เคล็ดลับวิทยากร KM


             ดังได้เล่าแล้วเมื่อวาน เรื่องเครือข่าย KM ใน รพ. เป็นรายจังหวัด ๕ จังหวัด     ที่ พรพ. ให้ทุนดำเนินการ    มี อ. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ และคณะเป็นวิทยากรที่ปรึกษา  และดำเนินการได้ดี น่าชื่นชมมาก

            วันนี้จะเอาตัวอย่างวิธีเดินเครือข่าย KM ที่ผมชื่นชมมาเล่า

            หลัง workshop ครั้งแรก ทำความรู้จัก KM โดยการเล่าเรื่องความสำเร็จ    หัดฟังอย่างลึก (deep listening)   หัดสุนทรียสนทนา    หัดบันทึกขุมความรู้    และเตรียมขับเคลื่อน CoP แล้ว     อีกเดือนเศษ ๆ ก็นัดกันมา ลปรร. F2F ต่อ    โดยมีการกำหนดหัวข้อที่จะ ลปรร. ไว้อย่างชัดเจน ดังนี้  
 
            หัวข้อความรู้ที่จะดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่  17-18  เมษายน  2549  จ.ปราจีนบุรี

CoP  IC  4  ประเด็น
1. การเฝ้าระวังเชิงรับ    17 เม.ย. 49
        - Contact
        - Airborn
        - Droplet
2.   การเฝ้าระวังเชิงรุก   17  เม.ย. 49
        - เจ้าหน้าที่
        - ผู้ป่วย
        - สิ่งแวดล้อม/ชุมชน
3.   แนวทางการปฏิบัติเมื่อมีการติดเชื้อ     18 เม.ย. 49
        - หาสาเหตุ
        - แนวทางแก้ไข
        - นำไปปฏิบัติ
4.   ประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง      18  เม.ย. 49
        - ICN/ICWN/Nurse
        - การสำรวจความชุก

CoP DM  3  ประเด็น
1.   การจัดคลินิกบริการ     17  เม.ย. 49   (9.00-12.00 น.)
        - การประเมิน (Screen) 
        - การให้สุขศึกษา
2.   การดูแลต่อเนื่อง       17 เม.ย. 49  (13.00 -16.30 น.)
        - ระบบนัด
        - Home  Health  Care
3.   ภาวะแทรกซ้อน         18  เม.ย. 49
        - การประเมินและดูแลภาวะแทรกซ้อนโดยผู้ป่วย
        - การประเมินภาวะแทรกซ้อนโดยเจ้าหน้าที่

CoP ER  4  ประเด็น
1.    การรับผู้ป่วย     17  เม.ย. 49
        -  การเคลื่อนย้าย
        -  การประเมินจำแนกประเภทผู้ป่วย
        -  การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
2.    การสื่อสารให้ข้อมูล   17  เม.ย.  49
        -  การให้ข้อมูล
        -  การบันทึกทางการพยาบาล
        -  พิทักษ์สิทธิ
 3.   การดูแลรักษา    18  เม.ย. 49
        -  Multiple  Injury
        -  CPR
        -  การเฝ้าระวังสังเกตอาการ
4.    การจำหน่าย
        -  การส่งต่อ
        -  การดูแลผู้ป่วยเสียชีวิต
        -  Admit

             ตรงนี้แหละครับ    ที่ผมคิดว่าเป็นวิธีการฝึกทำ KM แบบมีการให้คำปรึกษาแบบต่อเนื่อง  มีแผน/ยุทธศาสตร์ ในการทำให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง     ไม่ใช่ workshop เสร็จแล้วปล่อยให้ไปคิดดำเนินการต่อกันเอง     ซึ่งถ้าปล่อยเช่นนั้น เกือบทั้งหมดจะไม่เดินต่อ     เคล็ดลับของ อ. ไพฑูรย์ ในฐานะวิทยากร KM ในสายตาผมได้แก่
1. นัด F2F ลปรร. ครั้งที่ 2    ในเวลาไม่ห่างนัก    ประมาณ 1 ½ เดือน 
2. มีการกำหนดหัวข้อ แก่นความรู้ ที่ต้องการนำมา ลปรร. 
3. มีการทำ K Mapping (ทั้งในคน และในเอกสาร/คู่มือ) ใน workshop ครั้งแรก

วิจารณ์ พานิช
๒๗ มีค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 21244เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท