ไสว
นาง ไสว เครือรัตนไพบูลย์

พูดจาประสาครูวิทย์


Science Show การแสดงกลทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดแสงสรรค์

เพื่อนๆ เป็นครูวิทย์หรือเปล่า เคยฝึกเด็กแสดงScience Show ไหม สนุกดีนะใช้สาธิตการทดลองก็ได้ ถ้าหากว่าเรามีอุปกรณ์ในการทดลองไม่พอ  หรือต้องการดึงความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้เขาแสดงออกในทางที่ถูก และยังสามารถทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในเด็กที่เรียนอ่อนได้อีกด้วยเพราะ  การแสดงScience Show

ไม่ต้องใช้เด็กที่เรียนเก่งก็ได้  ที่ฝึกอยู่ก็เป็นเด็กเรียนไม่เก่ง แต่พูดเก่ง แล้วเราคอยช่วยเหลือเด็กโดยดูว่าหลักการที่เด็กนำเสนอนั้นอธิบายถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ช่วยแก้ไขให้เขา เท่านี้เด็กก็แสดงได้แล้ว เมื่อถึงเวลาสอนก็ให้เขาแสดงให้เพื่อนในห้องดูแล้วช่วยกันหาว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  สุดท้ายคนที่แสดงต้องเฉลยหลักการวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ก็เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนที่ดีและน่าสนใจ

ตัวอย่างรายงานการแสดงวิทยาศาสตร์

(Science Show)

.............................................................................................................................................

 

ชื่อเรื่อง   มหัศจรรย์ของเหลว

 

โดย                             2. เด็กหญิงสุธิตา         วงศ์วัน

1. เด็กหญิงฐิติยาภร     แย้มยินดี

3. เด็กหญิงสุธิดา         ภูมิศรีจันทร์

มูลเหตุจูงใจ

 

            ในการเรียนวิทยาศาสตร์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ไปใช้ในการสืบเสาะแสวงหาความรู้ แก้ปัญหา หรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกโดยนำหลักการวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรม จะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาก็ได้ กิจกรรมนี้จะทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจ โดยมีการวางแผนเพื่อเสริมทักษะภายใต้การแนะนำปรึกษาและการดูแลของครู  เมื่อฝึกจนชำนาญสามารถนำไปแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน ๆ ได้ทั้งความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความสนุกสนาน ทำให้เกิดความรักในวิชาวิทยาศาสตร์อีกด้วย 

 

เนื้อหาโดยย่อ

 

            ในการแสดงครั้งนี้ได้แบ่งการแสดงเป็น 3 ชุด โดยทุกชุดการแสดงจะเกี่ยวข้องกับน้ำซึ่งเป็นของเหลวทั้งสิ้น

            ชุดที่ 1 มหัศจรรย์ในของเหลว

ชุดแรกเป็นการแสดงให้เห็นว่าของเหลวแต่ละชนิดถ้าไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว เมื่อนำมาผสมกันจะแยกชั้นกันเสมอ รวมทั้งการแสดงให้เห็นว่าวัตถุต่างชนิดกันจะลอยในของเหลวต่างชนิดกันได้เหมือนกันหรือแตกต่างกัน โดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้

1.      ขวดแก้วปากกว้าง

2.      จาน

3.      น้ำ

4.      น้ำมันพืช

5.      น้ำหวานเข้มข้น

6.      กระดุมพลาสติก

7.      ลูกแก้ว

8.      มะเขือพวง

9.      เหรียญสลึง

10.  ลูกปิงปอง

11.  พวงกุญแจ

12.  อื่น ๆ

วิธีการแสดง    1. ตวงน้ำมันพืช น้ำหวาน และน้ำ อย่างละ 1 แก้ว  

                        2. เทน้ำมันพืช น้ำหวาน และน้ำ ลงในขวดปากกว้างที่เตรียมมา สังเกต

                                        การเรียงลำดับชั้นของของเหลว

                        3. ค่อย ๆ ใส่วัตถุต่าง ๆ ทีละชิ้น ลงในของเหลว สังเกตว่าวัตถุแต่ละชนิด

                                        อยู่ที่ตำแหน่งใด

หลักการวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในชุดนี้  คือ    ของเหลวแต่ละชนิดถ้าไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว เมื่อนำมาผสมกันจะแยกชั้นกันเสมอ  และวัตถุแต่ละชนิดจะอยู่ในของเหลวที่ตำแหน่งต่าง ๆ กัน  บางชนิดจมอยู่ที่ก้นภาชนะ แสดงว่า วัตถุนั้นหนักกว่าของเหลวทั้ง 3 ชนิด  บางชนิดลอยอยู่ในชั้นของน้ำเชื่อม แสดงว่า วัตถุนั้นหนักกว่าน้ำมันพืชและน้ำแต่เบากว่าน้ำเชื่อม บางชนิดลอยอยู่ในชั้นของน้ำ แสดงว่า วัตถุนั้นหนักกว่าน้ำมันพืชแต่เบากว่าน้ำ บางชนิดลอยอยู่ในชั้นของน้ำมันพืช แสดงว่า วัตถุนั้นหนักกว่าน้ำมันพืช

การนำไปใช้ประโยชน์ คือ  นำไปประดิษฐ์เป็นของเล่นได้หรือเวลาเราทำน้ำหกลงไปในน้ำมันเราสามารถแยกน้ำมันมาใช้ต่อได้เพราะน้ำกับน้ำมันเมื่อนำมาผสมกันจะแยกชั้นกันเสมอ 

            ชุดที่ 2 พายุหมุนในขวดพลาสติก

            ชุดนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าการเทน้ำจากขวดพลาสติก ถ้าเพียงแค่คว่ำขวดพลาสติกลง น้ำในขวดจะไม่ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อกระแสน้ำวนในขวดแล้ว น้ำในขวดจะไหลออกมาอย่างรวดเร็ว โดยมีวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ คือ

1.      ขวดพลาสติกขนาดความจุ 1 ลิตร หรือมากกว่านั้น

2.      น้ำ

            วิธีการแสดง    1.   เติมน้ำใส่ขวดไม่ต้องเต็มมากใช้ดินน้ำมันปิดปากขาดแล้วเจาะรูไว้

                                          ขนาด  1  เซนติเมจร

2.      คว่ำขวดลงแล้วปล่อยให้น้ำไหลออกมากว่าน้ำจะไหลออกหมด สังเกต

3.      ทำใหม่คราวนี้หลังจากคว่ำขวดแล้ว ให้หมุนขวดจนมีกระแสน้ำวน เกิดขึ้นภายในขวด น้ำในขวดจะไหลออกมาอย่างรวดเร็ว

หลักการวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในชุดนี้  คือ  การสังเกตการณ์ไหลของน้ำทั้งครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง โดยเฉพาะครั้งที่สอง จะเห็นว่ากระแสน้ำจะไหลออกมาโดยที่บริเวณใจกลางที่เป็นรูกลวงอากาศบริเวณใต้ขวดจะไหลเข้าสู้ขวดโดยผ่านรูนี้ และด้วยแรงดันของอากาศนี้แหละน้ำในขวดจึงไหลออกมาอย่างรวดเร็ว

การนำไปใช้ประโยชน์ คือ เวลาเทน้ำออกจากขวดให้หมุนขวดด้วยน้ำในขวดจะไหลออกมาอย่างรวดเร็วประหยัดเวลาในการเทน้ำออกจากขวด

 

ชุดที่ 3 กระแสน้ำ

ชุดนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการไหลของน้ำ โดยมีวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ คือ

1.      ขวดแก้วปากกว้างที่มีขนาดเท่ากัน 2 ใบ

2.      สีผสมอาหาร

3.      น้ำร้อนและน้ำเย็น

4.      ฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นเล็กๆ

 

วิธีการแสดง    1. เทน้ำร้อนใส่ขวดใบหนึ่งและน้ำเย็นใส่ขวดใบหนึ่งจนเต็ม

                        2. ใส่สีเล็กน้อยลงในขวดน้ำร้อน

                        3. ใช้กระดาษปิดปากขวดน้ำเย็น แล้วคว่ำลงวางบนปากขวดน้ำร้อน

                        4. ดึงกระดาษออก พยายามให้ปากขวดทั้งสองแนบกันสนิท สังเกตการ

                         ไหลของน้ำ ในขวดทั้งสองใบ

หลักการวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในชุดนี้  คือ  น้ำร้อนซึ่งเป็นน้ำสีในขวดใบล่างจะไหลเข้าสู่ขวดใบบน และน้ำเย็นในขวดใบบนจะไหลลงขวดใบล่าง ทั้งนี้เพราะน้ำเย็นหนักกว่าน้ำร้อน จึงไหลลงสู่ขวดล่าง แล้วดันให้น้ำร้อนไหลขึ้นข้างบน กลายเป็นกระแสน้ำ

การนำไปใช้ประโยชน์ คือ นำไปประดิษฐ์เป็นของเล่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานการแสดงวิทยาศาสตร์

(Science Show)

.............................................................................................................................................

 

ชื่อเรื่อง   ลูกเหม็นเต้น ดับไฟดนตรีกระดาษ

 

โดย                             2. เด็กหญิงกมลชนก   เลิศเรืองรอง

1. เด็กหญิงอรวรรณ   แก้วดวงจิตร

3. เด็กหญิงณิชากร   ดำนาค

มูลเหตุจูงใจ

 

            ในการเรียนวิทยาศาสตร์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ไปใช้ในการสืบเสาะแสวงหาความรู้ แก้ปัญหา หรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกโดยนำหลักการวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรม จะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาก็ได้ กิจกรรมนี้จะทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจ โดยมีการวางแผนเพื่อเสริมทักษะภายใต้การแนะนำปรึกษาและการดูแลของครู  เมื่อฝึกจนชำนาญสามารถนำไปแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน ๆ ได้ทั้งความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความสนุกสนาน ทำให้เกิดความรักในวิชาวิทยาศาสตร์อีกด้วย 

 

เนื้อหาโดยย่อ

 

            ในการแสดงครั้งนี้ได้แบ่งการแสดงเป็น 3 ชุด โดยชุดการแสดงจะเกี่ยวข้องกับ ผงฟูหรือเบกิ้งโซดา ลูกเหม็น  น้ำส้มสายชู และกระดาษ       

 

 

ชุดที่ 1 ลูกเหม็นเต้นระบำ

ชุดแรกเป็นการแสดงให้เห็นว่าโดยปกติลูกเหม็นจะจมน้ำ  แต่การทดลองนี้ ลูกแหม็นจะลอยได้อย่างน่าอัศจรรย์  โดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้

1.      ขวดใส่น้ำ 2 ใบ

2.      ลูกเหม็น

3.      น้ำส้มสายชู

4.      ผงฟูหรือเบกิ้งโซดา

5.      น้ำร้อน

6.      บิกเกอร์ขนาด  50 ซีซี  2  ใบ

วิธีการแสดง    1. เทน้ำร้อนใส่ขวดชมพู่จนเกือบเต็ม ทั้ง  2  ใบ  

                                    2. ใส่ผงฟูขวดทางซ้ายมือ  2  ช้อนโต๊ะ แล้วคนจนละลายจนเป็นเนื้อเดียวกัน

                                    3. เตรียมน้ำใส่บิกเกอร์ ใบที่ 1  และน้ำส้มสายชูใส่บิกเกอร์ใบที่ 2 ในปริมาณเท่าๆ กัน

                                    4. เทน้ำจากบิกเกอร์ทางขวามือใส่ขวดชมพู่ทางขวามือ เทน้ำส้มสายชูจากบิกเกอร์ทางซ้ายมือใส่บิกเกอร์ทางซ้ายมือ

                                    5. หย่อนลูกเหม็นลงไปในขวดชมพู่ทั้ง  2  ใบ ๆ ละ  5  ลูก

หลักการวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในชุดนี้  คือ  ลูกเหม็นจะจมลง  แต่ต่อมาจะมีฟองไปเกาะล้วพยุงให้ลูกเหม็นลอยขึ้น  เมื่อลอยถึงผิวน้ำ ฟองที่เกาะจะแตกออก แล้วลูกเหม็นก็จ้ค่อยๆ จมลงไปอีก เหตุการณ์จะเกิดซ้ำอยู่เช่นนี้จึงทำให้ดูเหมือนว่าลูกเหม็นเต้นระบำ   ที่เป็นเช่นนี้เพราะ  ผงฟูกับน้ำส้มสายชู จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์  ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ  ฟองของมันจะเกาะที่ผิวหยาบๆ ของลูกเหม็น และทำหน้าที่เป็นทุ่นพยุงให้ลูกเหม็นลอยน้ำ           

การนำไปใช้ประโยชน์ คือ  นำไปส่งสัญญาณเรียกคนที่อยู่ไกลๆ ให้ได้ยินเสียง โดยไม่ต้องใช้วิธีตะโกน

            ชุดที่ 2 เครื่องดับเพลิง

            ชุดนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าก๊าซออกซิเจนมีอยู่ทั่วไปในอากาศ และช่วยให้สิ่งของต่างๆ ติดไฟ ส่วนก๊าซที่ใช้ในการดับไฟ  คือ  คาร์บอนไดออกไซค์ โดยมีวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ คือ

1.      ขวดโหลใสขนาดใหญ่  1  ใบ(ใหญ่พอที่จะใส่เทียน  3  แท่งได้

2.      ผงฟูหรือเบกิ้งโซดา

3.      น้ำส้มสายชู

4.      เทียนไข   3  แท่ง

5.      ไม้ขีดไฟ

วิธีการแสดง

            1. จุดเทียนแล้วให้เทียนหยดลงก้นกระป๋อง ปักเทียนทั้ง

หมายเลขบันทึก: 214466เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ ครูไสว

ดีใจที่มาอ่านเจอบล็อกของครูวิทย์....ตนเองเคยดูแลทีมนักเรียน ม.ปลายเข้าร่วมแข่งขัน Sci show สุดท้ายมาจัดประกวด Sci Show ที่โรงเรียน..เด็กๆ สนุกเพลิดเพลินค่ะ...แต่เมื่อทำไประยะหนึ่งครูกับลูกศิษย์เจอปัญหาเหมือนกันคือ..คิดไม่ออกแล้วจะทำอะไรดี..ต้องพักเครื่องหากิจกรรมอื่นทำไปก่อน...ตอนนี้ครูนกเลยไปเปิดกิจกรรมชุมนุมนักอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้..แล้ววันหลังจะนำมาเล่าให้ฟังค่ะ

ด.ญ. กลชนก เลิศเรืองรอง

สวัสดีค่ะคุณครู ไสว....

ยังจำหนูได้มั้ยค่ะ..@_@..หนู ด.ญ. กมลชนก เลิศเรืองรอง ไง

หนูก็พึ่งรู้เหมือนกันนะ ว่ามีชื่อหนูในเน็ตด้วย

หนูของสัญญาค่ะ (เเม้ครูจะไม่ได้เข้ามาดู มาอ่านก็ตาม)

ว่า...ครั้งนึงหนูได้เรียน Science Show กับครู ไสว

........................................................

ผมชื่นชอบครูไสวมากเลยครับ

สวัสดีคะครูไสว ดีใจนะคะที่มาเห็นเวปนี้

พอดีกำลังหาการทดลองไปให้นักเรียนได้สนุกอยู่

มาเจอก็เลยลองนำไปให้นักเรียนใช้ เด็กๆสนุกมากคะ

ขอบคุณนะคะ แล้วจะเขามาเล่าให้ฟังใหม่นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูไสว

ดีมากๆเลยค่ะ ที่โรงเรียนก็ทำเหมือนกัน เด็กๆสนุกมาก อยากให้คุณครูนำเรื่องอื่นๆมาลงอีกนะคะ รอดูอยู่นะคะ ครูวิทย์เหมือนกัน คิดว่าscience show นี้ทำให้นักเรียนอยากเรียนวิทย์มากขึ้น ท่านอื่นๆเห็นด้วยไหมคะ

ตอบหลักการทางวิทยาศาสตร์กลเรื่องไข่ต้มลงขวดด่วน

ครูไสว คะหลังจากการทำกิจกรรมScience Show แล้วครูเก็บหลักฐาน เก็บชิ้นงานนักเรียนอย่างไรหรือคะ เพราะปัจจุบันมีการประเมินมาตรฐานโรงเรียนของเขตพื้นที่และการประเมินของสมศ...จะได้ให้เขาดูหลักฐานได้...แบ่งความรู้กันบ้างค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู สิ่งที่ครูนำมาลงเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม Science Show มากเลยค่ะ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู ดีใจมากที่ครูนำกิจกรรมscience showมาลงกำลังคิดหาวิธีว่าเขาจัดกิจกรรมยังไงเหมือนฟาประทานเลย ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท