ใครจะสะอาดกว่า


กิจกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ดูธรรมดาๆ แต่ถ้าพิจารณาให้ดี นักเรียนน่าจะได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างไปพร้อมๆกัน นอกเหนือจากการแยกสารเนื้อผสมด้วยการกรอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รู้จักตัวแปรต่างๆ โดยเฉพาะตัวแปรควบคุม การทำงานร่วมกัน การอภิปรายแสดงความคิดเห็น ฯลฯ

เมื่อก่อนสอบปลายภาคที่ผ่านมา สอนนักเรียนชั้น ม.1/4 เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม หลักการของการแยกมีหลายวิธี วิธีหนึ่งนั้น คือ การกรอง

"การกรองสามารถแยกเฉพาะสารที่ไม่ละลาย และมีขนาดใหญ่กว่ารูของวัสดุที่ใช้กรอง" อธิบายให้นักเรียนฟัง พร้อมซักถามเพื่อประเมินความเข้าใจ "หากนำน้ำทะเลมากรอง จะหายเค็มมั๊ย เกลือจะถูกแยกออกจากน้ำได้หรือเปล่า"

"ชั่วโมงหน้า นักเรียนทำเครื่องกรองน้ำมาแข่งกันนะ เครื่องกรองของกลุ่มใดกรองได้สะอาดที่สุด จะได้คะแนนสูงสุด กรรมการที่จะตัดสินก็คือ พวกเราทั้งห้องนี่แหละ อ้อ! อย่าลืมทดสอบมาล่วงหน้าล่ะ เอาให้แน่ใจก่อนว่าสะอาด แล้วค่อยมาสู้กับเพื่อน" พยายามปลุกเร้าความสนใจ

เหตุที่ใช้การแข่งขันเป็นวิธีการให้นักเรียนเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่า ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชั้นใดๆ ล้วนสนุกเสมอกับการเรียนแบบให้มีการแข่งขัน

นี่คือเครื่องกรองที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมมา รวมทั้งหมด 7 กลุ่ม แต่ถ้านับดูจากภาพ จะมีแค่ 6 แล้วอีกกลุ่มหนึ่งล่ะ?

นี่เป็นของอีกกลุ่มหนึ่งครับ

6 กลุ่มข้างต้น ดูภาพแล้ว คงไม่สงสัยว่ากรองอย่างไร แต่อีกกลุ่ม(หลัง)นี่สิ งงๆมั๊ย ว่า..แล้วมันจะกรองอย่างไร(ว่ะ) เพราะครูผู้สอนก็งงๆเช่นกัน แต่พอนักเรียนเริ่มกรองน้ำ

อย่างนี้นี่เอง ไม่เลว เจ้าตัวน้อยๆทั้งหลายช่างคิดดีเหมือนกัน

หลังจากที่แต่ละกลุ่ม ได้เริ่มปฏิบัติการการกรองน้ำอย่างตั้งใจ พร้อมร่วมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเมามันว่า ของใครน่าจะดีกว่า ใครน่าจะสะอาดกว่า เอาวัสดุนี้ใส่ก่อน-ใส่หลัง ใส่อันนี้ทำไม ทำไมไม่ใส่..

ผลลัพธ์ของกลุ่มหนึ่งเป็นอย่างนี้ ในแก้วพลาสติกก่อนกรอง ในบีกเกอร์หลังกรอง เป็นไงครับ? สะอาดขึ้นจากเดิมอีกม๊ากมาก จนยากจะสังเกตเห็น(ฮา)

 

 

บางกลุ่มไปตักน้ำคลองหลังโรงเรียนที่มีไข่ของพวกสะเทินน้ำสะเทินบกปนมาด้วย เพื่อนๆสนใจดูกันใหญ่

ผลสุดท้าย หลังจากที่ทุกกลุ่มพยายามปรับแก้เครื่องกรองของตนเองจนเป็นที่พอใจแล้ว หมายถึงสุดฝีมือแล้ว ได้อย่างนี้ละครับ 7 กลุ่ม 7 บีกเกอร์ ตัดสินด้วยการอภิปรายแสดงความคิดเห็น ยกมือโหวต ไล่มาตามลำดับที่ เอาตั้งแต่สะอาดสุดชนะเลิศ จนไม่สะอาดสุด สุดท้ายบีกเกอร์ที่ 3(กลุ่มที่ 3)นับจากด้านซ้ายได้คะแนนมากสุดครับ

นักเรียนบางคนเอ่ยขึ้นมาว่า"ก็น้ำที่เขานำมา ไม่ได้สกปรกอะไรนี่" เกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว "ทำไงดี?"ถามนักเรียนทั้งห้อง แล้วก็ได้ข้อเสนอแนะที่เห็นร่วมกัน..

นำน้ำก่อนกรองของแต่ละกลุ่ม มาพิจารณาร่วมด้วย

สรุปเป็นว่า เครื่องกรองด้านขวาชนะเลิศครับ

กิจกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ดูธรรมดาๆ แต่ถ้าพิจารณาให้ดี นักเรียนน่าจะได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างไปพร้อมๆกัน นอกเหนือจากการแยกสารเนื้อผสมด้วยการกรอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รู้จักตัวแปรต่างๆ โดยเฉพาะตัวแปรควบคุม การทำงานร่วมกัน การอภิปรายแสดงความคิดเห็น การรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน ฯลฯ

ที่สำคัญ..นักเรียนตั้งใจ เอาใจใส่ต่อการเรียนเป็นอย่างดีครับ

หมายเลขบันทึก: 215361เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ตามมาอ่านค่ะ เป็นกำลังใจกับครูธนิตย์ เพื่อพัฒนาครูไทย ที่จริงครูที่ไหนก็มีหัวใจของความเป็นครูเหมือนกัน ยกเว้นคนที่มีอาชีพครูแต่ไม่มีหัวใจความเป็นครู

  • สวัสดีค่ะ
  • เยี่ยมยอดค่ะ ครบถ้วนกระบวนการเรียนรู้เลย

                      โอเคครับ

หวัดดีค่ะอ.ธนิตย์

-ตอนเด็ก ๆก็เคยเล่นน่ะ เอาสำลีของคุณพ่อมายัดใส่ขวด เอาก้อนกรอด ก้อน หิน เอานุ่นที่คุณแม่เตรียมไว้ยัดเบาะให้น้องมาใส่ แล้วก็มีกระดาษหนังสือพิมพ์ใส่ไปด้วย แล้วก็ใส่นำยาอุทัย ผสมนำ แต่เล่นด้วยจุดประสงค์ทำให้นำหยดทีละหยด แทนการให้เลือดค่ะ ช่วยเหลือผู้ป่วย แล้วก็ทำเปลหามด้วยเสื้อค่ะ หักไม้กฐินมาสอดเป็นเปล

-krutoi พาเหล่าตัวแสบไปเที่ยวเขาเขียว สวนสัตว์เปิดที่ชลบุรีเห็นเมฆเก๋ไก๋ ก็เลยนำมาฝาก ไปดูที่บ้านนะคะ

การทดลองวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เข้าใจเร็ว learning by doing ค่ะ

เป็นการสอนที่สนุก ชวนติดตาม และอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญทำให้เราเป็นคนที่สมบรูณ์ มีสติ รอบคอบ มีเหตุมีผล และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

  • ตามมาดู
  • อาจารย์สอนสนุกจังเลยครับ
  • เอามาฝาก
  • มีท่านอาจารย์หมอชื่นชมมา
  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • http://gotoknow.org/blog/thaikm/216889

เรียน อ.ขจิต

ผมเพิ่งเห็นและรู้จากข้อความอาจารย์ว่า อาจารย์หมอชื่นชม..เลยเรียกให้ลูกและภรรยามาช่วยกันอ่าน ดูนี่สิ! ดีใจมากๆ ขอบคุณครับ..

  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • มีอะไรพอช่วยเหลือได้บอกนะครับ
  • ยินดีๆๆ
  • ลืมไปว่า
  • ลองเขียน AAR ออกมาว่า เด็กได้อะไรจากการเรียนแบบนี้
  • อาจารย์ได้อะไรบ้าง
  • เป็นไปตามคาดหวังไว้ไหม
  • สิ่งไหนน่าปรับปรุงในการเรียนครั้งต่อไป
  • ถ้ามีแบบประเมินให้เด็กเขียนด้วยก็ดีครับ
  • ชื่นชมครับ

เรียน อ.ขจิต

AAR = เด็กได้อะไร ครูได้อะไร ตามจุดประสงค์หรือไม่ ข้อควรปรับปรุงแก้ไข..พอเข้าใจแล้วครับ

ขอบคุณมากๆ

ดีจังค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลในแต่ละชั้นด้วยได้มั๊ยคะ ขอบคุณค่ะ

อยกสอบถามเกี่ยวกับกรวดนะคะ ต้องใช้กรวดล้างหรอคะ กรวดแถวบ้านเราได้มั้บย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท