการตั้งแต่เด็กๆ

 

หลังจากนั้น เราเดินทางไป Game Rating Board คณะกรรมการภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม

 

ประธานจากคณะกรรมการ เล่าให้ฟังว่า ที่นี้มีระบบอาสาสมัครในการติดตามระบบเรตติ้งเกมคอมพิวเตอร์ เช่นกัน โดยจะส่งข่าวมายังคณะกรรมการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

 

ขั้นตอนการพิจารณาจะเร่มต้นจากบริษัทเกมคอมพิวเตอร์ส่งเกมมาให้กับคณะทำงานประสานงานด้านเรตติ้ง ของคณะกรรมการ หลังจากนั้น จะส่งเกมไปยังกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และส่งต่อไปยัง คณะกรรมการพิจารณาระดับความเหมาะสม โดยหากมีข้อโต้แย้งเรื่องเรตติ้ง ก็จะส่งกลับมาหใก้บคณะกรรมการ Re-Classification Board พิจารณาอีกครั้ง

 

คณะทำงาน คณะที่ปรึกษา ถ่ายรูปร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมตคอมพิวเตอร์ของเกาหลี

 

คุณเลิศชาย จาก Asiasoft กับ เจ้าหน้าที่ด้านแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการพิจารณาระดับเรตต้งเกมคอมพิวเตอร์จากเกาหลี งานนี้ต้องขอบคุณคุณเลิศชายและคุณไมเคิลจากเอเซียซอฟท์มากครับ ที่ประสานงานกับทางเกาหลีให้กับพวกเราคณะศึกษา

     
     
     

 

หมายเลขบันทึก: 216219เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

-สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยม และหาความรู้

-ก่อนเคยไม่ชอบIT

-เดี๋ยวนี้ชอบมาก

-มันสร้างโลกใหม่ให้ครูแก่อย่างฉันได้

-เคยคิดจะยุติการรับรู้ข่าวสารและความเจริญของโลก

-เคยคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ เพราะมันทำให้เราตกเป็ทาสของซอฟแวร์

-ถ้าเราใช้มันอย่างถูกต้อง และเข้าใจมัน มันจะก่อประโยชน์ให้มนุษย์ชาติอย่างมหาศาล

-จะติดตามอ่านบทความดีๆ เขียนต่อนะค่ะ

จะกลับมาเล่าให้ฟังอีกสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจครับก็คือ KERIS หน่วยงานองค์การมหาชนที่เน้นการสร้าง E Learning ให้ครูและนักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากไอซีทีอย่างเต็มที่ ที่นี่มีเป้าหมายชัดเจนครับว่า จะลดช่องว่างทางการศึกษา และ ลดอัตราการเรียนพิเศษของเด็กๆโดยใช้ e learning มาเป็นเครื่องมือ

วางแผนดีครับ เริ่มจากพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อบรมครูทั้งประเทศ และทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนได้เอง

ที่สำคัญที่เกาหลีมีแผนแม่บทชัดเจน ไม่เปลียนตามการเมือง

น่าอิจฉาคนเกาหลี

ขอบคุณครับอาจารย์ที่นำชมและเล่าเรื่องเกาหลี ชอบคำบรรยายใต้ภาพ มองแล้วพอจะนึกภาพอนาคตของเด็กได้ราง ๆ เลยทีเดียว  " เด็กเล็กๆที่นี่ พ่อแม่จะเน้นการเรียนรู้ตามควมถนัดและความชอบมากกว่าการเน้นหนักด้านวิชาการ ทำให้เด็กๆไม่ตองเครียดและค้นหาตัวตนของตัวเองได้ดี เห็นแล้วนึกถึงเด็กไทยที่ต้องเน้นการเรียนพิเศษแบบวิชาการตั้งแต่เด็กๆ"

เด็กๆที่นี่พ่อแม่จะให้ลูกเลือกเรียนพิเศษตามความถนัด เช่น ดนตรี กีฬา บัลเล่ต์ อะไรทำนองนี้ครับ

ถ้าลูกไม่ชอบก็เปลี่ยน

ไม่ได้เลือกเรียนเพราะพ่อแม่อยากให้ลูกเรียน

ด้านในโรงเรียน เค้าก็มีแนวคิดในเร่มต้นจากการที่ทำให้เด็กชอบไปโรงเรียนก่อนเลย เช่น มีวิธีการจูงใจด้านการเรียน โดยเน้นการปฏิบัติ ให้เด้กๆรู้สึกว่าเป็นโลกอีกใบหนึ่งที่น่าค้นหาครับ

อาจารย์คะ แนวคิดดีๆอย่างนี้ต้องรีบทำแผน หาทางล๊อบบี้ ปรับเปลี่ยนเรื่องเก่าที่มุ่งให้เด็กเรียนพิเศษ หันมาพัฒนาตนเองตามใจปราถนา krutoi เชียร์ค่ะ

E-learningในวงการครู จะอบรมให้ครูมีความรูที่ก็เน้น ครูบางกลุ่ม น่าเศร้าใจ ในความคิดทึ่เจาะจง หากวงการครูเปิดกว้างในการพัฒนาครู ใครใคร่เรียน เรียน ใครใคร่ศึกษา อะไร ไปเลย ไม่ต้องมาระวังโควต้า ไม่ต้องกลัวงบไม่พอ เปิดให้กว้าง เด็กๆ ไกลโอกาสจะได้เกิดกับเขาบ้างนะคะ

สวยดีค่ะ

ทำไงคะ

สอนกันบ้าง

รบกวนสอบถามค่ะ

อยากทราบว่าในกรุงเทพ มีที่ไหนสอนภาษาเกาหลีให้เด็กเล็ก ประมาณ 2 ขวบ

บ้างคะ หรือ เป็นเนอสเซอรี่เด็กเกาหลีในกรุงเทพ

ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท