"นวัตกรรมการประกันคุณภาพภายใน"


การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความคึกคัก เกิดความภาคภูมิใจในกลุ่มและองค์กร และกระตุ้นการเรียนรู้จากการทำงานและแลกเปลี่ยนข้ามองค์กรด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP)

    

     ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2549 ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช, ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด, คุณธวัช หมัดเต๊ะ และคุณฉันทลักษณ์  อาจหาญได้เข้าพบ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เพื่อหารือการจัดงานนวัตกรรมการประกันคุณภาพภายใน ซึ่ง สมศ. เป็นองค์การทางวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพ และให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาที่มีการบริหาร และการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข  ให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษา

      ทีม สคส. เสนอว่า จากการที่ สมศ. มีข้อมูลผลการประเมินของโรงเรียนที่ผ่านมาแล้ว ก็ควรจะนำผลที่ได้จัดเป็นเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP)  ในการจัดเวทีนี้เพื่อให้"คุณกิจ" (ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้)จากแหล่งต่างๆ นำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเรียนรู้จาก"คุณกิจ" แหล่งที่มีความรู้ดีเลิศ (Best Practice) โดยค้นหาโรงเรียนที่มีนวัตกรรมการเรียนรู้ และต้องมีคุณกิจเข้าร่วมในแต่ละโรงเรียนด้วย  จำนวนโรงเรียน5-10 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลุ่มผู้ที่สนใจขอเรียนรู้  ซึ่ง ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ให้แจ้งว่าควรจัดทำเวทีครั้งนี้เป็นเวที "นวัตกรรมการประกันคุณภาพภายใน" โดยใช้กระบวนการ KM เป็นเครื่องมือในการจัดทำ IQA ให้เข้มแข็ง ให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานปกติและมีคุณภาพ KM ต้องแทรกซึมเป็นเนื้อเดียวกันกับงานประจำ ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระงานเพิ่มขึ้น

    ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์  เสนอว่าควรเริ่มเวทีนวัตกรรมนี้ที่ศูนย์เครือข่ายของ สมศ ก่อน โดยเริ่มโครงการนำร่องที่ ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็น หนึ่งในศูนย์เครือข่าย สมศ. 13 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่

ภาคเหนือ ม.เชียงใหม่  ม.ราชภัฎลำปาง  ม.นเรศวร
ภาคกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
ภาคตะวันออก ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา ม.บูรพา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี ม.ขอนแก่น
ภาคใต้ ม.ราชภัฏสงขลา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ม.ราชภัฎสุราษฎ์ธานี
ภาคตะวันตก ม.ราชภัฏกาญจนบุรี
      และเป็นเวทีเชิงปฏิบัติการ มีระยะเวลา 3 วัน  เพื่อนำเรื่องราวความสำเร็จและชักชวนให้เจ้าของความสำเร็จ Best Practice มาเล่าหรือเผยแพร่ทั้งภายในเครือข่ายหรือภายนอก เป็นการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความคึกคักให้เกิดความภาคภูมิใจในกลุ่มและองค์กร และเป็นกระตุ้นการเรียนรู้จากการทำงานและแลกเปลี่ยนข้ามองค์กรด้วย
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21126เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

มุ่งสานต่อจากเวทีนวัตกรรม IQA ไปเป็น IQA CoP

วิจารณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท