เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ( 2 )


การถอดบทเรียนของเกษตรกรที่ชื่อนายจรูญ อ่ำชาวนา อยู่บ้านเลขที่41 หมู่5 บ้านจิตมาส ตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

เทคนิคการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงมันสำปะหลังที่บ้านจิตมาส ต.วังหามแห อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร

 

 

สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ในเขตตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ที่ผ่านมาจะปลูกกันแบบดั้งเดิม โดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น การผลิตแบบเดิมจะคอยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว และมีการปลูกติดต่อหรือปลูกซ้ำที่เดิมมาหลายปี จึงเกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ ขาดความอุดมสมบูรณ์ บางปีก็เกิดฝนทิ้งช่วง ส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตของมันสำปะหลังต่อไร่ลดลง

 

  

            ในขณะเดียวกันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้ ราคามันสำปะหลังที่มีการรับซื้อในท้องถิ่นมีราคาสูง จึงเป็นเหตุผลหรือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเกิดแรงจูงใจ ที่ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่การปลูกมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก็มีเกษตรกรส่วนหนึ่งระดับแกนนำในชุมชน หรือเกษตรกรที่มีความใฝ่รู้ ต้องการที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นตามไปด้วย

  

            จากการถอดบทเรียน ของเกษตรกรที่ชื่อนายจรูญ  อ่ำชาวนา  อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ 5 บ้านจิตมาส ตำบลวังหามแห  อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองพยายามและมีความตั้งใจ ที่ต้องการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ให้สูงขึ้นจากเดิม เคยปลูกมันสำปะหลังแล้วได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ถึง 5ตัน แต่ในฤดูการเพาะปลูกปี 2550-2551นี้ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะต้องได้ผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ไม่น้อยกว่า 5 ตัน โดยได้จัดสร้างแหล่งน้ำไว้ในพื้นที่ปลูกมันของตนเอง และได้ลงทุนในการจัดทำระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์  เพื่อใช้รดต้นมันสำปะหลังในแปลงปลูก โดยทำแปลงทดลองของตนเอง จำนวน 4 ไร่

   

 

            จากการสังเกตและมีการบันทึกข้อมูลในแปลงทดลองของตนเอง ขณะนี้พบว่า ต้นมันสำปะหลังที่มีการปลูกในแปลงทดลอง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับแปลงข้างเคียง จึงเห็นผลชัดเจนว่า แปลงมันสำปะหลังที่ให้น้ำแบบปริงเกอร์นี้ มีการเจริญเติบโตของลำต้น ยอด ใบเร็วก่วาแปลงข้างเคียงที่อาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว สำหรับผลผลิตในแปลงทดลอง ขณะนี้ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต หากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อใด จะได้นำมาเผยแพร่และแบ่งปันแก่เกษตรกรทั่วไปและผู้สนใจต่อไป

 

 

แหล่งข้อมูล: (1)นายจรูญ อ่ำชาวนา เกษตรกรเจ้าของแปลงทดลองการใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ บ้านเลขที่ 41 หมู่5 บ้านจิตมาส ต.วังหามแห อ.ขาณุวรลักษบุรี (2) คุณสถิต  ภูทิพย์ เกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี

หมายเลขบันทึก: 213190เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท