Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส. (9) convening skill ประสบการณ์ เรื่อง หวัดนก


เราทำให้เขาเห็น ซึ่งก็จะเป็นศิลปะอย่างไร ให้เขาเห็นว่า ถ้าเขาไม่เข้ามาร่วม เขาจะตกขบวน

 

เรื่องนี้ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ หรือพี่น้อยเป็นผู้เล่าค่ะ พี่น้อยบอกดิฉันว่า เป็นเพื่อนกับหมอนา (ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์) ก็เป็นรุ่นพี่ดิฉัน 1 ปี เธอเล่าเรื่องของ บริบท Human กับ Animal ฝั่งคนกับฝั่งสัตว์ เป็น ประสบการณ์ของการทำงานในเรื่องหวัดนกค่ะ

จากเมื่อเช้านี้ ที่เวลา IDRC (International Development Research Centre) เขาเข้ามา แล้วเขาไป shopping around หน่วยงานวิจัย คุณหมอสุวิทย์ก็บอกว่า ไม่ได้หรอก เราต้องเชิญ คนในหน่วยงานวิจัยเขามา รวมกันคุย และค่อย share idea อันนั้นก็เป็น step แรกที่ต้องติดต่อ ผู้บริหารหน่วยวิจัยทั้งหลาย Biotec สกว. บช. รวมทั้งในกระทรวงด้วย และมอบให้ สวรส. เป็น Focal point

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ทำอย่างไร เราจะชวนให้คนที่ทำวิจัยเกี่ยวกับหวัดนก หรือคนที่รับผิดชอบในเรื่องนโยบาย ที่รับผิดชอบเรื่องปฏิบัติ มาคุยด้วยกัน คือ

  • การทำคล้ายเป็น talent network เกี่ยวกับเรื่องหวัดนก
  • กระบวนการที่เริ่มประชุมครั้งแรก เราก็ช่วยกันคิดต่อว่า ควรจะมีใครบ้าง หน่วยวิจัยก็จะมี สกว. ก็ติดต่อ อ.ปิยะวัฒน์ ว่าอาจารย์จะมอบใคร รอบนั้นเป็น อ.จันทร์จรัส ก็ติดต่อ. อ.จันทร์จรัส FAOจะมี อ.ประวิทย์ อ.วันทนี ซึ่งอยู่ที่ สกว. และมีคเชนทร์ช่วย ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ ก็จะได้ 3 ท่านมาประชุมเริ่มต้น ส่วน Biotec เป็น อ.ประสิทธิ์ วช. ก็เป็นอีกหน่วยหนึ่งเป็นท่านรองฯ ช่อวิทย์ หลังๆ บางช่วงก็จะให้ลูกน้องมา แล้วมีฝั่งในกระทรวงเอง คุยกับคุณหมอคำนวณ คุณหมอศุภมิตร กรมวิทย์ ก็จะมี คุณหมอประถม ก็คือ ฝั่งคนที่เราเชิญเขามา ก็ต้องคุยว่า เราจะให้เขาทำอะไร ให้เขาเข้าใจ
  • ฝั่งที่ยากหน่อย คือ ฝั่งสัตว์ เราเชิญอธิบดีกรมปศุสัตว์ในรอบแรก เขาจะถามว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เราก็อธิบายว่า เราทำงานร่วมกับ IDRC ทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ร่วมกับประเทศอื่นๆ เริ่มแรกส่งคุณหมอนิรันดรมา แต่เขาไม่เข้าใจ pattern ของการทำงาน เพราะตอนนั้นเรื่องไข้หวัดนกเป็นเรื่อง sensitive ในเรื่องของข้อมูล แต่ประธานคุณหมอสุวิทย์ ท่านสามารถ clear การประชุมให้เข้าใจได้ว่า การประชุมนี้เป็นการมาเล่าเรื่อง เล่าสู่กันฟัง และเป้าของเราคือทำงานร่วมกัน 5 ประเทศ ร่วมกับ IDRC ร่วมกับ Doner และมี WHO เข้ามาร่วมทำงานด้วย
  • แต่เราก็ประสบความสำเร็จเรื่อยๆ ในการประชุม มีการประชุมถี่ขึ้น เมื่อเขาเห็นว่าเรา frank เราไม่ได้คิดที่จะไป take ข้อมูลจากเขา ก็ได้รับความร่วมมือที่ดีขึ้นๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ

สิ่งที่ได้เรียนคือ ได้เพื่อน ได้รู้จักฟังสัตวแพทย์มากขึ้น ได้รู้จักนักวิจัยมากขึ้น มี อ.เกรียงไกร จาก ม.อุบลฯ อ.สุวิชัย สัตวแพทย์จากเชียงใหม่ อาจารย์ผาณิต สัตวแพทย์ จากจุฬาฯ มาร่วมด้วย และ อ.ปานเทพ จากมหิดล อ.ยง จาก จุฬา อ.พิมลพรรณ และอีกหลายๆ ท่าน

อ.วิจารณ์ ให้ข้อคิดเพิ่มเติมไว้ว่า

อันนี้ concreate ตั้งแต่ตอนผมทำ ADRF (Asian Development Research Forum) มีความคิดกันว่า น่าจะทำเครือข่ายเรื่องไข้หวัดนก และมัน shift มาที่นี่ (สวรส.) ซึ่งดี

ความเข้าใจในการทำงานระหว่างคน กับหน่วยราชการเป็นเรื่องศาสตร์และศิลป์ ที่ใหญ่มาก ที่กรมปศุสัตว์ ตอนที่ผมเป็นผู้อำนวยการ สกว. เราก็ develop ชุดโครงการวิจัยที่ใหญ่มาก ก็คือเรื่อง โคนม แล้วค่อยๆ develop ความสัมพันธ์กับกรมปศุสัตว์ แล้วก็เกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูล ซึ่งต้องใช้ระบบข้อมูล และในที่สุด อ.ปิยวัฒน์ มาบอกผมว่า เขาเอาแนวความคิด และโครงการไป develop เป็นโครงการของบประมาณเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ผ่าน

มันก็จะมี Noise bat เกิดขึ้น ก็จะมีคนบอกว่า อันไหนไม่ดีมันก็จะตกไปเอง พูดง่ายๆ คือ อย่าไปเอาความสำเร็จ หรือความล้มเหลว ของโครงการไปไว้กับหน่วยที่มีความ labile ไม่แน่นอน เราต้องมีไหวพริบที่จะรู้ว่า ตรงนั้น เป็นจุดของความไม่แน่นอน ซึ่งเราไม่เอาความเป็นความตายไปฝากไว้ แต่เราไปร่วม เพราะว่าถ้าเราโชคดี และเขาเปลี่ยน culture ของการทำงาน บ้านเมืองจะได้ประโยชน์เยอะ แต่ว่า เราคงไม่เก่งถึงขนาดนั้น 

และจะมีบางคนที่ emerge ในบรรยากาศของการทำงานนั้น อันนี้เราได้สัตวแพทย์มาทำงาน จุดสำคัญคือ ต้องร่วมมือกัน และเมื่อมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นที่นั่น ก็อย่าไปมีปริเทวนา ไม่ต้องมีความทุกข์ร้อนใจมากเกิน ต้องรู้ว่า ตรงนั้นมีความจริง เราก็หาทางไป ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย จากระบบของการวิจัยทั้งหลาย ตรงนี้เราสามารถทำอะไรได้อีก และหลักสำคัญอยู่ที่ว่า เราทำให้เขาเห็น ซึ่งก็จะเป็นศิลปะอย่างไร ให้เขาเห็นว่า ถ้าเขาไม่เข้ามาร่วม เขาจะตกขบวน

เพราะฉะนั้น เวลา develop โครงการ หรือชุดโครงการนี้ เนื่องจากว่าเรามีโอกาสที่จะมีคนมาช่วย ซึ่งจะเห็นว่า มันเลยจากบริบทที่กรมฯ ทำ เพราะอย่าลืมเราเป็นหน่วยงานวิจัย ต้องคิดอะไรใหม่ๆ และถ้าเรา present เป็น ใช้หลายๆ เวที เขาก็จะเห็นเองว่า ใช่ ที่จริงแล้วแผนที่มันใหญ่ขนาดนี้นะ ความคุ้นเคยตรงนี้ และไม่ออกมาตรงนี้เลย อนาคตจะลำบาก แต่ตอนนี้เขาทำพื้นที่แล้ว ถ้าออกมาตอนนี้ไม่ลำบาก ถ้าเราพยากรณ์ได้อย่างนี้ เขาก็จะออกมาร่วมมือ

แต่เวลาเราทำอันนี้ ในหลายครั้ง ในบริบทไทย บางคนจะเก่ง และ Ego มาก เขาก็จะบอกว่า พื้นที่อันนี้ที่เขาทำอยู่ ก็ต้อง Follow เขา ถ้าจะทำพื้นที่นี้ก็ต้องขยายอันนี้ออกมา อย่าได้ตกหลุมอันนี้เป็นอันขาด หน่วยราชการเยอะมากที่ทำอย่างนี้ คือเขาจะขยาย ... ที่จริง เราต้องสร้างพื้นที่ใหม่ เพื่อที่จะให้เขาได้ขยายมาบางส่วนในพื้นที่ใหม่ แต่เขาจะเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ใหม่หรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน

ถ้าถามผม ผมก็จะบอกว่าไม่ใช่ you เป็นหน่วยราชการ ไม่มีวันที่จะครอบคลุมพื้นทั้งหมดได้ เพราะว่า paradigm ของ you แคบ ความคิดปิด พื้นที่ใหม่ควรเป็น Learning based ไม่ใช่ Power based เราไม่ได้ปฏิเสธ Power based แต่มองว่ามันเป็นส่วนเดียวของทั้งหมด แต่เมื่อไรก็ตามสิ่งที่จะ rule ทั้งหมด คือ Learning based มันไม่กินพื้นที่ และมันไม่กันใคร ไม่กันอำนาจด้วย อยู่กับ Power based ได้สบาย แต่ต้องระวังว่า Power based มันกัดกินทุกอย่างเลย ตรงนี้ก็จะว่าไปก็เป็นศิลปะของการทำงาน ซึ่งมากกว่าการทำงาน

รวมเรื่อง Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส.

   

หมายเลขบันทึก: 212396เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท