มองต่างมุม "การผลิตพืชปลอดภัย"


ในทุกๆ ปัญหาย่อมจะต้องมีทางออกเสมอ

          ผมทำงานในบทบาทของงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมักจะตกเป็นจำเลยของสังคมทุกครั้งหากมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้กระทำโดยตรง เช่น


     * พืชบางชนิดมีผลผลิตล้นตลาด-ขาดตลาด
     * สินค้าการเกษตรมีราคาถูก-แพง
     * เกษตรกรมีการใช้สารเคมีมาก
     * ฯลฯ    มากมาย


          การที่ถูกตำหนิหรือว่ากล่าวอย่างใด พวกเราก็คงไม่คิดที่จะโต้แย้ง เพราะมันคงไม่เกิดประโยชน์หรือผลดีอะไรขึ้นมา ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าส่วนมากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากพวกเราเลยแม้แต่นิดเดียว


          ในการผลิตพืชเพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานหันมาสนใจ และทำงานเกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อให้เกษตรกรลด ละ เลิกใช้สารเคมีกันมาก เหตุผลก็คือเพื่อความปลอดภัยอะไรประมาณนั้น ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรของพวกเราก็จะมีโครงการต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการจะทำให้มีการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน


          ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นวิธีการที่ดี แต่หากจะให้สำเร็จ ส่งผลไปถึงการเลิกใช้สารเคมีของเกษตรกรกันทั้งหมดนั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก แม้เราจะทุ่มเททรัพยากรกันหมดทั้งประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้เลยก็ตาม เหตุผลก็คือการทำงานปัจจุบัน เราทำงานกันแบบแยกส่วน ทำกับบางกลุ่ม บางหน่วยงานเท่านั้น ต้นตอและสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข หากคิดอีกมุมหนึ่ง แบบตรงกันข้าม…มองต่างมุม ก็จะพบเห็นว่าสิ่งที่อยู่นั้นมีจุดอ่อนและสมควรได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น

มองปัญหาแต่ด้านของคนปลูกแต่ไม่ได้มองในด้านของคนกิน-คนซื้อเลย

         เราจะพบเห็นโดยทั่วไปว่าคนปลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ใช้สารนี้ดี สารนี้ไม่ดี ฯลฯ แต่เราไม่เคยรณรงค์เพื่อชักจูงให้คนกิน-คนซื้อเลยว่าควรทำอย่างไร เลือกซื้อเฉพาะสินค้าแบบไหน ประเด็นนี้ผมมีข้อมูลยืนยันจากการไปสอบถามคนปลูกผัก และปลูกพืชทั่วไปหลายพื้นที่ว่าพวกเขาไม่อยากใช้กันอยู่แล้วสารเคมี หรือบางคนไม่ใช้แต่กลับพบว่าคนซื้อไม่ซื้อผลผลิตของเขาเพราะใบไม่สวย ไม่อวบ…อิอิ

เราไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่แท้จริง

          ประเด็นนี้ผมคิดเองนะครับ (บางทีอาจจะทำไม่ได้) สิ่งที่ผมมองก็คือ ในเมื่อเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าสารเคมีบางชนิดไม่ปลอดภัย และสารเคมีเหล่านั้นล้วนนำเข้าจากต่างประเทศ…ทำไมเราไม่งดการนำเข้า เท่านี้ก็จะแก้ปัญหาได้ ระยะแรกอาจมีปัญหาบ้าง แต่เชื่อว่าในระยะยาวเราน่าจะสามารถปรับตัวได้ หรือว่ามันกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เหมือนรู้ว่าบุหรี่-เหล้าไม่ดี แต่กลับมีการตั้งโรงงานกันอย่างถูกต้อง แถมบางอย่างรัฐเสียเองเป็นผู้ผลิต-จำหน่าย


          แค่ 2 ประเด็นนี้ก็พอจะทุเลาหรือแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ไปได้ ยังมีอีกหลายช่องทางหากเราเอาจริงเอาจังกับมันแล้วปัญหาเรื่องการผลิตพืชให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมก็คงจะลดลงได้บ้าง


          คิดเล่นๆ ครับ  เพราะในทุกๆ ปัญหาย่อมจะต้องมีทางออกเสมอ  และในการมองทุกสิ่งทุกอย่างเราคงไม่มองแต่เพียงมุมเดียว-ด้านเดียว  เพราะจะทำให้เรามองได้ไม่ครอบคลุม  และสุดท้ายก็จะแก้ไขอะไรไม่ได้   ผมก็ได้แต่สะท้อนมุมมองเล็กๆ น้อย  ตามประสาของคนเล็กคนน้อยในระบบ   ที่ได้ประสบพบมาจากการลงพื้นที่ซึ่งมักจะพบว่า  เพียงส่วนของเรานั้นแก้ปัญหาเหล่านี้ยากที่จะมำเร็จ  ต้องร่วมกันคิด-ทำ 360 องศาจากทุกๆ ฝ่าย   

          บันทึกมาให้ได้แลกเปลี่ยนกันเท่านั้นจริงๆ ครับ  ท่านผู้ผ่านมาจะเพิ่มเติมก็ขอเชิญเลยครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  1  ตุลาคม  2551 

หมายเลขบันทึก: 213230เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่านสิงห๋ป่าสัก เพื่อนรักนักพัฒนา

  • ทุกปัญหามีทางออก
  • ไม่ใช่ทุกทางออกมีแต่ปัญหา
  • เป็นยุค สังคมอุดมปัญญา
  • ไม่ใช่สังคมอุดมปัญหา
  • คงต้องใช้หลายๆๆวิธี
  • หาวิธีที่ปลอดภัยและดีที่สุดครับพี่
  • พี่สิงห์สบายดีไหมครับ
  • ทุกอย่างอยู่ที่ภาครัฐค่ะ  ภาครัฐที่ว่าหมายถึงผู้กำหนดนโบายนะ  ไม่ใช่ข้าราชการน้อยๆอย่างพวกเรา
  • ดูอย่างทุกวันนี้สิ  อยู่ที่ใครเอ่ย??????????
  • ไอ้หยา....อาตือ....ทำไมพาคิดเรื่องที่มันปวด     หนอ
  • คุยเรื่องต้นไม้ใบหญ้าที่กว่า  เนอะ
  • อย่าเพิ่งน้อยใจไปเลย  เดี็ยวนี้เกษตรกร(ชาวนา)เข้ากำลังตื่นตัวเรื่องใช้ปุ็ยกัน  เพราะว่าเดี็ยวนี้เที่นาของเขาไม่มีปลา  ไม่มีกบ ไม่มีเขียดให้กินอีกแล้ว  เขาพูดว่า"เพราะปุ๋ยนั่นแหละ"  ถ้าเป็นปลาที่หนองน้ำธรรมชาติพอน้ำแห้งลงหน่อยมันก็เป็นแผลตายกัน  หรือไม่ก็กินไม่ได้  หรือก๋ไม่กล้าพอที่จะกิน
  • ปีนี้เห็นชาวบ้านบอกว่า  กบ  เขียด  ปลาพอมีให้เห็นบ้าง
  • ได้ยินอย่างนี้ก็น่าชื่นใจนะ
  • ในวันที่สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ท่านตรัสเรื่องการใช้ควายไถนา  ดิฉันยังปลื้มจนน้ำตาไหล  และท่านยังตรัสถึงปลาที่เมื่อก่อนในแม่น้ำเจ้าพระยามีเยอะแยะ
  • เหมือนกับดิฉันเคยเห็นตั้งแต่เล็กๆ
  • ท่านก็รณรงค์ต่อสิคะ  คุณสิงห์  ป่าสัก
  • ทานข้าวก่อนนะคะประเดี่ยวจะมาคุยต่อ

 

จะปลูกอะไรสักอย่าง กว่าจะได้ผลผลลิต ก็ยากอยู่เหมือนกันนะค่ะ

ฉะนั้น ก้ควรเห็นคุณค่าอย่ากินทิ้งกินขว้าง อิอิ ขอบคุณค่ะ

P

 

  • เรียนท่าน อ.หมอ JJ 2008
  • แม่นแล้วครับท่าน ทุกปัญหามาทางออกเสมอ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต
  • ผมก็สบายๆ ครับ ทั้งกายและใจ...อิอิ
  • บันทึกนี้ไหลไปตามความคิด จากสิ่งที่เกิดขึ้นตามที่ได้เห็นนะครับ
  • คงต้องใช้หลายๆ วิธีเหมือนที่อาจารย์ว่าจึงจะสำเร็จ
  • ขอบคุณหลายๆ เด้อ
  • สวัสดีครับครูอุบล
  • ไม่ได้น้อยอกน้อยใจอะไรเลยนะครับ...อิอิ
  • เขียนไปตามความเป็นจริงและตามความเข้าใจ (ซึ่งบางครั้งก็พูดแล้วไม่มีใครได้ยิน)
  • การแก้ไขคงต้องใช้หลายๆ วิธี และความเอาจริงของรัฐ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
  • เพราะการแก้ไขนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ และบางครั้งก็ลอกแบบกันไม่ได้
  • ต้องออกแบบกันอย่างเฉพาะเจาะจง
  • แต่ที่เคยพบมามักจะเป็นการกำหนดรูปแบบที่ตายตัว...ฯลฯ
  • ส่วนของการทำนาหากเพื่อการบริโภคแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเลยก็ยังได้ผลผลิตนะครับ(ใช้ของที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติแทน เช่น  ฟาง  มูลสัตว์ สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น)
  • มีหลายพื้นที่ครับ ที่กุ้ง หอย ปู ปลา กลับมาแล้ว แม้ไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว  ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีว่าเรายังพอมีหวังนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยียมเยียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

P

 

  • สวัสดีครับน้องกล้วยแขก(หน้าตาดีอีกต่างหาก)
  • ใช่เลยครับ ภาคการผลิตทางการเกษตรเป็นอะไรๆ ที่ไม่ง่าย
  • เพราะขึ้นอยู่กับอะไรๆ หลายอย่างที่เกี่ยวข้อง
  • ซึ่งเกือบจะทั้งหมดเราควบคุมไม่ได้
  • ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • มาแจ้งข่าวผกากรองออกดอกแล้ว
  • แต่ยังไม่มาก
  • แต่เบื่อเพี๊ยะสีขาวๆที่ต้นชบาจัง
  • ทำอย่างไรไม่ตาย
  • ฉีดยาฆ่าแมลงที่ทำจากสารอินทรีย์
  • ตายยาก   ถึงตายเดี๋ยวก็มีอีก
  • ทำไงดีคะ
  • แล้วอีกคำถามที่ต้นแคร์ฝรั่ง
  • พอหน้าร้อนใบจะหงิกงอ   (หน้าฝนไม่มี)
  •  เพราะมีเพี๊ยะสีดำเต็มต้นทำไงดีคะ
  • ปัจจุบันใช้การตัดกิ่งทิ้ง

P

 

  • สวัสดีครับ อ.มนัญญา
  • เพลี้ยสีขาวๆ และดำๆ ไม่ทราบว่าบินได้ไหมครับ
  • หากบินก็น่าจะเป็นแมลงหวี่ขาว ส่วนที่ไม่บินก็น่าจะเป็นพวกเพลี้ยหอย
  • แมลงหวี่ขาวจำกำจัดยากหน่อยเพราะบินได้ และพ่นยาจะ
    โดนขนของมัน
  • ส่วนเพลี้ยหอยนั้น จะมีมดเป็นตัวนำไปแพร่กระจายเพราะมดจะกินของเสียจากเพลี้ยอีกที
  • เพลี้ยหอยก็คงต้องป้องกันมดโดยใช้ผ้าชุบยากันมดพันรอบโคนต้นไม้ และหากมีมากก็อาจใช้สารเคมี(แต่อันตราย)
  • ลองใช้น้ำส้มควันไม้น่าจะได้ผลนะครับ  แต่อาจจะต้องผสมยาจับใบ(ใช้นำยากล้างจานพอแทนได้)
  • หากไม่มากใช้มือกำจัดครับ บางครั้งผมก็ใช้วิธีนี้...อิอิ
  • อย่าใช้พวกยากันมด-ปลวก-ยุงที่ขายแบบสำเร็จรูปนะครับ (พวกไบกอน ฯ) เพราะจะทำให้ใบพืชของเราใหม้(หากไม่โดนใบคงไม่เป็นไร)
  • ขอให้ปราบปรามให้สำเร็จนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท